1. Cloud Computing คืออะไร
เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณในปัจจุบัน ความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากความไม่เป็นระเบียบของข้อมูล ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการลงทุน ความหลากหลายของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การดูแลรักษา ค่าไฟฟ้า ค่า Bandwidth ค่าจ้างพนักงานและอื่นๆ จึงทำให้เกิด Cloud Computing ขึ้นมาเพื่อทดแทนและแก้ไขความซับซ้อนของข้อมูลเหล่านี้
Cloud Computing ถูกนิยามและให้คำจัดกัดความว่า
การประมวลผลใดๆ ผ่านเครือข่าย Internet ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งาน เมื่อไรก็ตามที่มีความต้องการใช้ โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ อุปกรณ์ และไม่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณและเวลา
แผนภาพของ Cloud Computing
คุณลักษณะของ Cloud Computing
1. On-demand self-service Cloud Computing ต้องสามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
2. Broad Network Access Cloud Computing ต้องสามารถเข้าถึงได้จากที่ใดก็ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดของสถานที่และอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ
3. Resource Pooling Cloud Computing ต้องสามารถนำทรัพยากรมารวมกันและใช้งานร่วมกันได้
4. Rapid Elasticity Cloud Computing ต้องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเพิ่มลดทรัพยากรได้ทันที โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณและระยะเวลา
5. Measured Service Cloud Computing ต้องสามารถวัดปริมาณการใช้งานได้ และสามารถคิดค่าใช้งานได้ตามการใช้งานจริง
ประเภทของ Cloud Computing
แบ่งตามรูปแบบการให้บริการ
1. SaaS (Software as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการใช้ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ ผ่านผู้ให้บริการ เช่น Google Docutment, Office365, Gmail เป็นต้น
2. PaaS (Platform as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับนักพัฒนาในการพัฒนาโปรแกรม เช่น บริการ Google App Engine, Azure DB และ Amazon RDS เป็นต้น
3.IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นรูปแบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน การประมวณผล Storage และ Network เป็นต้น ตัวอย่างผู้ให้บริการเช่น Azure, AWS และ Netway Cloud เป็นต้น
แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน
1. Private Cloud เป็นการใช้งานภายในองค์กร สำหรับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ผู้ใช้บริการเป็นผู้บริหารจัดการระบบ สามารถปรับเปลี่ยนระบบต่างๆได้ด้วยตนเอง ผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้งและดูแลรักษาให้เท่านั้น ข้อดีของบริการนี้คือมีความปลอดภัยสูงสุด
2. Community Cloud บริการ Cloud แบบกลุ่ม ประกอบไปด้วย Private Cloud ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ซึ่งมีการกำหนดข้อตกลงและแชร์ข้อมูลร่วมกัน
3. Public Cloud เป็นบริการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ โดยปกติจะใช้งานผ่านผู้ให้บริการซึ่งให้บริการผ่านเครือข่ายสาธารณะ จุดเด่นของบริการนี้คือ ประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำ
4. Hybrid Cloud เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud โดยการนำข้อดีของแต่ละบริการมาใช้งานร่วมกัน
ประโยชน์ของ Cloud Computing
1. ประหยัดการลงทุนทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะใช้รูปแบบบริการแบบเช่าผ่านผู้ให้บริการ สามารถใช้บริการได้เท่าที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง พัฒนาและขึ้นระบบเองทั้งหมด
2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาทันที ผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อรองรับผู้ใช้บริการ การสร้างและลบจึงสามารถทำได้ทันที โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา
3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ตามปริมาณการใช้งานหรือลดการใช้งานของผู้ที่ต้องการใช้
4. เข้าถึงบริการได้จากทุกที่ ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย Internet ผ่านผู้ให้บริการจึงไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และอุปกรณ์
