อธิบายขั้นตอนการ Migrate VM ระหว่างเครื่อง Hypervisor ผ่าน Master Server สำหรับ Virtualizor เพื่อกระจาย Resource ให้เหมาะสม หรือ Maintenance ระบบ 1. Allow IP ของละ VM ที่เครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง 2. กรณี SSH Port ไม่ใช่ 22 ให้แก้ไขเป็น Port 22 ที่ไฟล์ /etc/ssh/sshd_config 3. Login เข้า Master Server 4. ที่ Menu Virtual Servers ไปที่ Migrate VPS 5. กำหนดค่าที่จำเป็นดังนี้ From Server: เลือก Server ต้นทาง Select VPS: เลือก VM ที่ต้องการ Migrate To Server: เลือก Server ปลายทางที่ต้องการ Migrate Select Storage: เลือก Storage ปกติจะตั้งเป็น Defualt Preserve the same IP Address(s): เลือกหากต้องการใช้ IP เดิม หากต้องการใช้ IP ใหม่ให้กำหนดค่า Number of IPv4 เป็น 1 IP จะถูก DHCP ให้ VM อัตโนมัติ Delete the Source VPS: เลือกหากต้องการให้ลบ VM ต้นทางด้วยหาก Migrate เสร็จ Ignore Domain Forwarding Conflict(s): Defualt Speed Limit for transfering VPS(s) data (in Mbps): Defualt Disable Compression: หากไม่เลือก VM จะถูกบีบอัดไฟล์เป็น gzip ก่อนการ Transfer ไปที่เครื่องปลายทาง การตั้งค่านี้จะทำให้ใช้งาน Resource ของเครื่องมากขึ้น แต่จะลดเวลาในการ Transfer 6. คลิ๊ก Migrate VPS รอจนกระทั้งการดำเนินการสำเร็จ (เราสามารถออกจากหน้านี้ได้ และตรวจสอบสถานะได้ที่ Migration Task) กรณี Migration Error 1. ให้ตรวจสอบที่ Firewall ของทั้งสองเครื่องว่าสามารถเชื่อต่อกันได้หรือไม่ 2. ตรวจสอบ Timezone ว่าตรงกันทั้ง 2 เครื่องหรือไม่ 3. Storage ของเครื่องปลายทางเต็มหรือไม่
การ Install KVM Virtualizor สำหรับ Linux KVM อธิบายขัั้นตอนการติดตั้ง KVM Virtualizor (Slave Server) สำหรับ Linux KVM และการ Add Server และ Storage บน Virtualizor Master Server เพื่อรองรับการสร้าง VM System Requirements CentOS 5.x / 6.x / 7.x or Red Hat Enterprise Linux 5.x / 6.x or Scientific Linux 5.x / 6.x or Ubuntu 12.04 or Ubuntu 14.04 or Ubuntu 16.04(x86_64) yum / apt-get Storage to create the VPS (DomUs) disks Note: KVM Module ไม่ Support OS 32 bit KVM Module จำเป็นต้อง Enabled Virtualization Technology บน Bios Installation SSH เข้าไปที่เครื่องและรันคำสั่งต่อไปนี้ #wget -N http://files.virtualizor.com/install.sh#chmod 0755 install.sh#./install.sh email=your@email.com kernel=kvm #reboot รอจนกระทั่งการดำเนินการเสร็จสิ้น จะได้ Key สำหรับ Server API Password เพื่อตั้งค่าในขั้นการถัดไป ตัวอย่าง ------------------------------------- Installation Completed ------------------------------------- Congratulations, Virtualizor has been successfully installed API KEY : ot4x13n0coz3syccmo1loq82sedlesevanhzei API Password : d9prj0helylvsde856eklschgdwgwbnkgs0 Install CSF Firewall cd /usr/srcrm -fv csf.tgzwget https://download.configserver.com/csf.tgztar -xzf csf.tgzcd csfsh install.sh Add Slave Server 1. Login Master Server 2. ไปที่ Servers และ Add Server กำหนดค่าที่จำเป็นดังนี้ Server Name: ชื่อเครื่อง IP Address: IP Address ของเครื่อง Slave Master Server API Password: API Password จากขั้นตอนการ Install KVM Module Internal IP: ถ้าไม่มีให้ว่างไว้ Lock Server: ถ้าเลือกจะสามารถ Create VM ที่เครื่องนี้ได้ Server Group: เลือก Server Group 3. คลิ๊ก Add Server Note: ต้อง Allow IP Server ของเครื่องทั้ง Master Server และ Slave Server Add Storage 1. Login Master Server 2. ไปที่ Storage และ Add Storage และกำหนดค่าที่จำเป็นดังนีี้ Name: ชื่อ Storage Server: ชื่อ Server Name จากข้อที่แล้ว Storage Path: ระบุ LVM Path เช่น /dev/VG_NAME Storage Type: LVM File Format: Default Overcommit: Default Alert Threshold: 90% Primary Storage: มีประโยชน์เมื่อเราสร้างและกำหนด