Software Asset Management หรือ SAM คือมาตรฐานทางไอทีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้บุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยีเพื่อควบคุมและจัดการพฤติกรรมการใช้งานซอฟต์แวร์ในองค์กร SAM สามารถช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงทางกฎหมาย รวมทั้งมอบทางเลือกในการซื้อซอฟต์แวร์ในราคาที่ถูกที่สุด และทำให้ค่าใช้จ่ายด้านไอทีตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจมากขึ้น
SAM คือมาตรฐานที่กำกับโดยมาตรฐาน ISO/IEC 19770-1:2012 Information technology-Software asset management (แก้ไขใหม่ล่าสุดโดย ISO/IEC 19770-1:2017 Information technology-IT asset management) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบทรัพย์สินไอทีระดับสากล จึงยืนยันได้ว่าซอฟต์แวร์และเซอร์วิสขององค์กรมีกระบวนการจัดการที่ถูกต้องตามสิทธิ์การใช้งานที่ได้รับจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์
ประโยชน์โดยรวมของ SAM เองมีไว้เพื่อมอบมาตรการควบคุมความเสี่ยง เพิ่มมูลค่าการลงทุนซอฟต์แวร์ และปรับทิศทางของไอทีให้ตอบรับกับพันธกิจทางธุรกิจ
ในส่วนของ Microsoft Licensing นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความซับซ้อนในเรื่องของการจัดซื้อและมอบสิทธิ์ต่างๆ ให้แก่เครื่องและผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ซึ่งหากดำเนินการไม่ถูกต้องและไม่มีการวางแผนให้ดีแล้ว องค์กรจะต้องลงทุนกับสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างสูญเปล่าและดึงเอาประโยชน์สูงสุดออกมาจากซอฟต์แวร์เหล่านั้นได้ไม่เต็มสมรรถภาพ
ดังนั้น จึงเกิดเป็นกระบวนทรรศน์ที่มีชื่อว่า SOM ที่มาจาก SAM Optimization Model นั่นเอง กระบวนการนี้แบ่งระดับความพร้อมของ SAM ในองค์กร (หรือเรียกย่อๆ ว่า SAM Maturity) เป้น 4 ระดับได้แก่ Basic, Standardized, Rationalized, และ Dynamic)
ระดับของ SOM นั้นเปรียบได้กับการเติบโตของต้นไม้นั่นเอง หากองค์กรยังอยู่ในระดับ Basic ก็เหมือนกับความพร้อมที่มียังไม่พร้อมกับการลงทุนกับซอฟต์แวร์ใน Scale ที่ใหญ่มากได้ หากฝืนลงทุนไปก็จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ แต่หากองค์กรพัฒนาไปถึงขั้น Dynamic ได้แล้ว จะสามารถจัดการการมอบสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ให้แก่ End User ในองค์กรและจัดซื้อซอฟต์แวร์ได้ถูกพร้อมกับใช้งานได้อย่างลงตัว คุ้มค่ากับงบที่ลงทุนไป
เมื่อนำ SOM ของ Microsoft มาเทียบกับ Tier ต่างๆ ใน ISO แล้วจะพบว่า SOM มีความง่ายในการดำเนินการมากกว่าและเข้าใจง่ายกว่า ซึ่งหากองค์กรได้ดำเนินกิจกรรมของ SOM อย่างครบถ้วนแล้ว ก็จะได้เทียบเคียงสู่มาตรฐาน ISO ได้อย่างง่ายดาย
ตามที่กำกับโดย ISO แล้ว SAM จะมี 4 Tiers ในขณะที่ SOM เองก็มี 4 ขั้นเช่นกัน เพียงแต่ SOM มีความเข้มงวดน้อยกว่า จึงทำให้องค์กรสามารถพัฒนากระบวนการและมาตรฐานให้ขึ้นมาอยู่ Tier 1 ได้ง่าย โดยในขั้นตอนแรกของการเริ่มดำเนินการทุกองค์กรจะต้องได้รับการปรับแต่งเพื่อให้เคลื่อนที่จาก Basic ไปเป็น Standardized ให้ได้ และเมื่อสามารถทำได้แล้วเป้าหมายขององค์กรจะต้องตั้งเป้าไปที่ Rationalized ซึ่งเทียบเท่ากับ ISO SAM Tier 1 แล้ว
ในแต่ละการประเมินของ SOM จะอ้างอิงตามระดับ Maturity และ Competency ของ ISO ซึ่งจะมีทั้งหมด 10 Competency ในการประเมินและสามารถจัดกลุ่มได้ 5 หมวดหมู่ดังนี้ ทั้ง 10 Competency นี้จะเป็น KPI ในการตรวจสอบซอฟต์แวร์ ซึ่งองค์กรจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับ Competency ด้วย โดยคำตอบที่ได้มาจะถูกจัด rating และนำไปประเมิน SAM Maturity ในรายงานที่นำส่ง
กระบวนการของ SAM นั้นเกี่ยวกพันกับเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายแต่โดยหลักแล้วจะเกี่ยวกับแผนกไอที จัดซื้อ และผู้บริหารเป็นสำคัญ (อาจรวมฝ่ายปฏิบัติการหรือฝ่ายบุคคลด้วยหากจำเป็น)
ประโยชน์ที่แต่ละแผนกจะได้รับนั้นสามารถแบ่งได้ตามประโยชน์หลักของ SAM แบ่งตามสายงานได้ดังนี้
การจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ องค์กรต้องมีการแต่งตั้งและปรับปรุงบางอย่างเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งหากจะพัฒนาจาก Basic ได้นั้นจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้ในองค์กร
สิ่งแรกที่ต้องทำในกระบวนการของ SOM คือ Microsoft SAM Baseline Review โดยทีมตรวจสอบจะอธิบายความหมายของ SOM Asessment Process แบ่งเป็น 3 Phase ดังนี้
นอกจากนี้ยังได้รับ Complete inventory ของรายงาน microsoft product deployment และ licensing position พร้อมทั้งแบบประเมินกระบวน SAM เดิมที่มีอยู่ของคุณด้วย
การดำเนินการของ SAM จะยึดตาม Competency ต่างๆ ว่าได้พัฒนาจาก Basic ไปเป็น Dynamic ในระดับใด