วิธีการ upload file ผ่าน Macromedia Dreamweaver 8 Macromedia Dreamweaver 8 1. ทำการเปิดโปรแกรม Macromedia Dreamweaver 2. คลิกที่ Site => Manage Sites… 3. จะได้ Dialog Box : Manage Sites ขึ้นมาดังรูป 4. คลิกที่ New =>Site 5. หลังจากคลิกแล้วจะได้ Dialog Box ตามด้านล่าง 6. ทำการคลิกที่แท็บ Advanced => Remote Info แล้วกรอกรายละเอียดตามนี้ Access : เลือกเป็น FTP FTP host : กรอกรายละเอียดเป็น ftp.yourdomainname.com Host directory : กรอกรายละเอียดเป็น public_html/ Login : กรอกรายละเอียดชื่อ Username ของท่าน Password : กรอก Password ของ user ของท่าน ทำการ check box ตรง use passive FTP แล้วคลิก OK 7. โปรแกรมจะกลับมาที่ Dialog Box : Manage Sites ซึ่งตอนนี้จะแสดงรายชื่อ connection ที่ทำการสร้างให้ทำการเลือกและคลิกที่ Done 8. ตัวโปรแกรมจะทำการสร้าง connection ให้ ดังรูป 9. ทำการคลิกที่ เพื่อทำการขยายหน้าต่าง site file ซึ่งจะได้หน้าต่างโปรแกรมเป็น โดยทางฝั่งซ้ายจะเป็น Remote Site (ฝั่งเซิร์ฟเวอร์) ทางฝั่งขวาเป็น Local Site (เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน) 10. ทำการ connect กับเซิร์ฟเวอร์โดยคลิกที่ เพื่อทำการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ 11. ทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการ upload ขึ้นเซิร์ฟเวอร์ทางฝั่ง Local Site จากนั้นคลิกที่ โปรแกรมก็จะทำการ upload ข้อมูลให้จนเสร็จ 12. เมื่อเสร็จสิ้นการ Upload ก็ให้ทำการคลิกที่ เพื่อทำการ disconnect ออกจากเซิร์ฟเวอร์
โปรแกรม FileZilla จัดเป็นโปรแกรม FTP ที่มีคนนิยมใช้งานกันมากโปรแกรมหนึ่ง ที่สำคัญคือยังเป็นโปรแกรมฟรี ให้ดาวน์โหลดกันอยู่ ซึ่งสามารถทำการดาวน์โหลดได้ ที่นี่ ซึ่งมีให้เลือก Platform ทั้ง Windows และ Linux หรือแม้แต่ Mac OS X วิธีการใช้งาน FileZilla 1. ทำการเปิดโปรแกรม FileZilla ขึ้นมา 2. ทำการกรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงไป Host : ให้กรอกรายละเอียดชื่อโดเมนเนมของคุณลงไป เช่น โดเมนชื่อ yourdomainname.com หรือ จะทำการกรอกหมายเลขไอพีของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานอยู่ก็ได้ Username : ให้กรอก Username ที่ใช้ทำการ Login cPanel หรือ FTP Account ที่สร้างขึ้นจาก admin ที่ดูแล cPanel ของท่าน (ซึ่งกรณีที่เป็น FTP Account ที่สร้างขึ้นจาก admin ที่ดูแล cPanel ต้องกรอกเป็น user@yourdomainname.com ลงไป) Password : ให้ทำการกรอกรหัสผ่านของ username ลงไป Port : ไม่ต้องกรอก (Default จะเป็น 21) 3. ทำการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยการคลิกที่ Quickconnect โปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อให้ โดยจะเห็นว่า โปรแกรมจะแสดงผลว่า Directory listing of "/" successful และทางขวาของโปรแกรมก็จะแสดงรายละเอียดของ ข้อมูลฝั่งเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมา 4. จากนั้น ทางฝั่งซ้ายของโปรแกรม ที่จะแสดงรายละเอียดในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน ก็ให้ท่าน ทำการเลือกไปยังโฟลเดอร์ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของท่านอยู่ 5. จากนั้น