เมื่อพูดถึงเรื่องการสร้างเว็บไซต์ ความเข้าใจของทุกคนแต่ก่อนคือต้องเป็นผู้มีความรู้ด้าน Program coding ที่เป็นภาษาสำหรับเว็บไซต์ จึงจะสามารถสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้งานได้ แต่ถ้าหากเป็น Google Sites คุณไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Programing หรือด้าน Website designer หรือแม้กระทั่งอาจจะไม่จำเป็นต้องขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลด้าน IT ของคุณเลยด้วยซ้ำ คุณก็สามารถสร้างเว็บไซต์เพื่อไว้ใช้งานใน Team หรือใช้เป็นเว็บไซต์ให้ข้อมูลทั่วไปสำหรับองค์กรของคุณ ก็สามารถทำได้ About Google Sites Google site เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างเว็บไซต์ เพื่อใช้สำหรับภายในทีม ใช้เป็นตัวช่วยในการทำ Project ต่างๆ หรือแม้กระทั่งใช้สำหรับเป็นเว็บไซต์ภายนอกก็ได้เช่นกัน ซึ่งการทำเว็บไซต์ผ่าน Google Site คุณสามารถสร้างไซต์ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องมี Programmer , Web Designer หรือเจ้าหน้าที่ IT คอยช่วยเหลือ เมื่อคุณสร้างไซต์ใหม่ขึ้นมา ข้อมูลจะถูกบันทึกอัตโนมัติไปยัง Drive เช่นเดียวกับไฟล์อื่นๆ ที่อยู่บน Google Drive คุณสามารถแก้ไข Google Site ร่วมกันกับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ในระยะเวลาเดียวกันได้แบบ Real time และสามารถดูได้ว่า ผู้ใช้งานคนนั้นๆ แก้ไขส่วนใดอยู่ พร้อมกันนั้น คุณยังสามารถตั้งค่าการเข้าถึงของ Site ดังกล่าวได้ผ่านการกำหนด Permission จึงทำให้มั่นใจได้ว่าบุคคลใด จะมีสิทธิ์เข้าถึง Google Site นี้ได้ สำหรับ Google Site ถูกออกแบบมาเป็นเว็บไซต์แบบ Responsive ซึ่งนั่นหมายถึงคุณสามารถออกแบบสำหรับ Tablet และ Smartphone ได้เช่นกัน วิธีการใช้งาน Google Sites ท่านสามารถเรียนรู้ได้จาก Google Sites learning center ได้ตาม Link ด้านล่างนี้ https://gsuite.google.com/learning-center/products/sites/get-started/#!/section-1 Features หลักๆ ของ Google Sites มีอะไรบ้าง 1. สามารถเพิ่ม Logo ของเว็บไซต์โดยใช้วิธีการ Upload หรือเลือกจาก Google Drive พร้อมกันนั้นยังเลือกได้ว่าจะให้แสดงในรูปแบบใด2. สามารถสร้าง Banner โดยใช้รูป Upload หรือเลือกจาก Google Drive ได้3. สามารถเพิ่มเมนูได้มากกว่า 1 หน้า ทำให้สามารถแบ่งการแสดงผลได้ง่ายยิ่งขึ้น4. สามารถแบ่ง Layout เพื่อให้แสดงผลได้อย่างสวยงาม 5. สามารถแทรก Embed code ซึ่งจะใช้สำหรับวีดีโอจาก Youtube หรือแทรกแผนที่จาก Google Maps หรือ Application อื่นๆ ที่รองรับ Embed code6. สามารถแทรกเว็บไซต์อื่นๆ มายัง Sites ของท่านผ่าน URL link ได้7. สามารถแทรกไฟล์ได้ทุกส่วนที่เป็นไฟล์ของ Google Dirve เช่น Google Doc , Google Sheet , Google Form ฯลฯ โดย Google Sites สามารถผูก Domain หลักของท่านเข้ายัง Google Sites เพื่อเรียกใช้งานผ่านชื่อ Domain จริงๆ ไม่ต้องผ่าน site.google.com ได้ด้วย โดยการทำ Web Address Mapping นั่นเอง แต่จะต้องใช้สิทธิ์ Admin เพื่อดำเนินการ ส่วนดังกล่าว เข้าสู่หน้า Admin > Apps > GSuite > Sites (Link) เลือกเมนู Web Address Mapping > ADD A NEW WEB ADDRESS ใส่ค่าที่ให้ถูกต้อง เช่น Site Location คือ Path ของ Google Site Web Address คือ Sub Domain ที่จะใช้งานจริง หลังจากนั้นเลือก Add Mapping เมื่อ Add Mapping แล้ว ระบบจะให้เพิ่มค่า CNAME record ตามที่ระบบแจ้ง และรอค่า DNS update อาจจะใช้ระยะเวลาสักครู่หนึ่ง (จากที่ทดสอบจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง) ตัวอย่างเว็บไซต์ ที่สร้างโดย Google Sites _____________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft Office , Google Workspace เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway Facebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.th Web Chat : https://netway.co.th/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Netway Communication #GSuite
จะสร้างแบบฟอร์มออนไลน์ แต่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์จะทำยังไงดี Google Forms ช่วยท่านได้ แค่สร้างชุดคำถามและชุดคำตอบมาเท่านั้น ก็สามารถสร้างแบบฟอร์มออนไลน์ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว login เข้าสู่บัญชีใช้งาน Google ไปที่ https://forms.google.com แล้วเลือก template ในการสร้างแบบฟอร์ม ใส่คำถามและชุดคำตอบของท่านเอง ตรวจสอบแบบฟอร์มก่อนส่ง ส่งแบบฟอร์ม ง่ายๆเพียงเท่านี้เอง ดังนั้น เรามาเริ่มสร้างแบบฟอร์มกันเลย 1. ไปที่ https://forms.google.com/ หรือสามารถเพิ่มจาก Google Drive เลยก็ได้2. เลือกสร้าง Form จาก template ตามต้องการ สามารถเปลี่ยน Header และ Theme ได้ตามความต้องการ 3. กำหนดรูปแบบของชุดคำตอบ พร้อมทั้งใส่ตำถามและชุดคำตอบเข้าไปได้เลย โดยรูปแบของชุดคำตอบที่ Google มีมาให้นั้น ค่อนข้างที่จะครอบคลุมการใช้งานในส่วน Form อยู่แล้ว โดยเราไม่เรียนรู้รูปแบบของชุดคำตอบกันได้เลย Short Answerเป็นฟอร์มสำหรับกรอกข้อความสั้นๆ ลงไปในช่องคำตอบ เช่น ชื่อ – นามสกุล หรืออีเมล์ เป็นต้น กรณีต้องการกรองรูปแบบของคำตอบ เช่นต้องเป็นตัวเลขเท่านั้น หรือต้องเป็นรูปแบบของอีเมล์เท่านั้น หรือหากต้องการรูปแบบการกรองคำตอบให้มีความสามารถมากขึ้น ก็สามารถใช้วิธีการ Regular expression ก็ได้ โดยกด แล้วเลือก Response validation Paragraphเป็นฟอร์มสำหรับกรอกข้อความยาวๆ ลงไปในช่องคำตอบ เช่น กล่องแสดงความคิดเห็น ข้อแนะนำ เป็นต้น และสามารถกรองรูปแบบของคำตอบได้เช่นเดียวกัน Multiple Choice เป็นฟอร์มสำหรับสร้างคำตอบแบบตัวเลือก โดยที่ผู้ตอบสามารถเลือกตอบได้แค่คำตอบเดียวเท่านั้น เช่น การเลือกช่วงอายุ หรือเลือกช่วงเงินเดือน เป็นต้น Checkboxesเป็นฟอร์มสำหรับสร้างคำตอบแบบตัวเลือก แต่ต่างจากแบบ Multiple Choice ตรงที่ผู้ตอบสามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ เช่น สอบถามความสนใจของผลิตภัณฑ์ Dropdownคล้ายกับรูปแบบ Multiple Choice คือ เป็นฟอร์มสำหรับสร้างคำตอบแบบตัวเลือก โดยที่ผู้ตอบสามารถเลือกตอบได้แค่คำตอบเดียวเท่านั้น แต่ต่างกันตรงที่หากคำตอบที่ให้เลือกมีจำนวนค่อนข้างมาก การที่จะแสดงทุกคำตอบบนหน้าจออาจจะไม่เหมาะสม จึงแสดงในรูปแบบ Drop-down จะเหมาะสมกว่า เช่น