ในรอบปีที่ผ่านมา ในแวดวงธุรกิจมีความตื่นตัวเรื่อง cybersecurity และกังวลผลกระทบของ ransomware หรือ malware มากขึ้น แสดงให้เห็นว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้อีกต่อไป ไม่ว่าสำหรับ SME หรือ Enterprise หรือในอุตสาหกรรมใด สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมซึ่งเป็นการทำงาน on-site สู่การทำงานแบบ hybrid อย่างเต็มตัวในบางองค์กร ทำให้หลายองค์กรตกเป็นเป้าของผู้ประสงค์ร้ายไปโดยไม่รู้ตัว ขณะที่เทคนิคการจู่โจมบางอย่างที่สร้างความเสียหายได้อย่างร้ายแรงอยู่แล้วแต่เดิม ก็มีพัฒนาการจนแม่นยำและอันตรายยิ่งกว่าเดิมเสียอีก
ทั้งหมดนี้ทำให้แนวคิดการรักษาความปลอดภัยเชิงรุกแบบ Zero Trust ยิ่งทวีความสำคัญ ด้วยหลักการที่มุ่งตรวจสอบข้อมูลจากทุกแหล่งที่มี เพื่อยืนยันให้มั่นใจว่าทุกคำขอใช้งานระบบหรือข้อมูลเป็นของจริง จากผู้ใช้ตัวจริง และไม่ได้มุ่งก่อให้เกิดความเสียหาย
ก่อนจะเริ่มดำเนินการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยแบบ Zero Trust สิ่งสำคัญลำดับแรกคือต้องประเมินมาตรฐานระบบความปลอดภัยขององค์กรในขณะนั้นเสียก่อนว่าอยู่ในจุดไหน และยังต้องยกระดับระบบความปลอดภัยในส่วนไหนบ้าง ดังนั้น ไมโครซอฟท์จึงได้พัฒนา Zero Trust Maturity Model ขึ้น เพื่อใช้ประเมินความสามารถขององค์กรในการปกป้องระบบ ข้อมูล และผู้ใช้ ภายใต้หลักการของ Zero Trust โมเดลนี้ แบ่งองค์กรออกเป็น 3 ระดับหลักๆ ตามความพร้อม ได้แก่