อธิบายขึ้นตอนการติดตั้ง Owncloud บน CentOS 6 ติดตั้ง owncloud บน centos 1. ทำการติดตั้ง CentOS โดยใช้ template CentOS 6.2 LAMP x64 2. เมื่อทำการติดตั้ง CentOS เสร็จแล้วให้ทำการ update repository เพื่อทำการอัพเดท php ให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ wget http://download.fedoraproject.org/pub/epel/6/x86_64/epel-release-6-8.noarch.rpm rpm -ivh epel-release-6-8.noarch.rpm wget http://rpms.famillecollet.com/enterprise/remi-release-6.rpm rpm -Uvh remi-release-6*.rpm yum update yum --enablerepo=remi upgrade php-mysql php-devel php-gd php-pecl-memcache php-pspell php-snmp php-xmlrpc php-xml 3. ทำการติดตั้ง phpMyAdmin yum install phpMyAdmin แล้วทำการตั้ง root Password Mysql http://192.168.1.1/trac/hosting/wiki/HowTo/ResetMysqlPassword จากนั้นให้ทำ symlink เพื่อให้สามารถเรียกได้ cd /var/www/html/ ln -s /usr/share/phpMyAdmin 4. แก้ไข apache config ทำการเพิ่มค่า ตามด้านล่างใน /etc/httpd/conf/httpd.conf nano -w /etc/httpd/conf/httpd.conf order deny,allow deny from all allow from 203.78.98.10 203.78.96.6 และเปลี่ยนค่า AllowOverride None เป็น AllowOverride All ในส่วนของ เพื่อทำให้สามารถเรียกใช้ .htaccess ได้ /etc/rc.d/init.d/httpd restart 5. ทำการ create database โดยให้ login ไปที่ phpmyadmin แล้วทำการสร้าง database และ user สำหรับ owncloud 6. จากนั้นให้ทำการ download ตัว install owncloud stable version มาติดตั้ง โดยเข้าไปดูได้ที่ http://doc.owncloud.org/server/5.0/admin_manual/installation.html wget https://download.owncloud.org/community/owncloud-7.0.2.tar.bz2 แล้วทำการ แตกไฟล์ tar -jxf owncloud-7.0.2.tar.bz2 chown -R apache:apache owncloud แล้วให้เรียกหน้าเว็บทำการติดตั้ง owncloud โดยระบุรายละเอียด user database password รวมทั้งกำหนด admin password
ขั้นตอนการ Reset Password ดังนี้ 1.ให้ทำการ reboot ในกรณีที่เครื่องมีการใช้งานอยู่ 2.เข้า Kernel mode 3.เมื่อเข้าสู่ Kernel mode ตามรูปแล้วนั้นให้กด a 4.เพิ่ม single ต่อท้ายสุด แล้วกด Enter 5.จะปรากฎตามรูปภาพด้านล่าง แล้วสามารถทำการเปลื่ยน Password Root ได้เลยครับ # passwd root
อธิบายขั้นตอนการบริหารจัดการ VM ด้วยตนเองผ่าน Client Area เช่น Reboot, Start, Shutdown และ Management Console เป็นต้น มีขั้นตอนวิธีการดังนี้ หลังจาก Login เข้า Client Area จะเจอ Service ที่ใช้บริการทั้งหมด เข้าที่ VPS (หรือ VMware) และคลิ๊ก Manage Server จะเจอหน้า Server Management ที่หน้านี้ลูกค้าจะพบรายละเอียด Server และส่วนของการบริหารจัดการ VPS โดยลูกค้าสามารถเข้า Console, Reboot, Shutdown และ Cancel VPS ได้ด้วยตนเอง การจัดการผ่าน Console จำเป็นต้องติดตั้ง Java เพื่อให้สามารถใช้งานได้ โดยวิธีการสามารถดำเนินการได้ตาม Link *** ส่วน Management ของ VMware จะแตกต่างกันบ้าง คือไม่มีเมนู Console มาให้ แต่ใน Function หลักๆ ยังคงสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกันกับ VPS
VPS, VMware และ Dedicated Server คืออะไรและต่างกันอย่างไร VPS คือชื่อบริการซึ่งเป็นบริการเซิร์ฟเวอร์เสมือน เป็นการแบ่ง Physical Server 1 เครื่องออกเป็น VM (Virtual Machin) ย่อยหลายๆ เครื่อง เพื่อให้สามารถแยกการประมวลผลออกจากกัน ใช้ Software ที่สามารถจัดการ VM ผ่าน Web UI สนับสนุนเทคโนโลยี Virtualization เช่น OpenVZ, Xen PV, Xen HVM, XenServer, Linux KVM, LXC และ OpenVZ7 เป็นบริการที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการความอิสระในการปรับแต่งการทำงานระดับ Root หรือ Services ต่างๆ เสมือนใช้เซิร์ฟเวอร์ตัวเอง เป็นบริการที่ราคาถูกที่สุดหากเปรียบเทียบกับบริการอื่น แยกออกเป็น 2 บริการคือ Linux VPS และ Windows VPS VMware VPS คือหนึ่งในบริการของ Cloud VPS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับทำระบบ Server Virtualization เป็นส่วนหนึ่งใน Software Defined Data Center เป็นโปรแกรมสำหรับควบคุมและสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) มี 2 องค์ประกอบหลักคือ ESXi และ vCenter Server เป็นโปรแกรมจำลองคอมพิวเตอร์เสมือนเช่นเดียวกับ VPS แต่ความสามารถสูงกว่า รองรับการทำ High Availability, Failover และ Load Balancing เป็นต้น ระบบ Cloud ของ VMware