คำตอบเลือกจังหวัดเกิด หรือ คำตอบที่ให้เลือกว่าอาศัยอยู่ประเทศใด File Uploadใช้สำหรับอัพโหลดไฟล์ เช่นไฟล์หลักฐานการชำระเงิน แต่หากเลือกรูปแบบฟอร์มนี้ ระบบแบบฟอร์จะบังคับให้ผู้ตอบคำถามต้องทำการ login email ก่อนจึงจะสามารถอัพโหลดไฟล์ได้ Linear scaleเป็นฟอร์มสำหรับสร้างคำตอบแบบตัวเลือก โดยที่ผู้ตอบสามารถเลือกตอบได้แค่คำตอบเดียวเท่านั้น แต่คำตอบจะอยู่ในรูปแบบตัวเลขเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การให้คะแนน Multiple choice gridเป็นฟอร์มสำหรับสร้างคำตอบแบบตัวเลือกในรูปแบบตาราง เหมาะกับการใช้งานกรณีที่มีหลายคำถามโดยที่มีชุดคำตอบเป็นชุดเดียวกัน ผู้ตอบสามารถเลือกตอบได้แค่คำตอบเดียวเท่านั้นในแต่ละคำถาม ยกตัวอย่างเช่น แบบประเมินการจัดฝึกอบรม Checkbox gridจะเป็นฟอร์มสำหรับสร้างคำตอบแบบตัวเลือกในรูปแบบตาราง คล้ายๆกับ Multiple choice grid แต่จะต่างกันตรงที่รูปแบบนี้สามารถเลือกได้หลายคำตอบ 4. เมื่อแบบฟอร์มได้รับการสรา้งเรียบร้อยแล้ว สามารถตรวจสอบความถูกต้องและความสวยงามของแบบฟอร์มก่อนส่งได้โดยกดปุ่ม ที่อยู่มุมขวาบนของหน้าสร้างแบบฟอร์ม 5. ขั้นตอนในการส่งแบบฟอร์มเพื่อให้คนตอบแบบฟอร์มได้รับ ให้กดปุ่ม send ที่อยู่มุมขวาบนของหน้าสร้างแบบฟอร์ม โดยสามารถเลือกรูปแบบการส่งได้หลายแบบ เช่น ส่งผ่านอีเมล์, แนบ link, เพิ่มเข้าไปในเว็บไซต์โดยใช้ iFrame หรือแม้แต่ส่งผ่านทาช่องทาง Social media ก็ได้ เมื่อแบบฟอร์มที่เราส่งไป ได้รับการตอบคำถามเรียบร้อยแล้ว Google Form จะสรุปคำตอบต่างๆออกมาให้อัตโนมัตในรูปแบบกราฟ ทำให้เราสามารถนำข้อมูลที่ได้ ไปวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงแค่เลือกในส่วน Responses ที่หน้าสร้างแบบฟอร์ม Google Form ยังมีมากกว่าแค่ทำฟอร์มนะครับ Google Form ยังมีความสามารถในการสร้างแบทดสอบออนไลน์ก็ได้ ท่านสามารถระบุคะแนนของแต่ละคำตอบได้ และระบบสามารถออกคะแนนให้ได้ทันทีเมื่อตอบคำถามเสร็จแล้ว โดยให้เลือกรูปแบบของ Form เป็น Quizzes ที่เมนู Setting ที่อยู่มุมขวาบนของหน้าสร้างแบบฟอร์ม _____________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft Office , Google Workspace เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway Facebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.th Web Chat : https://netway.co.th/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Netway Communication #GSuite
รวม 5 แอปพลิเคชันสุดเจ๋งที่จะช่วยให้คุณแม่ทำงาน หรือ Working Mom ยุค 4.0 สามารถจัดสรรเรื่องในบ้าน จัดสรรการงาน และเอ็นจอยชีวิตครอบครัวได้แบบชิลๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเงิน ภาระต่างๆในครอบครัว เรื่องให้นมลูก หรือการดูแลตัวเองต่างเป็นสิ่งที่คุณแม่ทำงานให้ความสำคัญ วันนี้เราจึงขอรวม 5 แอปพลิเคชันสุดเจ๋งที่จะช่วยให้คุณแม่ทำงาน หรือ Working Mom ยุค 4.0 สามารถจัดสรรเรื่องในบ้าน, จัดสรรงาน และเอ็นจอยชีวิตครอบครัวได้แบบชิลๆ มาเริ่มกันเลยนะคะว่ามีอะไรบ้าง 1. นมแม่ (iOS และ Android) ชื่อฟังดูไทยมากๆ แต่นี่คือสุดยอดแอปพลิเคชันทำโดยคนไทยที่รวบรวมข้อมูล คำแนะนำ สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการดูแลลูกอย่างถูกวิธี ที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลกซึ่งทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นหลักที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด รวมทั้งสาระน่ารู้ต่างๆที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการดูแลตัวคุณแม่และลูกน้อยทุกช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด ที่สำคัญคือสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการให้นมแม่ได้ครบถ้วนทีเดียว 2. Glow Baby Tracker for Breastfeeding, Diaper, Sleep (iOS และ Android) เป็นแอปพลิเคชันสารพัดประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกเรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก ไม่ว่าจะเป็นตารางการให้นมลูกด้วยขวดนมหรือนมแม่ ตารางบันทึกการเปลี่ยนผ้าอ้อม เช็คและบันทึกพัฒนาการของลูกตามวัย แผนตารางการเจริญเติบโตของลูก นอกจากนี้ยังสามารถ sync ข้อมูลได้หลายเครื่องพร้อมกัน ทำให้คุณแม่สามารถแชร์ข้อมูลการดูแลลูกให้กับเครื่องของคุณพ่อได้พร้อมกันอีกด้วย 3. แคลอรี่ ไดอารี่ (iOS และ Android) อีกหนึ่งแอปโดยคนไทย ชื่อไทยๆ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี แอปนี้จะช่วยคำนวณว่าปริมาณแคลอรี่จากอาหารเท่าไรที่คุณแม่ควรจะบริโภคต่อวัน สามารถบันทึกรายละเอียดการกินต่างๆในแต่ละวัน และสามารถดูบันทึกย้อนหลังได้ รวมถึงมีข้อมูลรายการการออกกำลังกายมากมายให้เลือก ถึงคุณแม่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูแลลูกน้อยแต่ก็ไม่ควรละเลย ลืมดูแลสุขภาพของตัวเองนะคะ 4. Google Sheets (iOS และ Android) การบันทึกรายรับรายจ่ายถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับครอบครัว ถ้าทั้งคุณพ่อและคุณแม่ช่วยกันจดบันทึก ก็จะยิ่งช่วยให้รู้สถานะการเงินของปัจจุบัน และวางแผนการใช้เงินในอนาคตสำหรับลูกน้อยได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย Google Sheets ช่วยให้แม่ที่มีงานรัดตัว สามารถลงบันทึกค่าใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันมือถือไปพร้อมๆ กับคุณพ่อ ข้อมูลอัพเดทอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญไม่ต้องมานั่งกดปุ่ม Save ให้ยุ่งยาก เพราะระบบจะทำการบันทึกโดยอัตโนมัติ 5. Babyto Camera (เฉพาะ iOS) แอปพลิเคชันสำหรับตกแต่งรูปคุณลูกน่ารักๆเพื่อให้คุณแม่ได้บันทึกรูปถ่ายแห่งความทรงจำของลูกน้อย สามารถตกแต่งโดยใส่ filter ต่างๆ, กรอบรูป, ข้อมูลวันที่หรือ text ต่างๆ, ใส่ sticker น่ารักๆลงในรูป และยังสามารถรวมหลายๆรูปภาพไว้ในภาพเดียวกันก็ได้ มาพร้อมกับปุ่ม share ไปยัง social เพื่อให้คุณแม่สามารถแบ่งปันรูปถ่ายลูกน้อยให้เพื่อนๆได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สรุปแล้ว ใน 1 วันที่มีเพียง 24 ช.ม. คุณแม่อาจไม่สามารถทำทุกอย่างได้เพอร์เฟคนัก แต่ด้วยตัวช่วยแอปทั้ง 5 นี้ เราเชื่อได้ว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้ชีวิตคุณแม่ และครอบครัวสบายขึ้นนะคะ ว่าแต่อย่ามัวติดแอปจนลืมให้เวลากับคนในครอบครัวนะคะคุณแม่ ^_^ _____________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft Office , Google Workspace เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway Facebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.th Web Chat : https://netway.co.th/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Netway Communication #GSuite
