Netway Combo - January 2025 อัพเดตข่าวสารจากเน็ตเวย์และบทความน่ารู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สร้างความน่าเชื่อถือให้ SME หรือองค์กรเปิดใหม่ ปี 2025 https://tinyurl.com/bdecu6tw เกี่ยวกับ SharePoint Online https://tinyurl.com/yrdru5nv 6 อันดับแรก แพลตฟอร์ม CMS สำหรับงานเว็บไซต์ในปี 2025 https://tinyurl.com/4jtpzzjh Top 20 Programming Languages in 2025 https://tinyurl.com/ycy3f94p 5 Chrome Extensions ที่น่าสนใจสำหรับงานออนไลน์ https://tinyurl.com/2jzfj49d How to Exclude Files and Directories When Creating a tar.gz File. https://tinyurl.com/3vtvd8bk สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือคำติชมใดๆ สามารถติดต่อ Netway Communication ได้ 24 ชม. Tel: 02 055 1095 Email: support@netway.co.th Web chat: [[URL]]/ Facebook Messenger: @netway.official หรือ https://www.facebook.com/netway.official Add Line ID: @netway, https://bit.ly/line-netway #Microsoft365 #Google #Cloud #Hosting #Domain
Easy E-Receipt 2.0 มาตรการลดหย่อนภาษีปี 2568 รัฐบาลออกมาตรการ Easy e-Receipt 2.0 เพื่อสนับสนุนการบริโภคและส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น โดยผู้มีรายได้และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าสินค้าและบริการไปลดหย่อนภาษีในปี 2568 สูงสุดได้ 50,000 โดยแบ่งเป็น 1. ลดหย่อนภาษี 30,000 จากการซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีสัญลักษณ์ 2. ลดหย่อนภาษี 20,000 บาทจากสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) / สินค้าหรือบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน หรือ วิสาหกิจเพื่อสังคม เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ใช้จ่ายทุกครั้งอย่าลืมขอ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เพียงแจ้งข้อมูลให้แก่ผู้ขายดังนี้ 1. ชื่อ-นามสกุล 2. ที่อยู่ 3. เลขประจำตัวบัตรประชาชน ผู้ได้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการ "Easy E-Receipt 2.0" คือผู้ใด? ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล การใช้ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ลดหย่อนอะไร อย่างไรบ้าง? ค่าซ่อมรถสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่? ได้ หากซ่อมและจ่ายค่าซ่อมระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 และได้รับ e-Tax Invoice ค่าซื้อทองรูปพรรณ สามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่? ได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากได้รับ e-Tax Invoice กรณีจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการหลายครั้ง จะสามารถนำมูลค่าการซื้อสินค้าหรือการรับบริการ แต่ละครั้งมารวมกันเพื่อใช้สิทธิได้หรือไม่? ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินที่กำหนด กรณีจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการครั้งเดียว โดยมูลค่าการซื้อสินค้าหรือการรับบริการนั้นสูงกว่า ที่กำหนด สามารถใช้สิทธิได้หรือไม่? ได้ แต่ไม่เกินที่กำหนด การซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถ หักลดหย่อนได้ทุกกรณีหรือไม่? ได้ เฉพาะกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังต่อไปนี้ หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์ ค่าซื้อยาสูบ ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ ค่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และค่าซื้อเรือ ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลา ระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ค่าที่พักในโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ** ทั้งนี้ E-Tax Invoice ของเน็ตเวย์ฯ ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เนื่องจากเป็นสัญญาบริการระยะยาว ** Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud, Hosting และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft, Google, Digicert, ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/
6 อันดับแรก แพลตฟอร์ม CMS สำหรับงานเว็บไซต์ในปี 2025 แพลตฟอร์ม CMS (Content Management System) คือซอฟต์แวร์สำหรับติดตั้งโดยต้องมีโดเมนและโฮสติ้ง ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ช่วยให้สร้าง จัดการ และแก้ไขเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้เอง แพลตฟอร์มนี้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคมากนักเพราะมีเครื่องมือการจัดการที่สมบูรณ์ โดย Features หลักๆ ของ CMS ทั่วไปที่มี คือ Themes/Templates Plugins/Extensions User Management SEO Tools Mobile Responsiveness Headless CMS AI and Automation Cloud-Based Solutions ซึ่งทำให้ CMS เป็นเครื่องมือที่สร้างเว็บไซต์และดูแลเว็บไซต์ที่สมบูรณ์ครบครัน จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้งานทั่วโลก มาดูว่ารายชื่อแพลตฟอร์ม CMS ที่ดีที่สุด 6 อันดับแรกในปี 2025 มีอะไรบ้าง 1. WordPress WordPress เปิดตัวในปี 2003 และเป็น CMS ที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก WordPress เว็บไซต์กว่า 40% และเป็นที่รู้จักจากอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย มีระบบปลั๊กอิน WordPress ที่ครอบคลุม และธีมที่ปรับแต่งได้ เวอร์ชั่นล่าสุด WordPress 6.7.1 ข้อดีของ WordPress Flexibility and Customization SEO-Friendly Services Cost-Effectiveness Large Community Scalability Third-Party Integrations 2. Joomla Joomlaเป็น CMS รุ่นเก่าอีกตัวหนึ่งที่เปิดตัวในปี 2005 เป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้กับเว็บไซต์ทุกรูปแบบและยังมีตัวเลือกการปรับแต่งมากมายที่ช่วยให้ปรับแต่งเว็บไซต์ให้เป็นแบบที่ต้องการได้ โดย Joomla เป็นที่รู้จักในตลาดว่ามีโซลูชันที่ดีมีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาฟีเจอร์การจัดการระบบผู้ใช้งาน (user management) ค่ายนี้ครองส่วนแบ่งการตลาด 2.1% ของเว็บไซต์ทั้งหมดที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ต เวอร์ชั่นล่าสุด 5.2.3 ข้อดีของ Joomla Advanced User Management Wide Range of Extensions Customizable Templates Multilingual Support SEO Tools Custom Development 3. Drupal Drupal เปิดตัวครั้งแรกในปี 2001 ซึ่งเปิดตัวก่อน WordPress และ Joomla เป็น CMS ดั้งเดิมอีกตัวหนึ่งที่ขึ้นชื่อในเรื่องความสามารถในการปรับแต่งและความยืดหยุ่นของโปรแกรม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างและจัดการเว็บไซต์ที่ซับซ้อน CMS นี้เน้นเรื่องการปรับแต่งโปรแกรมขั้นสูง โดยมีฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย เช่น แก้ไขเนื้อหาได้เอง (Custom Content) และการครอบคลุมเรื่องการซัพพอร์ต API ดังนั้น Drupal จึงได้รับความนิยมอย่างมากจากนักพัฒนาและบริษัทขนาดใหญ่ที่มีทีมไอทีสำหรับพัฒนาภายในองค์กร เนื่องจาก Drupal มีโซลูชันเว็บไซต์ที่ซับซ้อนกว่าค่ายอื่น จึงครองส่วนแบ่งการตลาดน้อยกว่า Joomla และ WordPress โดยคิดเป็น 1.4% ของเว็บไซต์ทั้งหมด ข้อดีของ Drupal Modular Architecture Extensive API Support Scalability and Performance Security Multilingual Website Support Thousands of Modules 4. Wix, Squarespace และ Shopify 3 ค่ายนี้ใช้ได้ดีเสมอกัน Wix, Squarespace และ Shopify เป็นแพลตฟอร์ม CMS ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานและผู้ใช้ที่ยังไม่เชี่ยวชาญด้านเทคนิค แพลตฟอร์มเหล่านี้มีบริการโฮสต์เว็บของตนเองและเรียบง่ายกว่า WordPress, Joomla และ Drupal มาก แต่ยังขาดฟังก์ชันขั้นสูงบางอย่าง แพลตฟอร์ม CMS ทั้ง 3 นี้ผูู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางเทคนิคใดๆ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเว็บบล็อก เว็บไซต์ขนาดเล็กและขนาดกลาง ความนิยมและการใช้งานทั้ง 3 แพลตฟอร์มยังมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย ข้อดีของ Wix Ease of Use Wide Range of Templates Wix App Market ข้อดีของ Squarespace Templates Ecommerce Design Flexibility ข้อดีของ Shopify eCommerce Scalability App Ecosystem จาก CMS ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เหมาะสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์และผู้ใช้งานทั่วไป โดยต้องเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม หากมีชื่อโดเมน (Domain) และโฮสต์ติ้ง (Hosting) พื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล และต้องการมีเว็บไซต์ เพียงแค่ตั้งค่าเว็บโฮสติ้งติดตั้ง CMS เลือกธีมสำหรับเว็บไซต์ของคุณโดยปรับแต่งเลเอาท์เล็กน้อย เลือกปลั๊กอิน ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ อัพโหลดรูปและเนื้อหาข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud, Hosting และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft, Google, Digicert, ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ อ้างอิง: scalahosting
Top 20 Programming Languages in 2025 เนื่องจากเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ภาษาโปรแกรมจึงมีความเฉพาะทางและหลากหลายมากขึ้น ความต้องการนักพัฒนาที่มีทักษะจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความต้องการความรู้เกี่ยวกับภาษาโปรแกรมที่เกี่ยวข้องและทรงพลังที่สุดด้วย จากการจัดอันดับของ TIOBE Index และ RedMonk จากต่างประเทศ คาดว่าภาษาโปรแกรม เช่น Python, JavaScript และ Java จะยังคงได้รับความนิยมในปีถัดๆไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา เช่น AI, Cloud Computing และ Blockchain ณ ปัจจุบันนี้ ที่ยังคงกำหนดทิศทางอนาคตของเทคโนโลยีต่อไป รายชื่อภาษาการเขียนโปรแกรมยอดนิยมสำหรับปี 2025 โดยอ้างอิงจาก Stack Overflow Developer Survey, GitHub Octoverse และ TIOBE มีดังนี้ 1. Python Python เป็นภาษาระดับสูง (High-Level, Interpreted Language) สามารถรองรับรูปแบบการเขียนโปรแกรม ได้หลายแบบ เช่น การเขียนโปรแกรม เชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงออฟเจ็ก (Object-Oriented) และการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน ไลบรารีที่เป็นไปตามมาตรฐานขนาดใหญ่่ ใช้ในงานวิทยาศาสตร์ข้อมูล การทำงานกับเครื่องจักร (Machine Learning) เว็บแอปพลิเคชันและประเภทงานที่เน้นระบบอัตโนมัติ 2. JavaScript