User คือให้เลือกเฉพาะ Storage นี้เท่านั้น ในที่นี้ไม่ต้องเลือก 3. คลิ๊ก Add Storage ปัญหาที่อาจพบเมื่อ Add Slave บน Master Server Add Server ไม่ได้ Error VT Disabled แก้ไขโดยการ Enabled Virtualization Technology บน Bios Add Server ไม่ได้ Error “Could not make curl call to the slave server” ให้ตรวจสอบ Port 4081-4085 ว่าถูกเปิดแล้วหรือไม่ Network Interface ไม่ใช่ eth0 เช่น em1 ให้แก้ไข Interface Name เป็น eth0 มองไม่เห็น Storage ให้ตรวจสอบว่า Logical Volume ถูก Mount อยู่หรือไม่ ถ้า Mount อยู่ให้ umount และ Remove ออกโดยใช้คำสั่ง lvremove
ท่านสามารถ Reset Admin Password สำหรับ DirectAdmin ได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. Reset Admin Password สำหรับ DirectAdmin โดย Login เข้าไปที่ https://IP-ADDRESS:2222 คลิ๊ก Change Password ใส่ Password เดิม และ Password ใหม่ที่ต้องการ และ Submit 2. Reset Admin Password โดย Terminal หรือ Shell Prompt เข้าไปที่เครื่อง Server และใช้คำสั่ง passwd admin กำหนด password ที่ต้องการ Note: ตรวจสอบ Password ได้ที่ /usr/local/directadmin/scripts/setup.txt
หลังการสั่งซื้อสำเร็จ ท่านจะได้รับอีเมล์ยืนยันการเปิดบัญชีพร้อมรายละเอียดการเข้าใช้งานและ Username, Passwrod สำหรับ Login เข้า Server ให้ท่านรีบดำเนินการกำหนดค่าเพิ่มเติม ดังนี้ 1. Reset Root Password โดย Terminal หรือ Shell Prompt เข้าไปที่เครื่อง Server และใช้คำสั่ง passwd root กำหนด password ที่ต้องการ root@user:~# passwd rootEnter new UNIX password:Retype new UNIX password:passwd: password updated successfully 2. กำหนด Port สำหรับ SSH Port โดย Terminal หรือ Shell Prompt เข้าไปที่เครื่อง Server แล้ว edit file /etc/ssh/sshd_config หาบรรทัด Port (defualt 22) แก้ไขเป็น Port ที่ต้องการ Note: การกำหนด Port สำหรับ SSH ต้องตั้งค่า Port สำหรับ Firewall ด้วยเราดีใจที่คุณยังนึกถึงเรา 👧🧔 และพร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ผ่านทุกช่องทางที่คุณสะดวก 🖥 Web Chat: [[URL]] 📞 Tel: 02-055-1095 💙 Facebook Messenger: @netway.official 💚 Line ID: @netway หรือ https://bit.ly/line-netway 📧 Email: support@netway.co.th
1. รายละเอียดบริการ อธิบายถึงการยกเลิกและ Terminate บริการ Linux VPS เนื่องจากผู้ใช้บริการขอยกเลิกบริการ, ผู้ใช้บริการทำผิดเงื่อนไขการให้บริการ, ผู้ใช้บริการค้างชำระค่าบริการเกินกว่า 30 วัน เป็นต้น 2. สิทธิในการร้องขอ Email เจ้าของ Client Account ที่สมัครไว้กับ netway.co.th 3. เงื่อนไขในการยกเลิกบริการ กรณียกเลิกเนื่องจากหมดอายุสัญญา เป็นการยกเลิกบริการเนื่องจากระยะสัญญาสิ้นสุดลงและลูกค้าไม่ดำเนินการต่ออายุสัญญา โดยผู้ใช้บริการต้องแจ้งยกเลิกบริการก่อนที่บริการจะหมดอายุ 30 วัน เป็นลายลักษณ์อักษรทาง E-mail จาก Main Contact เท่านั้น กรณีผิดเงื่อนไขการให้บริการ ผู้ใช้บริการไม่ดำเนินการแก้ไขส่วนที่ผิดเงื่อนไขในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ให้บริการขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกบริการและจะคืนค่าบริการในส่วนที่เหลือทั้งหมด ยกเว้นค่าติดตั้งและค่าดำเนินการอื่นๆ 4. ขั้นตอนการร้องขอ ส่งอีเมล์ยกเลิกมาที่ support@netway.co.th แจ้งความประสงค์ว่าต้องการยกเลิกสัญญา โดยให้ระบุวันที่ที่ต้องการยกเลิกให้ชัดเจน 5. ข้อห้ามและเงื่อนไขในการยกเลิกบริการ การยกเลิกบริการต้องร้องขอบริการผ่าน Email เจ้าของ Client Account ที่สมัครกับ netway.co.th หรือได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจหรือเจ้าของ Client Account เท่านั้น การยกเลิกบริการต้องแจ้งก่อนอย่างน้อย 30 วันทำการ การขอคืนเงินจะคืนตามรอบที่ยังไม่ได้ใช้งาน ยกเว้นค่าติดตั้งและค่าบริการอื่นๆ หลังยกเลิกบริการข้อมูลจะถูกลบอัตโนมัติใน 30 วัน อ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ ที่นี่