5. ลดปัญหาการดูแลระบบ เนื่องจากบริการเป็นรูปแบบของการเช่าใช้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องดูแลระบบแทน ซึ่งจะช่วยลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อมาดูแลระบบ
Netway Cloud คืออะไร
Netway Cloud คือการนำ Technology ของ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้และให้บริการในรูปแบบของ Infrastructure as a Service (Iaas) ประกอบด้วย
Dedicated Server
ความหมายของ Dedicated Server
Dedicated Server คือ Physical Server ที่รองรับการให้บริการบนระบบเครือข่าย เป็นรูปแบบบริการสำหรับเช่าใช้ Server โดยสามารถใช้งาน Resource ทั้งหมดของเครื่องโดยไม่ Shared Resource กับเครื่องอื่น สามารถปรับแต่ง Resource ได้เองโดยอิสระ สามารถบริหารจัดการ Resource ของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง CPU, Memory, Disk รวมถึง Network
การนำ Dedicated Server ไปใช้งาน
1. Web Server คือโปรแกรมที่มีหน้าที่ให้บริการด้านเว็บไซต์ โดยส่วนมากโปรแกรมที่นิยมใช้เป็น Web server คือ Apache และ IIS เป็นต้น
2. Mail Server คือโปรแกรมที่มีหน้าที่ให้บริการด้าน E-mail เช่น Exim, Postfix เป็นต้น
3. Database Server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านฐานข้อมูล โปรแกรมที่นิยมเช่น Mysql, Postgresql และ MSSQL เป็นต้น
4. Storage Server หรือ File Server โปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านการจัดเก็บข้อมูล เช่นทำเป็น Datastore Server หรือ Backup Server เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถนำ Dedicated Server ไปใช้งานในลักษณะอื่นๆ ได้อีกมากมาย หรือแม้กระทั้งการสร้าง Virtualization เพื่อสร้าง Virtual Machin ก็ได้เช่นเดียวกัน
VPS
ก่อนทำความเข้าใจ VPS ขอพาไปรู้จัก Virtualization กันก่อน
Virtualization คืออะไร
Virtualization คือการจำลองสภาพแวดล้อมของ Server โดยแบ่ง Physical Server 1 เครื่อง ออกเป็น Virtual Machin (VM) ย่อยหลายๆ เครื่อง เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้สามารถใช้ Server ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบ Vitualized Server กับ Server แบบเดิม
ประโยชน์ของการทำ Virtualization
1. ใช้งาน Hardware ได้อย่างคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ
2. สามารถสร้าง ลบเครื่องได้อย่างรวดเร็ว
3. ยืดหยุ่นสูง เพิ่ม ลด ทรัพยากรได้ทันที
4. ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ เช่น ค่าไฟ ค่าดูแลรักษา
5. การบำรุงรักษาทำได้ง่ายและสะดวก
ทำความรู้จัก VPS
VPS เป็นการนำ Virtualization Technology มาประยุกต์ใช้และให้บริการบนพื้นฐานของ Infrastructure as a Service (IaaS) โดยการนำ Server หลายๆ เครื่องมารวมกัน เพื่อให้มีความสามารถมากขึ้น เช่นการดูแล บริหารจัดการ และ Migration เป็นต้น ใช้เทคโนโลยีของ KVM Virtualization ผ่านโปรแกรม Virtualizor สามารถจัดการ Virtual Machin ได้ผ่าน Web Interface รองรับการใช้งานได้ทั้ง Linux Server และ Windows Server
Feature เด่นของ VPS
1. VPS Management: เข้าถึงและจัดการเซิร์ฟเวอร์ของคุณได้เอง
ตลอด 24 ชั่วโมง
2. SCALABILITY: คล่องตัวในการใช้งาน เพิ่ม-ลดทรัพยากรได้ตาม
ความต้องการ
3. Support 24x7: พร้อมทั้งสามารถเพิ่มบริการ Premium Managed Service เพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
4. รองรับหลากหลาย OS Distro: พร้อม Control Panel ที่นิยม
ในระดับสากล
5. ราคาถูก พร้อมฟรี DirectAdmin
VMware VPS
VMware VPS คือหนึ่งในบริการของ Cloud VPS เป็นเทคโนโลยีสำหรับทำระบบ Server Virtualization เป็นส่วนหนึ่งใน Software Defined Data Center เป็นโปรแกรมสำหรับควบคุมและสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) มี 2 องค์ประกอบหลักคือ ESXi และ vCenter Server เป็นโปรแกรมจำลองคอมพิวเตอร์เสมือนเช่นเดียวกับ VPS แต่ความสามารถสูงกว่า รองรับการทำ High Availability, Replication Data และ vMotion เป็นต้น
VMware VPS ทำอะไรได้บ้าง
VMware vMotion
ความสามารถในการย้าย Virtual Machine จาก Physical Server เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งาน ส่วนมากจะใช้ในการ Migrate VM ระหว่าง Server หรือย้าย VM จาก Server เครื่องเก่าไปเครื่องใหม่
VMware High Availability (HA)