JavaScript เป็นภาษาขั้นสูง (High-Level Language) ที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ข้อมูลแบบไดนามิกเป็นส่วนใหญ่รองรับกับเบราว์เซอร์สมัยใหม่ได้ จำเป็นสำหรับการพัฒนา front-end และ back-end โดย Node.js, JavaScript เริ่มถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการพัฒนาด้านเซิร์ฟเวอร์ (server-side development) จึงกลายมาเป็นหนึ่งในภาษา ที่สำคัญที่สุดในสายงาน full-stack development ที่ใช้งานแอปพลิเคชันโปรแกรมขนาดใหญ่ มี Tools และ Frameworks ให้เลือกใช้มากมาย 3. Java Java เป็นภาษาที่เน้นออฟเจ็กเป็นหลักและอิงตามคลาส (Object-Oriented, Class-Based Language) เป็นที่รู้จักในเรื่องความเป็นอิสระของระบบ (Java Virtual Machine (JVM)) รองรับหลายแพลตฟอร์ม ประสิทธิภาพสูง มีฟีเจอร์ครบถ้วน โดยเขียนครั้งเดียวรันได้ทุกที่ ภาษานี้ถูกนำไปใช้งานโซลูชั่นอย่างแพร่หลายในองค์กรที่มีการพัฒนาแอป Android และระบบขนาดใหญ่ 4. C# C# เป็นภาษาโปรแกรมเชิงออฟเจ็กขั้นสูง (High-Level Object-Oriented Programming Language) ที่ทันสมัยซึ่งพัฒนาโดย Microsoft เป็นภาษาที่เป็นส่วนหนึ่งของ .NET และช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะบนเดสก์ท็อป เว็บไซต์และมือถือ เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาเกมด้วย Unity และใช้พัฒนาแอปพลิเคชันระดับองค์กร เช่น Windows และเกมส์ในไมโครซอฟท์ (Microsoft) 5. C++ C++ เป็นส่วนเสริมส่วนขยายที่ต่อยอดมาจากภาษา C มาตรฐาน ทำให้ฟีเจอร์เชิงออฟเจ็ก (Object-Oriented Features) ที่มีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์สูงตรงตามเป้าหมาย จึงเหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรม, พัฒนาระบบเกมส์ รวมถึงแอปพลิเคชันที่ต้องการประมวลผลแบบเรียลไทม์ แต่ก็เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมที่มี Syntax ค่อนข้างซับซ้อน 6. PHP PHP เป็น Server-side scripting language ภาษาสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์สำหรับการพัฒนาบนอินเทอร์เน็ต การใช้งานหลักๆ ของ PHP คือการสร้างเว็บไซต์แบบไดนามิกและระบบจัดการข้อมูล เรียนรู้ได้ง่าย มีการรองรับภาษานี้อย่างกว้างขวาง โดดเด่นด้านการพัฒนาเว็บไซต์ มีการใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลอย่าง MySQL 7. Ruby Ruby เป็น Open-Sourced, Dynamic Language ภาษาที่ดาวน์โหลดฟรีนำมาพัฒนาต่อยอดได้ มีผู้ร่วมพัฒนามากมายในต่างประเทศ และเป็นภาษาแบบไดนามิกกล่าวคือ Dynamic typed ตัวแปรทั้งหมดจะต้องถูกกำหนดก่อนที่จะใช้งาน ไม่ต้องคอมไพล์ ลดขั้นตอนในการพัฒนาซอพท์แวร์ โดยคำนึงถึงการใช้งานและประสิทธิภาพการทำงานเป็นหลัก มีโครงสร้างภาษาที่เรียบง่าย 8. Swift Swift เป็น Programming Language ภาษาโปรแกรมที่ทรงพลังและใช้งานง่าย สำหรับ macOS, iOS, watchOS และ tvOS การพัฒนาใน Swift เป็นแบบการโต้ตอบ (interactive) Swift ยังมีฟีเจอร์ทันสมัยที่นักพัฒนาชื่นชอบอีกด้วย 9. R R เป็นภาษา Statistical Computing and Graphics Language ใช้สำหรับการคำนวณทางสถิติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมีเทคนิคมากมาย จึงเป็นตัวเลือกที่นิยมสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบวิเคราะห์ข้อมูล 10. SQL SQL คือ Language Standard เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยเฉพาะ การสอบถาม การเลือก การดึง การจัดการระบบฐานข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลในคลังข้อมูล