ทางฝั่งขวาของโปรแกรมที่จะแสดงรายละเอียดฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ให้ท่านทำการเลือกไปที่โฟลเดอร์ public_html 6. จากนั้นก็ทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการจะอัพโหลดในฝั่งซ้ายที่เป็นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน แล้วลากไปยังฝั่งซ้าย วางไว้ในโฟลเดอร์ public_html หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ แต่ต้องอยู่ภายใต้โฟลเดอร์ public_html โปรแกรมก็จะเริ่มทำการอัพโหลดข้อมูลให้ตามภาพ 7. เมื่อโปรแกรมทำการอัพโหลดข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ก็จะแสดงข้อความ รับส่งไฟล์สำเร็จและจะไม่มีไฟล์ค้างอยู่ในคิวไฟล์ จากนั้น ท่านก็สามารถที่จะทดสอบเรียกดูหน้าเว็บไซต์ของท่านผ่านบราวเซอร์ว่าแสดงผลตามที่ได้อัพโหลดข้อมูลไปถูกต้องหรือไม่
วิธีการใช้งาน FTP บน Windows Server โปรแกรม FileZilla จัดเป็นโปรแกรม FTP ที่มีคนนิยมใช้งานกันมากโปรแกรมหนึ่ง ที่สำคัญคือยังเป็นโปรแกรมฟรี ให้ดาวน์โหลดกันอยู่ ซึ่งสามารถทำการดาวน์โหลดได้ ที่นี่ ซึ่งมีให้เลือก Platform ทั้ง Windows และ Linux หรือแม้แต่ Mac OS X วิธีการใช้งาน FileZilla 1. ทำการเปิดโปรแกรม FileZilla ขึ้นมา 2. ทำการกรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงไป Host : ให้กรอกรายละเอียดชื่อโดเมนเนมของคุณลงไป เช่น โดเมนชื่อ yourdomainname.com หรือ จะทำการกรอกหมายเลขไอพีของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานอยู่ก็ได้ Username : ให้กรอก Username ที่ใช้ทำการ Login cPanel หรือ FTP Account ที่สร้างขึ้นจาก admin ที่ดูแล cPanel ของท่าน (ซึ่งกรณีที่เป็น FTP Account ที่สร้างขึ้นจาก admin ที่ดูแล cPanel ต้องกรอกเป็น user@yourdomainname.com ลงไป) Password : ให้ทำการกรอกรหัสผ่านของ username ลงไป Port : ไม่ต้องกรอก (Default จะเป็น 21) 3. ทำการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยการคลิกที่ Quickconnect โปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อให้ โดยจะเห็นว่า โปรแกรมจะแสดงผลว่า Directory listing of "/" successful และทางขวาของโปรแกรมก็จะแสดงรายละเอียดของ ข้อมูลฝั่งเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมา 4. จากนั้น ทางฝั่งซ้ายของโปรแกรม ที่จะแสดงรายละเอียดในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน ก็ให้ท่าน ทำการเลือกไปยังโฟลเดอร์ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของท่านอยู่ 5. จากนั้น ทางฝั่งขวาของโปรแกรมที่จะแสดงรายละเอียดฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ให้ท่านทำการเลือกไปที่โฟลเดอร์ httpdocs 6. จากนั้นก็ทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการจะอัพโหลดในฝั่งซ้ายที่เป็นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน แล้วลากไปยังฝั่งซ้าย วางไว้ในโฟลเดอร์httpdocs หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ แต่ต้องอยู่ภายใต้โฟลเดอร์ httpdocs โปรแกรมก็จะเริ่มทำการอัพโหลดข้อมูลให้ตามภาพ 7. เมื่อโปรแกรมทำการอัพโหลดข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ก็จะแสดงข้อความ รับส่งไฟล์สำเร็จและจะไม่มีไฟล์ค้างอยู่ในคิวไฟล์ จากนั้น ท่านก็สามารถที่จะทดสอบเรียกดูหน้าเว็บไซต์ของท่านผ่านบราวเซอร์ว่าแสดงผลตามที่ได้อัพโหลดข้อมูลไปถูกต้องหรือไม่ โดยปกติไฟล์ต่างๆ จะถูกจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ httpdocs (โปรดระวังโฟลเดอร์ที่ ไม่ใช่ httpdocs)