มีต้นทุนของระบบที่สูงกว่าแบบอื่นๆ รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า จึงทำให้การทำงานของเซิร์ฟเวอร์เสมือนของผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีความปลอดภัยของข้อมูลมากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 บริการเช่นเดียวกับ VPS คือ Linux VMware และ Windows VMware Dedicated Server คือ Physical Server ที่รองรับการให้บริการบนระบบเครือข่าย เป็นรูปแบบบริการสำหรับเช่าใช้ Server โดยสามารถใช้งาน Resource ทั้งหมดของเครื่องและไม่ Shared Resource กับเครื่องอื่น สามารถปรับแต่ง Resource ได้เองโดยอิสระ มีความยืดหยุ่นมากกว่าบริการอื่น สามารถบริหารจัดการ Resource ของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง CPU, Memory, Disk รวมถึง Network เป็นบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มักใช้สำหรับเว็บไซต์ที่มี Traffic สูงๆ มีปริมาณการเข้าใช้งานพร้อมกันจำนวนมากๆ ต้องการระบบการจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ และต้องการความเป็นส่วนตัวสำหรับการเข้าถึงข้อมูล เปรียบเทียบ VPS, VMware และ Dedicated Server VPS VMware Dedicated Server HA ไม่มี HA มี HA ไม่มี HA Migration มี Downtime ไม่มี Downtime มี Downtime Upgrade/Downgrade Resource Upgrade/Downgrade Resource มี Downtime สามารถทำ Hot Add CPU, RAM, Disk โดยไม่มี Downtime *** Upgrade/Downgrade Resource มี Downtime การรองรับ Windows Server รองรับ Windows Server รองรับ Windows Server รองรับ Windows Server Resource ขึ้นอยู่กับความต้องการ ขึ้นอยู่กับความต้องการ ได้ Resource ทั้งหมดของเครื่อง การจัดการ จัดการง่าย จัดการง่าย จัดการยาก Web Portal มี Web Portal สำหรับบริหารจัดการ มี Web Portal สำหรับบริหารจัดการ ไม่มี ความเสถียร น้อย สูง น้อย Template มี Template มี Template ไม่มี Template ราคา ราคาถูก ราคาขึ้นอยู่กับความต้องการ ราคาแพง ---------------------------------------------------------------------------------- Netway มีข้อเสนอและโปรโมชั่นสำหรับบริการ Cloud ที่น่าสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://netway.co.th/cloudหากคุณสนใจสามารถติดต่อเราได้ตลอด 24 ช.ม.โทร 02-055-1095Live Chat ผ่าน https://netway.co.thอีเมล support@netway.co.thFacebook: www.facebook.com/netway.group
เราสามารถใช้งาน Private IP โดยสามารถจัดการระบบได้เองโดยการใช้งาน VPS กับทาง Netway.cloud โดยทางลูกค้าที่ใช้บริการสามารถใช้งาน VPS Config VPN ได้โดยการเปิด VPS Pfsense ซึ่งเป็น ระบบปฏิบัติการ Opensource OpenVPN OpenVPN มีความยืดหยุ่น และใช้ SSL VPN ซึ่งสนับสนุนระบบปฏิบัติการของเครื่องลูกข่ายที่หลากหลายกว่า ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ OpenVPN How to install https://doc.pfsense.org/index.php/Installing_pfSense How to config OpenVPN 1.Setup Wizard จะเป็นการกำหนดค่าเบื้องต้นให้ทำการใส่ข้อมูล เช่นการกำหนด IP DNS และการตั้งค่า Password ใหม่ 2.การกำหนดค่า Cert. Manager ขั้นต้นให้ทำการกำหนด Certificate Authorities 3.การตั้งค่า Certificates 4.การตั้งค่า VPN โดยการเลือกเมนู VPN และเลือกที่ OpenVPN ไปที่ Wizard เมื่อเข้ามาแล้วให้ทำการตั้งค่าต่างจะมีในส่วนของการกำหนดค่า OpenVPN Remote Access Server Setup ให้ทำการตั้งค่าตามรูปด้านล่างครับ 5.เมื่อกำหนดค่าเสร็จแล้วนั้นให้กำหนด User ที่ใช้งานในการ Login ให้เลือกที่ System > User Manager และกำหนด ค่าตามรูป 6.สินสุดการติดตั้ง มาถึงวิธีการใช้งาน Demo วิธีการใช่้ : 1.เป็นการ Update ตัว Client เพื่อทำการ Connection เข้ามา การติดตั้งนั้นเลือกที่ System > Package Manager > Available Packages และทำการค้นหา openvpn-client-export และทำการ Install 2.การติดตั้ง OpenVPN นั้นสามารถกำหนดค่าได้ตามรูป โดยการเลือก OpenVPN > Client Export ในการติดตั้งบน OS windows 7/8/10 ให้ทำการเลือก Current Windows Installer (2.4.4-Ix01) เมื่อทำการติดตั้งบน PC แล้วนั้นจะได้ตัวโปรแกรมที่ชื่อ OpenVPN ขึ้นมา หลังจากนั้นจะมี Icon ทางด้านล่างขวามือที่ชื่อ OpenVpn Gui ให้ทำการเลือกโดย Click ขวา จะพบกับ User ที่เราสร้างพร้อมกับ Certificate ที่สร้างไว้ ให้เลือก Connect และใส่ Password เป็นอันใช้ได้ เท่านี้ท่านก็สามารถกำหนด Connection ระบบภายในของท่านได้แล้ว