เราเห็นสตาร์ทอัพหลายเจ้าที่มีเงินทุนจำนวนมหาศาลจากการระดมทุน และเชื่อว่าการเริ่มสร้างสตาร์ทอัพต้องโฟกัสไปที่การระดมเงินทุนเท่านั้น ความคิดนี้อาจเป็นความคิดที่ผิด จริง ๆ แล้วการเริ่มสร้างสตาร์ทอัพจะต้องผ่านขั้นการทดสอบไอเดียโดยปราศจากการลงทุนจากภายนอก และยิ่งถ้าคุณมีเงินออมส่วนตัวไม่เพียงพอ คุณจะต้องมองหาวิธีสร้างสตาร์ทอัพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย ซึ่งสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ลองสร้างหน้าเว็บไซต์ (Landing Page) พร้อมเปิดจองผลิตภัณฑ์ pre-sales เพราะการสร้างหน้าเว็บในปัจจุบันไม่จําเป็นต้องมีความรู้ทางเทคนิคก็สามารถสร้างได้ง่าย ๆ ในราคาประหยัด โดยใช้องค์ประกอบการออกแบบ (Design assets) เว็บไซต์ทั่วไปที่ราคาไม่สูง
คุณอาจกังวลหากเปิดขายสินค้าทั้ง ๆ ที่ยังไม่ผลิต แต่วิธีนี้กำลังจะเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรม และยังเป็นวิธีที่เซฟที่สุดในการทดสอบว่าไอเดียสตาร์ทอัพของคุณสามารถดึงดูดผู้บริโภคได้จริงหรือไม่ จะมีรายได้เท่าไหร่ หากรายได้ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ก็แค่ใช้องค์ประกอบเว็บไซต์เดิมมาทดลองซ้ำอีกครั้งเพื่อดูว่าผลลัพธ์ดีขึ้นหรือไม่
คุณอาจเสนอไอเดียกับนักลงทุนเพื่อให้เขาช่วยลงทุนเงินให้ ซึ่งอันที่จริงแล้วนักลงทุนไม่ได้สนใจธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของคุณในเชิงเทคนิค แต่สนใจว่าไอเดียของคุณจะสามารถสร้างเงินให้เขาได้มากแค่ไหน
สร้างผลิตภัณฑ์ตั้งต้นด้วย No Code
ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีความรู้ทางเทคนิคด้านการสร้างเว็บไซต์หรือ application แต่มีบริการแพลตฟอร์ม No-code อยู่จำนวนมากที่จะช่วยให้คุณสร้างผลิตภัณฑ์ MVP ได้
MVP (Minimum Viable Product) คือ การสร้างผลิตภัณฑ์ตั้งต้น หรือผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่สมบูรณ์ เพื่อนำไปทดลองกับตลาดแล้วดูว่าผลตอบรับเป็นอย่างไร ควรปรับตรงไหน MVP จะเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงที่ดีหากผลิตภัณฑ์ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
ทั้งนี้ หาก Traction (ยอดผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์) สูงอาจนำผลกำไรที่ได้ไปลงทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญตัวจริงมาช่วยเขียนเว็บไซต์ หรือไปเพิ่มเงินทุนจาก Seed investor (บุคคลที่ให้เงินทุนในระยะเริ่มแรกของการทำสตาร์ทอัพ)
มองหาทีมซัพพอร์ต
การมีคนคอยช่วยเหลือย่อมได้เปรียบกว่าทำเองคนเดียว โดยทีมซัพพอร์ตอาจจะมาในรูปแบบ Co-Founder แบรนด์คู่ค้า หรือคนใกล้ตัวก็ได้
การมี Co-Founder ที่มีไอเดียหรือแพชชั่นตรงกันย่อมส่งผลดีต่อการสร้างสตาร์ทอัพเพราะไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายในรูปแบบของเงินเดือน อีกทั้งยังได้ทักษะ ประสบการณ์ และแรงงานจากทีม โดยเฉพาะทักษะการเขียนเว็บไซต์หรือโปรแกรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้าง Landing Page
หรือบางทีอาจจะไม่ต้องไปหาจากไหนไกล ลองขยับเข้ามามองคนใกล้ตัวที่พร้อมจะสนับสนุนคุณดูสิ อย่างเช่นคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่พร้อมจะช่วยเรื่องเงินลงทุนให้คุณได้ทำตามความฝัน แต่ก็ต้องระวังไว้อย่างนึงว่า หากคุณนำเงินทุนไปใช้ผิดที่ผิดทาง อาจเสียความสัมพันธ์กับญาติมิตรโดยไม่รู้ตัวได้