วิธี Download , Transfer Account ทั้ง Website มาที่เครื่อง Server โดยใช้คำสั่ง wget Download Web Content โดยมี option FTP login ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ โอน ถ่าย ย้าย ข้อมูลจาก Server ทีนึง ไปสู่ Server อีกที่นึง หรือย้ายข้อมูลของลูกค้าจาก Server เก่าของลูกค้า มาใช้บริการโดยนำข้อมูลมาไว้ที่ Server ของเรา ซึ่งจะเป็นการ Download Website ทั้ง Website โดย Download จาก Server to Server วิธีแก้ปัญหาทีม TSส่งให้ lv2 ครับ วิธีแก้ปัญหาทีม SYSNOC หรือ ITSสิ่งที่จำเป็นจะต้องมี 1. Shell log in command prompt (Server ปลายทางที่ต้องการ Download content ต่างๆมาเก็บไว้) โปรแกรม wget 2. Ftp login ID , Password Domain name , IP Address ของ Server ต้นทางที่เก็บข้อมูลต้นฉบับ รูปแบบคำสั่งการใช้งาน wget -nv -mc --preserve-permissions --passive-ftp --ftp-user 'ยูสเซอร์ล๊อกอินเอฟทีพี' --ftp-password 'รหัสผ่านเอฟทีพี ' ftp://โดเมนดอทคอม ตัวอย่างคำสั่งการใช้งานจริง wget -nv -mc --preserve-permissions --passive-ftp --ftp-user 'searchen' --ftp-password 'P5nN8QkG' ftp://www.searchentertainment.net ในกรณีที่ Password นั้นมี singleqoute หรือ ' เช่น P5n'N8QkG ก็ให้ใส่เครื่องหมาย \ หน้าเครื่องหมาย singlegoute นั้น ตัวอย่างเช่น 'P5n\'N8QkG' wget -nv -mc --preserve-permissions --passive-ftp --ftp-user 'searchen' --ftp-password 'P5n\'N8QkG' ftp://www.searchentertainment.net สำหรับ Directory ที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นชื่อ Directory ประกอบด้วยอัขระพิเศษ ต้องระบุ Option เพิ่มดังต่อไปนี้ สำหรับระบบ Linux Unix หากใส่ option เพิ่มเข้าไปจะสามารถทำให้ Download Directory ที่เป็นภาษาไทยได้ "--restrict-file-names=unix,nocontrol" หากไม่ใส่ option นี้ Directory ที่ Download มาจะชื่อ Directory จะเป็นภาษาที่ไม่สามารถอ่านได้ สำหรับระบบ Windows จะใช้ option "--restrict-file-names=windows,nocontrol" (ยังไม่ได้ทดสอบครับ) รูปแบบการใช้งานจะเป็นดังนี้ wget -nv -mc --preserve-permissions --passive-ftp --restrict-file-names=unix,nocontrol --ftp-user 'ยูสเซอร์ล๊อกอินเอฟทีพี' --ftp-password 'รหัสผ่านเอฟทีพี ' ftp://โดเมนดอทคอม/พาท/เก็บ/ไดเรคทอรี่ภาษาไทย ตัวอย่างการใช้งานจริง wget -nv -mc --preserve-permissions --passive-ftp --restrict-file-names=unix,nocontrol --ftp-user 'solution' --ftp-password 'webrv2222' ftp://itvarieties.com/public_html/T ได้ผลออกมาตามนี้ครับ natee@natee:~/tmp/testWget$ ls itvarieties.com/public_html/ T natee@natee:~/tmp/testWget$ ls itvarieties.com/public_html/T/ ไดเรคทอรี่/ natee@natee:~/tmp/testWget$ ls itvarieties.com/public_html/T/ไดเรคทอรี่/ @domo#%!
วิธีแก้ปัญหาทีม TS วิธีแก้ปัญหาทีม SYSNOC หรือ ITS