เป็น Feature ที่รองรับการทำ Failover ในกรณีที่ Physical Server เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหาย โดยการย้าย Virtual Machine ออกไป เพื่อประมวลผลบน Physical Server เครื่องใหม่ภายใน Cluster โดยไม่ให้มี Downtime
VMware Hot Add
ความสามารถในการเพิ่ม CPU หรือ RAM ให้กับ Virtual Machine โดยที่ไม่ต้องหยุดการทำงานของ Virtual Machine
VMware Fault Tolerance (FT)
คือความสามารถในการสร้าง VM ขึ้นมาอีกตัวนึง แต่ต่าง Physical Server กัน เพื่อให้ VM ทำงานไปพร้อมกัน (Zero Dataloss) ในลัษณะของ Active-Active เมื่อ Physical Server ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย Virtual Machine อีกตัวต้องพร้อมให้บริการได้ทันที
VMware vSphere Replication
ความสามารถในการทำ Replicate ข้อมูล จาก Datacenter หนึ่งไปยังอีก Datacenter หนึ่ง หรือเรียกว่าการ DR Site แบบ Asyncronous
นอกจากนี้ยังมีความสามารถอื่นๆ ในระดับผู้ดูแลระบบเช่น VMware vSphere Data Protection, VMware vSphere vShield Endpoint, VMware Virtual Volume เป็นต้น
Feature เด่นของ VMware VPS
1. ประสิทธิภาพสูง ด้วย Cloud Cluster พร้อม High Availability
2. VMware Partner VMware Service Provider-Professional
3. การบริหารจัดการ VPS คุณสามารถเปิดเครื่อง, รีบูต, ชัทดาวน์ และควบคุมได้เองจาก Client Area Portal
4. UPTIME 99.99% VMware HA
5. คล่องตัวในการใช้งาน: เพิ่ม-ลดทรัพยากรได้ตามความต้องการ
6. การซัพพอร์ทชั้นเยี่ยมตลอด 24x7 ผู้เชี่ยวชาญของเรา พร้อมช่วยเหลือคุณตลอด 24 ชม. ทุกวัน
3. ความแตกต่างระหว่าง Dedicated Server, VPS และ VMware VPS
Dedicated Server | VPS | VMware VPS | |
Management | ไม่มี | User Portal | User Portal |
Resource | ทั้งหมด | On-demand | On-demand |
Uptime | 99.9% | 99.9% | 99.99% |
Migration | ยุ่งยาก | ง่าย | ง่ายและไม่มี Downtime |
High Availability | ไม่รองรับ | ไม่รองรับ | รองรับ HA |
Scalability | ใช้เวลานาน | ทำได้ทันที | ทำได้ทันที |
Flexibility | ต่ำ | ปานกลาง | สูง |
Price | แพง | ถูก | On-demand |
4. การเลือกใช้งาน Cloud ให้เหมาะสม
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้ Cloud
1. งบประมาณ ผู้ใช้บริการจำเป็นต้องประเมินถึงความต้องการของระบบ ความสำคัญของข้อมูลและความสามารถในการบริหารจัดการของบุคลากร แล้วจึงเลือกบริการให้เหมาะสมกับความต้องการ เนื่องจากแต่ละบริการมีราคาที่แตกต่างกัน
2. ความเสถียรและความพร้อมใช้งาน ทุกบริการสามารถการันตี Uptime ได้แต่ความสามารถในการรองรับการทำ High Availability จะมีเฉพาะบน VMware VPS
3. การดูแลและบริหารจัดการ คือความสามารถในการจัดการระบบด้วยตัวเอง เกือบทุกบริการจะมี Managment Portal สำหรับบริหารจัดการระบบ ทำให้สามารถจัดการเครื่องของเราได้อย่างง่ายดายไม่ว่าจะเป็นการ Reboot, Shutdown, Start หรือ Console เป็นต้น
4. ความสามารถในการขยายระบบ รวมถึงการพิจารณาแผนการเติบโตในอนาคต บางบริการอาจมีข้อจำกัดเรื่องการขยายขนาดของระบบ และการย้ายระบบจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอาจมีความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการค่อนข้างมาก
คำแนะนำการเลือกใช้ Netway Cloud
1. เลือกใช้ Dedicated Server ถ้าต้องการใช้งาน Server อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องการความสามารถการประมวลผลของระบบทั้งหมด เพื่อรองรับระบบขนาดใหญ่ได้
2. เลือกใช้ VPS หากต้องการความเป็นส่วนตัวของข้อมูล สามารถ Customize Server ได้ในระดับ Root Privilege และมีงบประมาณจำกัด
3. เลือกใช้ VMware VPS หากต้องการความปลอดภัยของข้อมูลระดับสูง ระบบพร้อมใช้ตลอดเวลา และสามารถ Customize Resource ได้ไม่จำกัด
นอกจากบริการดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้ว Netway Cloud ยังมีบริการ Microsoft Azure และ Amazon Web Service ลูกค้าที่สนใจสามารถปรึกษาและร้องขอบริการจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายได้ตลอดเวลา
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อม Download เอกสาร Slide ได้ที่
_______________________________________________________________________________________________
Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway
Facebook : m.me/netway.offcial
Tel : 02-055-1095
Email : support@netway.co.th
Web Chat : https://netway.co.th/
#ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Google #Zendesk #Digicert