ไม่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมทั่วไป 11. Kotlin เป็นภาษาโปรแกรมใหม่ลักษณะ Statically Typed สามารถทำงานร่วมกับ Java ได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัย โดยค่อยๆ ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นสำหรับการพัฒนา Android และแอปพลิเคชันด้านเซิร์ฟเวอร์ โดยโครงสร้างภาษายังสู้ Java ไม่ได้ ยังต้องมีการพัฒนาไลบรารีอีกมาก 12. TypeScript TypeScript คือ strongly typed superset of JavaScript ซึ่งสามารถคอมไพล์เป็น JavaScript ทั่วไปได้ มีรูปแบบภาษาที่เรียบง่ายและมีความเร็ว ใช้งานในไมโครเซอร์วิส (Microservices) และระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) อย่างในระบบ Backend เช่น ในบริการคลาวด์และการเขียนโปรแกรมระบบที่มีประสิทธิภาพในแอปพลิเคชันสมัยใหม่และเป็นที่นิยมในกลุ่ม DevOps 13. Go Go หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Golang เป็นภาษา Statically Typed, Compiled Language ออกแบบโดย Google เป็นที่รู้จักในเรื่องความเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างแอปพลิเคชันที่ปรับขนาดโครงสร้างโปรแกรมและทำงานพร้อมกันได้ 14. Rust Rust เป็น Systems Programming Language ภาษาโปรแกรมระบบที่เน้นด้านความปลอดภัย ความเร็ว และการทำงานได้พร้อมกัน ออกแบบมาเพื่อป้องกันจุดบกพร่องทั่วไปและรับรองความปลอดภัยของหน่วยความจำ 15. Scala Scala เป็นภาษาขั้นสูง High-Level Language ที่ผสมผสานการเขียนโปรแกรมเชิงออฟเจ็กและเชิงฟังก์ชัน (object-oriented and Functional Programming) เข้าด้วยกัน ได้รับการออกแบบให้กระชับและเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ใช้ในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบดิสทิบิว (Distributed Systems) และการพัฒนาเว็บ เหมาะกับความต้องการโซลูชันที่มีความยืดหยุ่นปรับโครงสร้างโปรแกรมได้ 16. Dart Dart เป็น Client-Optimized Language ภาษาที่ปรับแต่งให้เหมาะกับระบบไคลเอนต์ (Client) สำหรับแอปที่เน้นความรวดเร็วบนแพลตฟอร์มทั่วไป ออกแบบมาเพื่อสร้างแอปพลิเคชันมือถือ เดสก์ท็อป เซิร์ฟเวอร์ และเว็บไซต์ 17. Perl Perl เป็น General-Purpose, Interpreted Language ภาษาระดับสูงสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เป็นที่รู้จักในด้านความสามารถในการประมวลผลข้อความ มักใช้สำหรับการดูแลระบบ การพัฒนาเว็บ และการเขียนโปรแกรมเครือข่าย 18. MATLAB MATLAB เป็น High-Performance Language ภาษาประสิทธิภาพสูงสำหรับการคำนวณทางเทคนิค โดยผสานการคำนวณ การแสดงภาพ และการเขียนโปรแกรมให้แสดงผลลัพธ์ที่ดูได้ง่ายขึ้น MATLAB โดดเด่นในด้านการคำนวณเชิงตัวเลขโดยมีกล่องเครื่องมือมากมายสำหรับการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ การจำลอง และการวิเคราะห์ข้อมูลในแวดวงวิชาการและอุตสาหกรรม ได้รับความนิยมอย่างสูงในด้านวิศวกรรมและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่ต้นทุนลิขสิทธิ์สูงและไม่เหมาะกับการเขียนโปรแกรมทั่วไป 19. VBA or (Visual Basic for Applications) Visual Basic for Applications หรือ VBA เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมแบบอิงจาก Microsoft เป็นหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในแอปกลุ่ม Microsoft Office โดยเฉพาะ จะไม่เหมาะสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน มักใช้ในการสร้างแมโครและฟังก์ชันใน Excel และ Access