ด้วยไลฟ์สไตล์การทำงานของชาวออฟฟิศในปัจจุบันที่เน้นการทำงานที่สะดวกสบาย Cloud Computing จึงเข้ามามีบทมากขึ้น ช่วยให้เราสามารถใช้งานได้ทั้งอีเมล, การสนทนาออนไลน์, งานเอกสาร ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย และทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งนี่ถือเป็นหัวใจของระบบ Cloud เลยทีเดียว 2 ค่ายใหญ่ที่ให้บริการก็คือ Google ที่นำเสนอ Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) และ Microsoft ที่นำเสนอ Microsoft 365 แม้ว่าทั้งสองตัวเลือกจะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอีเมล(สามารถใช้โดเมนเป็นชื่อบริษัทของคุณเอง yourname@yourcompany.com ) , พื้นที่จัดเก็บข้อมูล, ประชุมออนไลน์ผ่านทางวิดีโอ, การทำงานบนเอกสารออนไลน์ร่วมกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก วันนี้ Netway จึงขอเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) และ Microsoft 365 ให้คุณพิจารณาว่าจะเลือกคลาวด์แพลทฟอร์มแบบไหนให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ ราคาและ Plan การใช้งานของทั้งสองค่ายแตกต่างกันอย่างไร ?(อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อ ธันวาคม 2019) Google Workspace - Pricing สำหรับ Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) จะมี Plan การใช้งานที่ค่อนข้างตรงไปตรงมากับลูกค้าเนื่องจากมีเพียงสาม Plan เท่านั้นคือ สำหรับ Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) ผู้ใช้งานหลักๆจะเป็นการใช้งานแบบ Basic และ Business Plan ตามลำดับซึ่งทั้ง 2 Plan มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ค่อนข้างครบเครื่องเหมาะกับการทำงานเพราะมีทั้งอีเมล/พื้นที่จัดเก็บไฟล์ 30 GB (Unlimited สำหรับ Busines plan )/เอกสารสเปรดชีตและงานนำเสนอออนไลน์ อีกทั้งยังสามารถหาฟังก์ชั่นที่ช่วยให้คุณทำงานแบบง่ายๆคูลๆ ได้จาก Third Party Apps ที่มีให้เลือกมากมายใน Google Apps Marketplace แต่สำหรับ Business และ Enterprise Plan จะมีฟังก์ชั่นน่าสนใจที่เรียกว่า e-Discovery ที่จะช่วยให้คุณสามารถเก็บข้อมูลการสื่อสารทั้งหมดในองค์กรครอบคลุมอีเมล/แชท/เอกสารและไฟล์ โดยการกำหนด Rule สำหรับ User ที่ใช้งานในองค์กร Microsoft 365 - Pricing สำหรับผลิตภัณฑ์ของ Microsoft อย่าง Microsoft 365 จะมี Plan การใช้งานที่ค่อนข้างหลากหลายไล่มาตั้งแต่ Home, Business, Enterprise และ Plan สำหรับการศึกษาอย่าง Education แต่เราจะมาโฟกัสหลักๆใน Plan ที่มีการใช้งานจำนวนมากอย่าง Business และ Enterprise ตามด้านล่างนี้ สำหรับการใช้งาน Microsoft 365 ใน “Business” Plan