ติดตั้ง Citrix XEN Server สิ่งที่จะต้องเตรียม 1. Burn Citrix Xen ISO file ลงแผ่น CD ซึ่งสามารถ Download ได้จาก http://www.citrix.com/xenserver/download หรือสามารถ Download ได้โดยตรงจากลิงค์ต่อไปนี้ http://downloadns.citrix.com.edgesuite.net/5667/XenServer-5.6.100-SP2-install-cd.iso 2. จัดเตรียม Infomation ต่างๆที่ใช้ในการติดตั้ง citrix Xen เช่นHostname =IP Address =Subnet Mask =Network Gateway =DNS =NTP Address = 3.XenCenter management console (PC หรือ Notebook ติดตั้ง Microsoft Windows XP ขึ้นไป) XenServer Installationเริ่มการติดตั้งโดยใส่ CD Citrix Xen ลงใน CD-DVD Drive บนเครื่อง Server ที่ต้องการติดตั้ง จากนั้นเปิดเครื่องเพื่อเข้าสู่ Wizard ในการติดตั้งข้อควรระวัง!!! การติดตั้ง XenServer จะ Overwrite data ทั้งหมดบน harddisk ที่ต้องการติดตั้ง ควรจะ backup data ที่จำเป็นทั้งหมดก่อนทำการติดตั้ง Citrix Xen XenServer1.เมื่อบูตเข้า wizard สำหรับติดตั้ง Citrix Xen ให้เลือก keyboard layout ค่าปกติทั่วไปคือ [qwety] us จากนั้นเลือก OK และกดปุ่ม enter 2.จะปรากฎหน้าจอ Welcome to XenServer Setup ให้เลือก OK และกดปุ่ม enter 3.สำหรับหน้าจอ License Agreement ให้เลือก "Accept EULA" และกดปุ่ม enter เพื่อดำเนินการติดตั้งต่อไป 4.คำเตือนเกี่ยวกับการ Installation เท่านั้นซึ่งไม่สามารถ Upgrade จากเวอร์ชั่นเดิมได้ ให้เลือก OK และกดปุ่ม enter 5. ในกรณีที่มี harddisk หลายลูกให้เลือกตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวหลักที่ใช้ในการติดตั้ง ( ทำเครื่องหมาย * เป็นการเลือก โดยกดปุ่ม spacebar) เลือก OK และกดปุ่ม enter 6. เลือก Media ที่ใช้ในการติดตั้ง Citrix Xen ในที่นี้เราติดตั้งผ่าน Drive CD ก็ให้เลือกไปที่ "Local media" จากนั้น เลือก OK และกดปุ่ม enter 7. หน้าจอนี้จะขึ้นมาถามว่าต้องการติดตั้งแพคเกจส่วนเสริมต่างๆหรือไม่ ให้เลือก "No" 8. การตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ของ Media ที่ใช้ในการติดตั้ง หากไม่ต้องการทดสอบก็สามารถเลือก "Skip verification" 9. ตั้ง root password ซึ่งจะใช้ในการ login ssh และ การติดต่อผ่าน XenCenter 10. ในกรณีที่มี Network interface มากกว่า 1 card ระบบจะถามความต้องการในการใช้ interface ใดในการ management. 11. สำหรับ Server Production ให้กำหนด IP Address , Subnetmask , Gateway เท่านั้นในกรณีที่เป็นเครื่องสำหรับ test สามารถเลือกเป็น DHCP แทนได้ 12. สำหรับ Server Production ให้กำหนดค่า Hostname โดยเลือก "Manually specify"ในส่วนของ DNS ให้เลือกเป็น "Manually specify" และกำหนดค่า DNS Server IP 13. กำหนด Time Zone โดยเลือกที่ Asia 14. กำหนด Time Zone โดยเลือก Bangkok 15. กำหนดให้ใช้ Nerwork time โดยเลือก NTP 16. กำหนด NTP Address เช่น 0.xenserver.pool.ntp.org หรือ NTP Server ใดๆก็ได้ที่เราต้องการไป Update เวลา 17. ยืนยันการติดตั้งโดยเลือก "Install XenServer" จากนั้นกดปุ่ม Enter ใช้เวลาสักระยะสำหรับขั้นตอนนี้ 18. แสดงขั้นตอนการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ เลือก Ok เพื่อทำการ reboot ระบบ
Manage XenServer 1. เปิดโปรแกรม Citric XenCenter Console management ขึ้นมา 2. เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาในครั้งแรก โปรแกรมจะถามเกี่ยวกับการ Updates Versions ให้เลือก No ไป 3. คลิ๊กเลือก ADD a Server ( icons ที่ 2) เพื่อทำการเชื่อมต่อเข้ากับ XenServer 4. ในช่อง Server ให้ใส่หมายเลข IP Address หรือ Hostname ของ XenServer ในช่อง User name ให้ใส่ user ที่มีสิทธิ์ในการจัดการระบบ ในที่นี้ คือ root จากนั้นจึงใส่ Password ลงไป 5. เลือกติ๊กเครื่องหมายถูกลงในช่องเพื่อ save connection นี้ไว้ใช้ทุกๆครั้งที่เปิดโปรแกรม จากนั้นคลิ๊ก OK 6. ปรากฎหน้าจอ License Manager แจ้งให้ทราบถึงอายุการใช้งานของ XenServer โดยจะมีอายุการใช้งาน 30 วันหลังจากติดตั้ง ในรูปจะแสดงวันที่เหลือสามารถใช้งานได้อีก 28 วัน เราสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับ Licence key file เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานออกไป 1 ปี และเมื่อครบ 1ปี เราจะต้องลงทะเบียนเพื่อ ขอรับ Licence key file ใหม่อีกครั้ง 7. ขั้นตอนการลงทะเบียนขอ Licence key file โดยไปที่เมนูบาร์ คลิ๊กที่ tools > License Manager 8. จะปรากฎหน้าจอ License Manager แจ้งให้ทราบถึงอายุการใช้งานของ XenServer อีกครั้ง คลิ๊กเลือก ServerName ที่ต้องการติดตั้ง Licence key file จาก list ในที่นี้ก็คือ vpsserver2.siaminterhost.com จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม dropdown list "Activate Free XenServer" และเลือก "Request Activation key..." จากนั้น Web browser จะถูกเปิดขึ้นมาและไปที่ลิงค์สำหรับลงทะเบียนเพื่อลงทะเบียนขอรับ Licence key file โดยอัตโนมัติ 9. กรอกข้อมูลที่จำเป็นลงในฟอร์มการลงทะเบียนเพื่อลงทะเบียนขอรับ Licence key file จากนั้นกด submit form ลงทะเบียน จะมี email ส่ง Licence key file จาก Citrix Xen มายัง email ที่เราได้ใช้ลงทะเบียนไว้ 10. หลังจาก submit form ลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมาที่หน้า webpage Thank you for activating your free Citrix XenServer ระหว่างนี้ให้ check email ที่ใช้ลงทะเบียนขอ Licence key file จะมี email แนบไฟล์มาจาก Citrix Xen ให้ Download File ดังกล่าวนี้มาเก็บไว้ที่เครื่องก่อน 11. กลับมายังหน้าจอ License Manager อีกครั้ง คลิ๊กเลือก ServerName ที่ต้องการติดตั้ง Licence key file จาก list ในที่นี้ก็คือ vpsserver2.siaminterhost.com จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม dropdown list "Activate Free XenServer" และเลือก "Apply Activation key..." 12. โปรแกรมจะให้เราติดตั้ง License key file โดยเลือก Browse ไปยัง Path ที่เราได้ download License key file จาก email ที่ส่งจาก Citrix Xen จากนั้นคลิ๊กเลือกไฟล์ ในที่นี้คือ licenseVPS2 และคลิ๊กปุ่ม Open 13. โปรแกรมจะให้เราติดตั้ง License key file หลังจากนั้นจะกลับมาที่ License Manager อีกครั้ง และแสดงวันหมดอายุในอีก 1ปี ของ License ของ XenServer เท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนการติดตั้ง License key file แล้วครับ
คำสั่งสร้าง repository สำหรับเก็บ GuestOS , DomU , VPS nodes ในที่นี้เราได้ใช้ harddisk จำนวน 1 ลูกติดตั้ง XenServer และอีก 5 ลูกทำ Software RAID 10 (พื้นที่ทั้งหมดจะถูกทำ LVM System เพื่อรองรับการปรับเพิ่ม-ลดพื้นที่ของ repository ตามความเหมาะสมในการใช้งานในอนาคต) และเพื่อใช้เป็น repository เก็บ GuestOS , DomU , VPS nodes ลำดับขั้นตอนในการสร้าง repository จะขออธิบายเป็นขั้นตอนคร่าวๆ โดยไม่ลงรายละเอียดทางด้านเทคนิคดังต่อไปนี้ 1. แบ่ง partitions ของ harddisk แต่ละลูกและเปลี่ยนชนิดของ file system ให้เป็น "Linux raid autodetect" 2. สร้าง software RAID array เช่น /dev/md0 , /dev/md1 3. สร้าง LVM file systems 3.1 physical Volume 3.2 Volume Group 3.3 Logical Volume เมื่อจัดการเตรียม software RAID , LVM เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็มาเริ่มการสร้าง repository ของ XenServer ก่อนอื่นจำเป็นจะต้องทราบ host-uuid โดยใช้คำสั่งค้นหา # xe host-list uuid ( RO) : a690a66c-36f7-4c92-b41b-0b2f6125d296 <<< host-uuid ที่ต้องการทราบ name-label ( RW): xenserver-3 name-description ( RW): Default install of XenServer คำสั่งในการสร้าง repository บน XenServer # xe sr-create host-uuid="uuid ที่ค้นหาได้จากคำสั่ง xe host-list" content-type="user" name-label="ชื่อของ repository" shared=true device-config:device="path ของ partition หรือ LVM" type="ชนิดของ file system เช่น ext3 , lvm" เช่น # xe sr-create host-uuid=a690a66c-36f7-4c92-b41b-0b2f6125d296 content-type="user" name-label="LocalSR1" shared=true device-config:device=/dev/st0rage/local_VM_1 type=lvm คำสั่งที่ใช้ตั้งค่า SR ให้เป็นตัว Default # xe pool-param-set default-SR= “ค่า uuid ที่ได้จาก xe sr-list” uuid="uuid ที่ค้นหาได้จากคำสั่ง xe host-list" เช่น # xe pool-param-set default-SR=b1678a45-1ae2-d9b9-5606-80aa17f25c49 uuid=a690a66c-36f7-4c92-b41b-0b2f6125d296
คำสั่งในการดูรายละเอียดเช่น uuid ของ storage แต่ละตัว # xe pbd-list uuid ( RO) : 21650cce-379f-8e47-f0e3-4174cdf5f5a6 <<< uuid ที่ต้องการค้นห้า host-uuid ( RO): a690a66c-36f7-4a92-b41b-0b2f6125d296 sr-uuid ( RO): 834b38ce-2ae0-f1b4-65a0-ab4d3d13e5c6 <<< sr-uuid ที่ต้องการทราบ อาจจะใช้คำสั่ง xe sr-list ได้เช่นกัน device-config (MRO): location: /opt/xensource/packages/iso/; legacy_mode: true currently-attached ( RO): true คำสั่งในการหยุดการทำงานและลบ device or respository ออกจากระบบ # xe pbd-unplug uuid="uuid ที่หาได้จากคำสั่ง xe pbd-list" เช่น # xe pbd-unplug uuid=21650cce-379f-8e47-f0e3-4174cdf5f5a6 # xe pbd-destroy uuid=21650cce-379f-8e47-f0e3-4174cdf5f5a6 # xe sr-forget uuid=834b38ce-2ae0-f1b4-65a0-ab4d3d13e5c6 การสร้างพื้นที่เก็บไฟล์ ISO , Template OS บนเครื่อง XenServer คลิ๊ก คำสั่งสร้าง repository สำหรับเก็บ GuestOS , DomU , VPS nodes
การสร้างพื้นที่เก็บไฟล์ ISO , Template OS บนเครื่อง XenServer หลังจากลง XenServer ไฟล์ ISO เช่น xs-tool XenCenter จะถูกเก็บอยู่ที่ /opt/xensource/packages/iso ซึ่งจะใช้พื้นที่ของ "/" ซึ่งมีขนาดจำกัดโดยรวมแค่ 4GB หากเราต้องการเก็บไฟล์ ISO อื่นๆเพิ่มเติมเช่น CentOS , Ubuntu , Windows พื้นที่ที่มีอาจจะไม่เพียงพอ หลังจากที่เราลง XenServer เสร็จแล้วเราอาจจะใช้ partitions อื่นๆที่เหลือและมีพื้นที่มากพอ เช่น sda2 , sda3 หรืออาจจะเป็น harddisk ตัวอื่นๆมาใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีนี้ เราจะใช้ partitions sda3 เป็นพื้นที่เก็บไฟล์ ISO แทน (ค่า default จะเป็น reposittory ที่ใช้เก็บ guestOS , VPS nodes , DomU) 1.format sda3 เป็น ext3 ก่อนใช้งาน หากเป็น hardisk ตัวอื่นๆให้แบ่ง partition ให้เรียบร้อยก่อน # mkfs.ext3 /dev/sda3 2. สร้างไดเรคทอรี่สำหรับเก็บไฟล์ ISO ในกรณีที่ยังไม่มี # mkdir -p /opt/xensource/packages/iso 3. สร้าง repository สำหรับเก็บไฟล์ ISO บน XenServer # xe sr-create name-label="ISO-Repository" type=iso device-config:location=/opt/xensource/packages/iso/ device-config:legacy_mode=true content-type=iso mount /dev/sda3 /opt/xensource/packages/iso/ 4. mount point partition sda3 เข้ากับไดเรคทอรี่ # mount /dev/sda3 /opt/xensource/packages/iso 5. สั่ง scan เพื่อให้ XenSever update ISO ไฟล์ที่อยู่ใน repository # xe sr-scan uuid=d33e98ca-1864-95a9-0d38-636b5a8fb412 6.ให้ mount อัตโนมัติทุกครั้งที่บูตโดยแก้ไขที่ file /etc/fstab โดยเพิ่มบรรทัดนี้เข้าไป /dev/sda3 /opt/xensource/packages/iso ext3 noauto 0 0 คำสั่งในการดูรายละเอียด uuid ของ storage ,ลบ pbd , sr บน XenServer คลิ๊ก คำสั่งสร้าง repository สำหรับเก็บ GuestOS , DomU , VPS nodes