จับมือกับ Partner
การจับมือกับแบรนด์คู่ค้าก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เซฟที่สุดในการขยายธุรกิจ คุณต้องมองหาแบรนด์ที่มีบริษัทเป็นของตัวเอง และไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงกับธุรกิจของคุณ ซึ่งอาจจะมีกลุ่มลูกค้าเดียวกันแต่มีวิธีที่ต่างกันออกไป และแน่นอนว่าการตลาดแบบร่วมมือกันจะช่วยสร้างความจดจำในตัวแบรนด์และเรียกลูกค้าได้เป็นอย่างมาก
การมีหุ้นส่วนช่วยทำให้การระดมทรัพยากรจากผู้ที่มีเงินทุนเป็นเรื่องง่าย สิ่งสำคัญในการทำหุ้นส่วนให้ประสบความสำเร็จคือ ทุกคนต้องรู้บทบาทของตัวเองตามสัญญาจัดตั้งหุ้นส่วน (Partnership deed)
สร้างตัวตนผ่าน Social media
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจประกอบการคนเดียว พลังของ Social media ก็สามารถพลิกกระดานเกมธุรกิจคุณได้
การทำการตลาดบน Social media เป็นวิธีที่ใช้เงินน้อยที่สุดแต่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด ดังนั้น หากคุณใช้อย่างถูกวิธี คุณจะสามารถขยายแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้แบบทวีคูณ เนื่องจาก Social media สามารถแนะนําธุรกิจคุณให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีประวัติความสนใจในด้านนั้น ๆ
โปรโมทสินค้าแบบ Pay Per Conversion
การทำ Marketing (การโปรโมทเพื่อให้ธุรกิจเป็นที่รู้จัก) เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ใช้เงินมากที่สุดของการเริ่มทำสตาร์ทอัพ
คุณอาจหมดเงินจํานวนมากกับไปการโปรโมตสินค้าทดลองแต่กลับได้ผลกำไรต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากไม่เจอตลาดผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง
วิธีคือให้โฟกัสไปที่กิจกรรมทางการตลาดที่ทําด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น Content marketing หรือหาคู่ค้าที่เต็มใจขายผลิตภัณฑ์ของคุณให้แบบ Pay-per-conversion ซึ่งวิธีนี้อาจลำบากกว่าการจ้างคนมาโฆษณาให้เลย แต่มันจะเป็นทางเลือกเดียวที่คุณไม่ต้องเสียเงินไปกับขั้นตอนโปรโมท
สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า
ไม่มีลูกค้าก็ไม่มีรายได้ ลูกค้าหรือผู้บริโภคจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการธุรกิจ หากคุณเป็นสตาร์ทอัพหรือธุรกิจน้องใหม่ สิ่งที่ต้องทำเลยคือ ทรีตลูกค้าทุกคนอย่างเท่าเทียมกันให้รู้สึกพิเศษ เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาจะกลับซื้อสินค้าหรือใช้บริการเราอีกครั้ง เช่น มอบของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือให้คูปองส่วนลดสำหรับลูกค้าประจำ
จับตาดูคู่แข่ง
อีกหนึ่งข้อที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ คู่แข่งทางธุรกิจ คุณควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่คู่แข่ง ‘ทำอยู่’ มากพอ ๆ กับสิ่งที่คุณ ‘กำลังจะทำ’
การจับตาดูคู่แข่งช่วยให้คุณเรียนรู้จากฝั่งตรงข้ามในหลาย ๆ ด้าน เช่น ตอนนี้กำลังแข่งอยู่กับใคร เขามีข้อเสนออะไรบ้างที่คุณยังไม่มี รวมถึงการกำหนดราคาแข่งขัน และสร้างแคมเปญการตลาดต่าง ๆ