เทคโนโลยี Virtualization เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอทีในปัจจุบัน เนื่องจากถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของความคุ้มค่าโดยรวมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นค่า Hardware ค่าบำรุงรักษา ค่า Maintenance และอื่นๆ การประมวลผลและให้บริการสำหรับ 1 ระบบต่อ 1 Application จึงไม่มีความสำคัญอีกต่อไป การนำเทคโนโลยี Virtualization เข้ามาใช้งาน จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงโครงสร้าง หลักการทำงานของ Software และเทคโนโลยีของ Virtualization เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุดต่อองค์กร
ก่อนถึงยุคของ Virtualization, Software หรือ Application ต่างๆ ถูกประมวลผลอยู่บน Physical Server เพียงเครื่องเดียว แต่เนื่องจากเทคโนโลยีของ Server ถูกพัฒนาไปมากในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory หรือ Disk Storage ทำให้ระบบที่เคยให้บริการอยู่ในอดีตไม่สามารถใช้งาน Server ที่มีประสิทธิภาพสูงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
จากการศึกษาและวิจัยพบว่ามีการใช้งานทรัพยากรของระบบเพียง 15-20% เท่านั้นบน Server นั่นหมายความว่าอีก 80-85% ไม่ถูกใช้งานจริง จึงเกิดเป็นแนวคิดสำหรับการสร้าง Virtualization เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่อง Server ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
จากแนวคิดดังกล่าวนอกจากจะทำให้เราสามารถใช้งานเครื่อง Server ประสิทธิภาพสูงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนรายจ่ายในด้านต่างๆ ลงได้อย่างมหาศาล พร้อมทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ Server ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ High Availability, Disaster Recovery, Live Migration, Backup และ Recovery เป็นต้น รวมถึงการบริหารจัดการที่มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น สิ่งเหล่าสามารถสร้างคุณค่าและความน่าเชื่อถือให้องค์กรได้เป็นอย่างมาก
Virtualization เริ่มมาจากแนวคิดการใช้ทรัพยากร 1 เครื่อง ต่อ 1 แอพพลิเคชันนั้นไม่สามารถใช้งานประสิทธิภาพของเครื่องได้อย่างเต็มขีดความสามารถ ตั้งแต่ยุคของ Mainframe ในปี 1960
Server Virtualization เป็นการจำลองทรัพยากรจริงหรือ Physical Server 1 เครื่อง เช่น CPU, Memory และ Storage เพื่อสร้างเป็นเครื่องเสมือนหลายๆ เครื่อง โดยมีความสามารถในการติดตั้งระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชันได้หลายระบบพร้อมกันไม่ว่าจะเป็น Windows, Linux หรือ Unix เป็นต้น และแต่ละเครื่องเสมือนสามารถทำงานแยกกันอย่างอิสระ
VMware ESX Virtualization Platform
ตัวอย่าง Software สำหรับสร้าง Virtual Machine หรือเครื่องเสมือนที่นิยมในปัจจุบัน
XenServer เป็น Open Source Server Virtualization จากค่าย Citrix พัฒนาส่วนที่รองรับการทำงานในระดับ Kernel ต่างหาก ใช้ Citrix XenCenter สำหรับ Virtual Management รองรับทั้ง Linux และ Windows
KVM เป็น Open Source ปัจจุบันถูกซื้อโดย Red Hat ใช้ Virtual Machine Manager สำหรับ Virtual Management รองรับทั้ง Linux และ Windows
OpenVZ เป็น Server Virtualization ในระดับ OS Level ใช้ Kernel เดียวกับ Host ปัจจุบัน Virtual Machine รองรับทั้ง Linux และ Windows และ Linux Container รองรับเฉพาะ Linux
Hyper-V เป็น Server Virtualization จากค่ายของ Microsoft พัฒนามาจาก Virtual PC ถูกเผยแพร่ครั้งแรกพร้อมกับ Windows Server 2008
VMware ESXi และ VMware vSphere ปัจจุบันเป็นผู้นำตลาดเทคโนโลยี Virtualization โดยกินส่วนแบ่งการตลาดกว่า 50% บนโลกของ Virtualization Technology ทั้งหมด
Virtualizor เป็น Software Virtualization Management หรือ Software สำเร็จรูปที่รวบรวมการใช้งาน Virtualization Technology ไว้หลายค่ายได้แก่ KVM, Xen, OpenVZ, Proxmox, LXC เป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและเพิ่ม Feature ต่างๆเข้ามาอีกมากมาย
Proxmox VE เป็น Free Open Source Virtualization Platform แต่มี Subscription หากต้องการการสนันสนุนทางด้านเทคนิคอื่นๆเพิ่มเติม Support Linux KVM และ LXC ปัจจุบันรองรับคุณสมบัติพิเศษมากมายเช่น การทำ Highly Availability และรองรับการทำ Live Migration เป็นต้น
Virtualization Technology คือพื้นฐานสำคัญต่อการขับเคลื่่อนธุรกิจและการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการดูแลระบบได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถจัดการต้นทุน และใช้งาน Hardware ได้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งยังเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาและต่อยอดไปสู่ระบบ Cloud ที่สมบูรณ์ได้ในอนาคต
ผู้ที่สนใจสามารถ Download เอกสาร Presentation เพิ่มเติมได้ ที่นี่
__________________________________________________________________________________________________
Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway
Facebook : m.me/netway.offcial
Tel : 02-055-1095
Email : support@netway.co.th
Web Chat : https://netway.co.th/
#ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Google #Zendesk #Digicert