จะมีข้อดีคือคุณสามารถชำระเงินแบบรายเดือนได้(ไม่ต้องจ่ายล่วงหน้าเป็นรายปี) ซึ่งหมายความว่าถ้าองค์กรณ์ของคุณมีแนวโน้มที่จะหดตัวหรือเติมโตมากขึ้น มีการเพิ่ม/ลด จำนวน User ที่ใช้งานตลอดเวลานับว่า Plan นี้เหมาะกับองค์กรของคุณมากแต่ก็มีข้อเสียคือจำกัดผู้ใช้งานแค่ 300 User/Plan เท่านั้นโดยทุก plan ของ Microsoft 365 จะมี Microsoft Office สำหรับ Desktop (Word, Excel, Powerpoint ฯลฯ) มีเพียง Business Essentials และ Enterprise E1 ที่ให้บริการออนไลน์เท่านั้นเทียบราคา Plan Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) และ Microsoft 365 สรุป จะเห็นได้ว่าถ้าคุณต้องการประหยัดหรือต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้อยู่ในระดับต่ำกว่าเดิมอาจจะต้องเลือกใช้ Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) มากกว่า Microsoft 365 จะเห็นได้ว่า Microsoft 365 “Enterprise E3” มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า Google Workspace “Business” เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว แต่นอกจากเรื่องราคาแล้วก็ยังมีตัวแปรอื่นๆที่มีผลต่อการตัดสินใจ เช่น ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวว่าเหมาะกับธุรกิจของคุณเพียงใด ถ้ามีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติมสามารถโทรเข้ามาปรึกษาเราได้ที่ 02-055-1095 หัวข้อแนะนำ >> Features Google Workspace Vs Microsoft 365 __________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft Office, Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway Facebook : m.me/netway.offcial Tel : 02-055-1095 Email : support@netway.co.th Web Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที # การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Netway Communication # Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite)
การนั่งจมอยู่กับการเรียงข้อมูลในตารางเพื่อทำความเข้าใจกับข้อมูลในหลายๆ แง่มุม ช่างเป็นเรื่องที่นึกแล้วทำให้เรามึนหัวไปตามๆกัน วันนี้เราจึงอยากจะแบ่งปันฟีเจอร์ใหม่ใน Google Sheets ที่จะช่วยวิเคราะห์และปรับแต่งเนื้อหาที่เหมือนจะยากเหล่านี้ ให้กลับกลายเป็นการนำเสนอที่ง่ายขึ้น (Data Visualization) และสามารถนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาช่วยให้ทีมของคุณทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกสบาย Google Sheets เครื่องมือสร้างชาร์ท (Chart) ง่ายๆ ที่ทุกคนเข้าใจได้ ใน Google Sheets มีฟีเจอร์ตัวหนึ่งชื่อว่า Explore ที่มี Machine Learning เป็นตัวช่วยให้การมองและทำความเข้าใจกับข้อมูลที่มีได้ภายในระยะเวลารวดเร็ว และก็จะทำการวิเคราะห์ด้วยการถามกลับเป็น “คำถาม” จริงๆ ไม่ใช่ภาษายากๆที่เราต้องมานั่งแปลซ้ำอีกรอบ เช่น ถามว่า “สินค้าที่ขายไปมีช่องทางจำหน่ายทางไหนบ้าง” หรือถามว่า “ยอดขายเฉลี่ยในวันอาทิตย์คือเท่าไร” ถ้าไม่เชื่อก็ลอง Google Sheets ดูสิ Explore ถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การนำข้อมูลมาแสดงเป็นภาพที่เข้าใจง่ายด้วยขั้นตอนการทำเพียงไม่กี่คลิ้ก