"10 เคล็ดลับสำหรับร้านเสริมสวย สปา และธุรกิจเสริมความงาม ในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19"
ทันทีที่ปลดล๊อคดาวน์วันที่ 3 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา บรรยากาศร้านเสริมสวยก็เริ่มกลับมาคึกคักกันมาก บางที่อย่าง MUM & ME Hair คิวยาวไปถึงปลาย ก.ค. (ขณะที่เราเขียนบล็อกนี้คือช่วงปลายเดือน พ.ค. 2020) หรือบางที่ในช่วงแรกๆ ก็คึกคักมากจนจัดคิวลูกค้าไม่ไหว อย่างหลายๆ ร้านในย่านสุขุมวิท ที่เราได้มีโอกาสพูดคุยโดยตรง เกิดความแออัดในร้าน จนทำให้ต้องถูกทางเขต หรือ
คอมมิวนิตี้มอลล์ขอความร่วมมือให้ปิดรับลูกค้าไปก่อนเพื่อรอจัดสรรความเรียบร้อยก่อน ทำให้แทนที่จะเป็นโอกาส กลับกลายเป็นวิกฤตซ้ำซ้อนไปอีก
วันนี้เราได้รวบรวมแหล่งไอเดียทางรอดที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณไม่หยุดอยู่กับที่หรือเดินถอยหลัง รวมถึงจะช่วยเปิดมุมมองเปิดช่องทางใหม่ๆ ช่วยคุณรักษาลูกค้าเเละเข้าหาลูกค้าใหม่ ลองมาดูกันนะคะว่ามีอะไรบ้าง
1. การจองล่วงหน้า
ลูกค้าสมัยนี้ค่อนข้างจะคุ้นเคยระบบไอที เวลาทำนัดหมายก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ฉะนั้นไอเดียที่เราอยากเสนอก็คือลองมองหาระบบจองคิว ที่ลูกค้าสามารถทำได้เองจากที่บ้านก่อนที่จะมาใช้บริการจริงที่ร้าน อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่น ระบบฟอร์ม ฟรี อย่าง Microsoft Form
หรือ Google Form เพื่อสร้างฟอร์มลงทะเบียนง่ายๆ หรือจะเป็นระบบจองคิวอย่าง
Microsoft Bookings ที่คุณสามารถทดลองใช้งานได้ฟรี บน Office 365 ลูกค้าสามารถเลือกช่าง และเวลารับบริการได้ด้วยตนเอง โดยระบบจะมีการแจ้งเตือนทางอีเมลให้ลูกค้าเพื่อป้องกันการ No-Show อีกด้วย และหากลูกค้าเกิดเปลี่ยนใจเลือกวันและเวลาใหม่ เราก็จะได้รับการแจ้งเตือนผ่านทางแอพพลิเคชั่น Microsoft Bookings บนมือถือหรือทางอีเมลอีกด้วย
ตัวอย่างด้านบนที่เราเลือกมาเป็นของฟรีค่ะ แต่ถ้าหากคุณมีทุน อาจจะลองศึกษาระบบที่เชื่อมกับการบริหารจัดการหลังร้านที่ซับซ้อนขึ้น อย่าง Mind Body ก็ได้ค่ะ
2. จัดเซ็ตขายปลีกออนไลน์
ถ้าร้านเสริมสวยหรือสปาของคุณจำหน่ายผลิตภัณฑ์ค้าปลีกอยู่แล้ว ลองเปิดขายสินค้าออนไลน์ในช่วงนี้ดีไหม จะเป็นทาง Facebook, LineOA, Lazada, Shopee ก็ได้ เพื่อช่วยระบายสต๊อคไม่ให้ทุนจมไปมากกว่านี้ ทั้งแชมพู ครีมนวด น้ำยาย้อมผม หรือน้ำมัดนวดต่างๆ ที่ลองเอามาจัดเป็นเซ็ต ให้ทดลองใช้ก่อน เขียนเรื่องราวว่าแต่ละเซ็ตช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง เช่นรังแคเรื้อรัง ผมไม่มีน้ำหนัก หรือผมมัน เผื่อจะให้ลูกค้าสนใจแล้วทักเข้ามาเพราะหากเรารอแต่ลูกค้าที่เข้าหน้าร้านอย่างเดียว คงไม่พอให้ไปต่อแน่ๆ
3. ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่คุณมีให้มากที่สุด
ธุรกิจอาจจะหยุดบริการ แต่มันไม่ได้หมายความว่าคุณต้องหยุดทำงาน คุณยังต้องพูดคุยกับผู้จัดการธุรกิจและผู้ร่วมก่อตั้งของคุณเกี่ยวกับเป้าหมายหรือวิธีการรับมือช่วงสถานการณ์ดังกล่าว ตัวอย่างเช่นตอนนี้เป็นเวลาที่ดีในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการต่างๆ และสร้างแผนการเปิดตัวหลัง COVID-19 จบ เช่น สร้างแคมเปญร่วมสนุกหรือ โปรโมชั่นใหม่ๆ หากว่าร้านใกล้จะเปิดให้บริการได้อีกครั้ง
เราอยากแนะนำให้คุณลองเปิดใจใช้โปรแกรมที่สามารถทำ Video Conference อย่าง Microsoft Teams, Hangout Meet ของค่าย Google หรือโปรแกรมอื่นๆ ในการพูดคุยกับพาร์ทเนอร์ หรือที่ปรึกษา เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในช่วง COVID-19
4. ปรับเปลี่ยนเวลาการให้บริการพร้อมทั้งตั้งข้อกำหนดการให้บริการ
หากธุรกิจเสริมสวยหรือทำเล็บของคุณยังคงเปิดอยู่ คุณอาจต้องพิจารณาอีกครั้งว่าคุณจะปฏิบัติกับลูกค้าอย่างไร (ให้แน่ใจว่าต้องไม่ผิดจากมาตรการณ์ของทางรัฐบาล) แม้ว่าในพื้นที่ที่คุณอยู่จะไม่มีข้อกำหนดเรื่องของ Social Distancing ก็ยังจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสถึงเนื้อ
ถึงตัวเช่นกัน
หากธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ อาจจะต้องกำหนดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ เช่น ในพื้นที่ 1 คูหาอาจจะรับลูกค้าเพียงแค่รอบละ 2 คนเท่านั้น และทิ้งระยะห่างระหว่างรอบ เพื่อให้สามารถทำความสะอาดร้านได้ รวมถึงจัดแบ่งโซนในการรอเข้ารับบริการให้มีพื้นที่ห่างกัน
5. ปรับค่าธรรมเนียมในการยกเลิก
บางร้านที่เคยมีการคิดค่าธรรมเนียมการยกเลิกบริการ ในช่วงที่ทุกคนประสบปัญหากันอยู่ก็อยากแนะนำให้คุณลองยืดหยุ่นกับลูกค้าดูนะคะ
6. ให้พนักงานเข้าใจ และรับมือกับ COVID-19 แบบมีสติและเป็นมืออาชีพ
สุขภาพและสุขอนามัยของทุกคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราขอแนะนำให้ทางร้านสร้างความชัดเจนกับพนักงาน และให้พนักงานเกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่า COVID-19 เป็นโรคติดต่อที่มีความเสี่ยง และสถานที่ของทางร้านยังคงมีความเสี่ยงอยู่เสมอ เพื่อให้คอยระแวดระวังทั้งตนเองและคนรอบข้าง ให้มีมาตรฐานในการรับมืออย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ และสถานที่ มีแผงกั้นกันการฟุ้งกระจาย ฯลฯ เพราะถ้าหากจุดใดจุดหนึ่งมีความเสี่ยงขึ้นมา ก็อาจจะกระทบกับธุรกิจทั้งหมดซึ่งนั่นก็หมายถึงทางรอดของทุกคนในร้านด้วยเช่นกัน
7. รักษาความสะอาด แล้วก็อย่าลืมแชร์ให้โลกรู้
คุณอาจทำความสะอาดร้านเสริมสวยหรือสปาเป็นประจำอยู่แล้ว แต่เราอยากให้คุณลองสื่อสารให้ลูกค้า เพื่อเป็นโอกาสที่จะทำให้ลูกค้าของคุณสบายใจที่มาใช้บริการตัวอย่างเช่นร้านทำเล็บ หรือร้านทำผมที่เราได้มีโอกาสไปใช้บริการในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการอัดวิดีโอเก็บภาพนิ่งว่าระหว่างที่ปิดบริการ ทางร้านได้จ้างเจ้าหน้าที่มาทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างไร วิดีโอนี้ถูกเผยแพร่ทั้งที่หน้าจอในร้าน โซเชียลมีเดียของทางร้านเพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าที่มาใช้บริการ อย่าปล่อยให้โอกาสผ่านไปลองทำตามไอเดียนี้กันได้นะคะ
8. สื่อสารกับลูกค้าให้ทันท่วงที
ช่วงที่เราพอจะมีเวลามานั่งพิจารณาธุรกิจของเรา ลองวางแผนเรื่องการสื่อสารกับลูกค้า สร้างเนื้อหาใหม่ๆอัพเดทข่าวสารทางอีเมลหรือทาง Facebook ให้กับลูกค้า หากคุณต้องการกำหนดกลยุทธ์ใดๆ ตัวอย่างเช่นหากต้องการแจ้งปรับเวลาเปิด-ปิดร้าน ถ้าคุณมีฐานข้อมูลอีเมลลูกค้าก็อาจจะใช้ eDM (Email Direct Marketing) ในการสร้างแคมเปญ และส่งข่าวสารถึงลูกค้าผ่านทางอีเมล อีกแนวคิดหนึ่งคือ Microsoft Bookings ที่ลูกค้าสามารถส่งข้อความเพื่อยกเลิกหรือเลื่อนกำหนดเวลานัดหมายใหม่ แล้วทางร้านก็ตอบรับหรือปรับเปลี่ยนเวลานัดหมายได้ทันที แบบนี้ก็จะไม่เกิดปัญหา No-Show
9. คำปรึกษา คำแนะนำผ่านช่องทางต่างๆ เสมือนว่าได้นั่งคุยกับลูกค้าจริงๆ
ในช่วงเวลานี้อาจจะช่วยแนะนำการตัดผมหรือสอนวิธีการนวดผ่าน Facebook Live อย่างน้อยคือให้ลูกค้าได้เห็นคุณในรูปแบบออนไลน์พร้อมสร้างการจดจำให้กับลูกค้านึกถึงชื่อร้าน ชื่อแบรนด์ สร้างคอนเทนต์ดีๆเพื่อให้มีผู้ติดตามเยอะๆ ทำเช่นนี้อาจจะสร้างฐานลูกค้าออนไลน์ได้เพื่อยกระดับการสื่อสารไปยังรูปแบบอื่นๆไปพร้อมๆ กันได้อีกด้วย
10. พยายามเชื่อมต่อกับลูกค้าตลอดเวลา
ลองสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าตลอดเวลา ให้กำลังใจแก่ผู้อื่นบนโซเชียลมีเดีย แจ้งข่าวสารพร้อมแหล่งข้อมูลและลองใช้วิดีโอเพื่อเสนอการนัดหมายหรือให้คำปรึกษาตัวต่อตัว เสนอคำแนะนำที่จะทำให้ด้วยตนเองทางออนไลน์ คุณจะต้องการการติดต่อกับเพื่อนๆ ของคุณ เจ้าของธุรกิจรายอื่น
หรือชุมชน Marketplace ต่างๆ เช่น จุฬามาร์เก็ตเพลส เพื่อแบ่งปันความรู้และกลยุทธ์ต่างๆ พร้อมทั้งคำแนะนำมากมากผ่านออนไลน์ รวมถึงการเข้าร่วมการสนทนาและทำงานกับธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆด้วยเช่นกัน