ให้ทำงานได้อัตโนมัติ ซึ่งเป็นกลุ่มแอปที่ยังคงได้รับความนิยมตามสำนักงานในธุรกิจทั่วๆไป 20. Shell Scripting Shell Scripting ใช้ในการเขียนโปรแกรมขนาดเล็กที่ทำงานได้อย่างอัตโนมัติในระบบปฏิบัติการประเภทยูนิกซ์ (Unix) แต่ไม่เหมาะสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน ส่วนใหญ่ใช้สำหรับสายงานที่ดูแลระบบและการรันงานซ้ำๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud, Hosting และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft, Google, Digicert, ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ อ้างอิง: geeksforgeeks.org
How to Exclude Files and Directories When Creating a tar.gz File. tar เป็นคำสั่ง Unix ใช้สำหรับบีบอัดไฟล์และโฟลเดอร์ ให้ขนาดลดลง เพื่อลดพื้นที่ในการเก็บและสะดวกต่อการย้ายย้อมูล โดนมีรูปแบบต่างๆ เช่น .tar, .tar.gz, .cpio, .tar.bz2, .zip, .rar, etc. สำหรับบทความนี้จะนำเสนอคำสั่ง tar --exclude option คือการบีบอัดไฟล์โดยมีเงื่อนไข ยกเว้นไฟล์ที่ไม่ต้องการให้บีบอัดทดสอบสร้างไฟล์เดอร์ 1. Open terminal และสร้างโฟลเดอร์ ด้วยคำสั่ง mkdir user@user:~$ mkdir main_folder user@user:~$ cd main_folder 2. สร้างไฟล์และโฟลเดอร์ภายใต้โฟลเดอร์ main_folder ด้วยคำสั่ง touch และ mkdir user@user:~/main_folder$ touch file1.txt file2.txt file3.txt user@user:~/main_folder$ mkdir mkdir folder1 folder2 folder3 3. แสดงรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ ด้วยคำสั่ง ls user@user:~/main_folder$ ls file1.txt file2.txt file3.txt folder1 folder2 folder3 4. วิธีใช้คำสั่ง tar --exclude option เพื่อยกเว้นไฟล์ที่ไม่ต้องการบีบอัด $ tar --exclude="pattern" [options] [archive_name] [path] option อื่นๆ -z: compresses the files and directories using gzip-c: creates a new archive file-v: verbosely lists the files and directories processed-f: allows us to specify a filename for the archive created-x: extract files from an archive-exclude: excludes file1.txt file when creating the archivetar(1) — Linux manual page 4.1 ตัวอย่างคำสั่ง tar ยกเว้นไฟล์ file1.txt ลงท้ายด้วย (.) จุด หมายถึงโฟลเดอร์ปัจจุบัน $ tar --exclude='file1.txt' -zcvf backup.tar.gz . ./ ./folder2/ ./folder3/ ./file3.txt ./file2.txt ./folder1/ ตรวจสอบแตกไฟล์ด้วยคำสั่ง $ tar -zxvf backup.tar.gz ./ ./folder2/ ./folder3/ ./backup.tar.gz ./file3.txt ./file2.txt ./folder1/ จากผลลัพธ์การแตกไฟล์ backup.tar.gz จะไม่มีไฟล์ file1.txt 4.2 ตัวอย่างคำสั่ง tar ยกเว้นไฟล์ file1.txt และยกเว้นโฟลเดอร์ folder1 ลงท้ายด้วย (.) จุด หมายถึงโฟลเดอร์ปัจจุบัน $ tar --exclude='file1.txt' --exclude='folder1' -zcvf backup.tar.gz. ./ ./folder2/ ./folder3/ ./file3.txt ./file2.txt ตรวจสอบแตกไฟล์ด้วยคำสั่ง $ tar -zxvf backup.tar.gz ./ ./folder2/ ./folder3/ ./file3.txt ./file2.txt จากผลลัพธ์การแตกไฟล์ backup.tar.gz จะไม่มีไฟล์ file1.txt และไม่มีโฟลเดอร์ folder1 4.3 ตัวอย่างคำสั่ง tar ยกเว้น ทุกไฟล์ที่นามสกุล *.txt ลงท้ายด้วย (.) จุด หมายถึงโฟลเดอร์ปัจจุบัน $ tar --exclude='*.txt' -zcvf backup.tar.gz. ./ ./folder2/ ./folder3/ ./folder1/ ตรวจสอบแตกไฟล์ด้วยคำสั่ง $ tar -zxvf backup.tar.gz ./ ./folder3/ ./folder2/ ./folder1/ จากผลลัพธ์การแตกไฟล์ backup.tar.gz จะไม่มีไฟล์ที่นามสกุล .txt