แต่ถ้าหากโปรแกรมยังแสดงภาพชาร์ทได้ไม่ถูกใจ แทนที่จะมานั่งหัวเสียกับการสร้างด้วยตัวเอง คุณก็สามารถสั่งงานได้ด้วยการพิมพ์หัวข้อที่ต้องการให้ตรงประเด็น ตัวอย่างเช่น “ข้อมูลจัดอันดับความพึงพอใจของลูกค้าปี 2017” หรือ “กราฟแท่งแสดงยอดขายไอศกรีม” ในระยะเวลาไม่กี่อึกใจ ข้อมูลเชิงลึกก็จะถูกดึงออกมาแสดงต่อหน้าคุณ รู้ไหม ข้อมูล Google Sheets สามารถซิงก์ได้ทันทีกับ Google Docs หรือ Google Slides การเตรียมพรีเซ็นท์สไลด์ หรือแชร์ข้อมูลประเมินยอดขาย หรือ เก็บข้อมูลล่าสุดบนแหล่งข้อมูลหลายๆตัวเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร งานนี้ Google เขาเข้าใจความยุ่งยากตรงนี้ดี ดังนั้นเมื่อปลายปีที่แล้วก็เลยทำโปรแกรมง่ายๆให้ผู้ใช้สามารถซิงก์ข้อมูลได้ทันทีระหว่าง Google Sheets, Google Docs, และ Google Slides เพียงคลิ้กปุ่ม “UPDATE” ใน Google Sheets ก็สามารถเชื่อมให้ข้อมูลบน Google Docs และ Google Slides อัพเดทตรงกันได้ทันที หากคุณสนใจศึกษาเรื่องการซิงก์ข้อมูล ของ Google Sheets ลองศึกษาได้ที่ New ways to keep data flowing between your apps and ours (https://blog.google/products/docs/newapis/) นอกจากนี้ยังมี Tips & Tricks เกี่ยวกับ Google Sheets มาช่วยให้งาน Data Visualization ง่ายดายยิ่งขึ้น มาลองดูนะคะว่ามีอะไรบ้าง Keyboard shortcuts: คีย์ลัดหรือชอร์ตคัทไม่ได้มีเฉพาะกับการทำงานบน browser เท่านั้น เพราะยังมีบน Android กับ iPhone & iPad อีกด้วย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Keyboard shortcuts for Google Sheets (https://support.google.com/docs/answer/181110?hl=en&co=GENIE.Platform%3DDesktop&oco=1) Upgraded printing experience: หน้าตา Print Interface ของ Google Sheets ในวันนี้มีการปรับโฉมแล้วนะคะ เพราะเมื่อเราสั่งพิมพ์งานใน Google Sheets จะเห็นหน้าตาสั่งพิมพ์รูปแบบใหม่ ที่สามารตั้งกั้นหน้า กั้นหลัง จัดหน้าสั่งพิมพ์ได้ตรงใจก่อนที่จะพิมพ์จริง ลองสั่งพิมพ์ดูไหมคะ Powerful new chart editing experience: สามารถปรับหน้าตาชาร์ทได้หลากหลาย และดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ให้เป็น ชาร์ทแบบ 3 มิติ ก็ได้ แถมยังสามารถทำได้บน iPhone & iPad อีกด้วย ลองโหลดมาใช้งานดีไหมคะ (https://itunes.apple.com/us/app/google-sheets/id842849113?mt=8) Netway คือ Partner อย่างเป็นทางการของ Google ที่จะช่วยให้บริการ Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) และผลิตภัณฑ์ต่างๆในเครือ Google ที่ตอบโจทย์ Lifestyle คนยุคใหม่ได้อย่างแท้จริง_____________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft Office , Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite) เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Netway Communication #Google Workspace (หรือชื่อเดิม G Suite)หากคุณต้องการลงลึกเรื่องฟีเจอร์ Explore ศึกษาได้ที่ Explore in Docs, Sheets and Slides makes work a breeze — and makes you look good, too (https://www.blog.google/products/docs/explore-docs-sheets-and-slides/)