ในโลกยุคปัจจุบัน ว่ากันตามจริงแล้วคงไม่มีใครในสายงานไอที ที่ไม่รู้จักคำว่า Virtualization. เพราะคำ ๆ นี้อยู่กับคนไอทีมานานพอสมควรแล้ว จนตอนนี้จะก้าวไปยัง Cloud Platform ที่ใหญ่มากขึ้น ตลอดจนเรื่องของ IoT (Internet Of Things) แต่ก็ยังเชื่อเหลือเกินว่าก็ยังมีอีกหลาย ๆ ท่านที่อาจจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับเรื่องของ Virtualization เท่าใดนักยิ่งกับผู้บริหารที่ต้องเข้ามาดูแลในส่วนงานของไอทีด้วยแล้ว
คำว่า Virtualization ถ้าเราจะแปลความหมายให้ง่าย ๆ เข้าใจสะดวก ๆ ก็น่าจะหมายถึงการนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการ Resource ที่มีให้คุ้มค่า ให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุดตามแต่ Hardware นั้น ๆ จะสามารถทำได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัว เช่น เรามีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่อง เราก็นำเทคโนโลยีที่มีมาทำการบริหา่รจัดการตัว Resource ของเครื่อง เช่น CPU , Memory , Harddisk เป็นต้น เอามาทำการจัดการให้สามารถ run Application ได้หลาย ๆ Application หรือ แม้จะทำการสร้างให้รันระบบปฏิบัติการหลาย ๆ ตัว โดยที่ทำงานพร้อม ๆ กันได้ แม้จะเป็นคนล่ะ Platform กันก็ตาม
ในที่นี้เราจะขอจำแนก virtualization หลัก ๆ ตามนี้
ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอเน้นในเรื่อง Server Virtualization เนื่องด้วยเป็นเรื่องใกล้ตัว และ มีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ไอทีต้องเข้าใจว่าทำไมต้องทำ Server Virtualization ไม่อย่างนั้นแล้วหากต้องทำแผน หรือ เปลี่ยนแปลง Infra ของตนเองไปยัง Virtualization แล้วให้ผู้บริหารเข้าใจในความสำคัญ ในประโยชน์ และ สามารถที่จะให้การตัดสินใจให้ท่านว่า "ตกลง ผมเห็นด้วยที่จะให้คุณดำเนินการ"
Server Virtualization
เป็นการบริหารจัดการทรัพยาการบนเซิร์ฟเวอร์ ให้จำลองเสมือนว่ามีหลายเครื่องอยู่ในเครื่องเดียวกันโดยเรียกชื่อเครื่องจำลองเหล่านั้นว่า Virtual Machine (VM) และ ที่บอกว่ามีหลายๆ เครื่องมาอยู่บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวกันนั้น เครื่อง VM ก็ต้องมีความเป็นส่วนตัว (privacy) และอิสระจากกัน เช่น จะลง Windows ต่าง version ก็ได้ เป็นต้น มี Software ที่ใช้ทำ Virtualization ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ VMware และ Hyper-V เป็นต้น
Why is Server Virtualization?
Server Virtualization with whom?
หากต้องการ ดูสไลด์ Why-to-Virtualization?
หากต้องการดูเอกสารเกี่ยวกับ VPS และ VMware Brochure
__________________________________________________________________________________________________
Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway
Facebook : m.me/netway.offcial
Tel : 02-055-1095
Email : support@netway.co.th
Web Chat : https://netway.co.th/
#ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Google #Zendesk #Digicert