2022: รายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Jackie Wang, Stephanie Davis, Samuele Saini/พฤศจิกายน 2565 ใน 3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นมากถึง 2 เท่า โดยคาดว่ามูลค่าสินค้ารวมจะสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2565 นี้1 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ 3 ปี และสำหรับประเทศไทย เศรษฐกิจดิจิทัล ได้เติบโตขึ้น 2 เท่า จากปี 2562 เช่นกัน โดยคาดว่าจะมีมูลค่าสินค้ารวมสูงถึง 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 และแตะ 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 15% โดยอีคอมเมิร์ซนับเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลไทย อีกทั้งอัตราการใช้งานอีคอมเมิร์ซในกลุ่มคนที่อยู่ในเขตเมืองสูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคฯ อยู่ที่ 94% รองจากสิงคโปร์ ขยายสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพเราได้รวบรวมอินไซต์ที่น่าสนใจเพื่อช่วยให้แบรนด์ขยายสู่กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มที่ใช้บริการดิจิทัลและมีศักยภาพในการเติบโตสูงสุด1. กลุ่มผู้ใช้ในเมืองที่เป็นกระแสหลัก (Metro mainstream)กลุ่มผู้บริโภครายได้ปานกลางอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปที่ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่า กลุ่มผู้ใช้เหล่านี้อาศัยในเขตชุมชนเมืองและใช้จ่ายบนพื้นฐานความต้องการของครอบครัว โดยมีบริการที่ใช้บ่อย เช่น บริการส่งอาหารออนไลน์เคล็ดลับสำหรับนักการตลาด: สิ่งจูงใจ เช่น รางวัลจากการสะสมคะแนน ส่วนลด หรือเครดิตเงินคืน จะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคที่คำนึงถึงความคุ้มค่าหันมาใช้จ่ายกับแบรนด์ของคุณ22. กลุ่มคนรุ่นใหม่เลือดดิจิทัล (Young digital natives)การช็อปปิ้งออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บนแอปมือถือ นับเป็นเรื่องปกติของผู้บริโภคกลุ่มอายุ 18 ถึง 29 ปีที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและเติบโตมาในยุคดิจิทัล ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุดในอุตสาหกรรมเกมและบริการเพลงแบบออนดีมานด์เคล็ดลับสำหรับนักการตลาด: เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ ธุรกิจต้องสนับสนุนค่านิยมที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมด้านความเท่าเทียมทางเพศ ความสนุกสนาน และสุขภาพจิตที่ดี โดยต้องทำให้ผู้คนกลุ่มนี้เป็นส่วนสำคัญของแบรนด์อีกหนึ่งวิธีที่จะเอาชนะใจผู้บริโภคดิจิทัลกลุ่มนี้ คือ การเล่นกับความรักในเสียงดนตรี ซึ่งเป็นสิ่งที่ KitKat Thailand ทำผ่านแคมเปญวันวาเลนไทน์ปี 2022 ที่ผ่านมา โดยแบรนด์ได้เปิดตัวซีรีส์โฆษณาวิดีโอ YouTube แบบธีมเพลงเพื่อโปรโมตบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยผู้บริโภคสามารถสแกนหน้าหน้าซองผ่านกล้องมือถือ เพื่อเข้าถึงเพลย์ลิสต์เพลงในวันวาเลนไทน์ โฆษณาวิดีโอดังกล่าวแสดงช่วงเวลาแห่งการแบ่งปันเพลงและ KitKat ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ส่งผลให้ผู้ชมจำโฆษณาได้เพิ่มขึ้น 13% และมีความตั้งใจซื้อเพิ่มขึ้น 5.3%33. กลุ่มผู้ใช้ที่มั่งคั่งร่ำรวย (Affluent)สิ่งที่กำหนดกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้สูงคือความเต็มใจที่จะจ่ายค่าสินค้าและบริการออนไลน์คุณภาพสูง เพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริการนั้นมีความพิเศษเฉพาะตัว4 กลุ่มผู้บริโภคนี้เป็นผู้ใช้บริการดิจิทัลรายใหญ่ที่สุดในบรรดากลุ่มเป้าหมายทั้งหมด โดยมียอดใช้จ่ายมากกว่า 2 เท่า โดยเฉพาะในด้านการขนส่งและบริการส่งอาหารออนไลน์5เคล็ดลับสำหรับนักการตลาด: การคำนึงถึงคนกลุ่มนี้หมายถึงการคิดนอกกรอบเพื่อตอบสนองความต้องการและยกระดับประสบการณ์สุดพิเศษ ตัวอย่างเช่น แบรนด์หรูอย่าง Bulgari ได้เริ่มใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อให้ผู้เลือกซื้อสามารถดูสินค้าในแบบ 3 มิติ หรือลองสินค้าแบบเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยี Augmented Reality (AR)ชูจุดเด่นด้านความยั่งยืนรายงาน e-Conomy SEA ประจำปีนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความยั่งยืนต่อผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาเร่งด่วนอันดับสองสำหรับผู้คนแถบภูมิภาคนี้ รองจากความกังวลเรื่องโรคระบาด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อภูมิภาคนี้ประสบกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ6 ผู้บริโภคจึงพยายามเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย 39% ของผู้บริโภคชาวไทยกล่าวว่าพวกเขาเต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ยั่งยืน7 เคล็ดลับสำหรับนักการตลาด: เชื่อมต่อกับผู้บริโภคและปลดล็อกการเติบโตทางธุรกิจ ผ่านการชูจุดเด่นของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะเห็นตัวอย่างได้จาด กิจการเพื่อสังคมของมาเลเซียอย่าง Fugeelah ผลิตกระเป๋ารุ่นที่มีจำนวนจำกัดและทำจากผ้ารีไซเคิล และ GCash ผู้ให้บริการ e-wallet ของฟิลิปปินส์เสนอให้ปลูกต้นไม้จริงเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปีนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลทั่วภูมิภาคมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคในช่วงเวลาอันยากลำบากที่ผ่านมา ซึ่งธุรกิจของคุณสามารถคว้าโอกาสในวันนี้ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดได้Download รายงานฉบับเต็ม (ประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาค) ที่นี่ Download รายงานฉบับเต็ม (เฉพาะประเทศไทย) ที่นี่
Microsoft เปิดตัว Microsoft Supply Chain Platform เชื่อมโยงการจัดการระบบซัพพลายเชนอย่างคล่องตัวและยั่งยืน Microsoft ได้เปิดตัว Microsoft Supply Chain Platform เพื่อองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของ Microsoft จัดการซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัวและยั่งยืน บริการที่เชื่อมโยงได้แก่ Microsoft Dynamics 365, Microsoft Azure, Microsoft Teams และ Power Platform นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับบริการการทำงานร่วมกันของ Microsoft Teams Cr. TechtalkthaiMicrosoft Supply Chain Platform ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของ Microsoft ได้แก่ Microsoft Dynamics 365, Microsoft Azure, Microsoft Teams และ Power Platform นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับบริการการทำงานร่วมกันของ Microsoft Teams องค์ประกอบหลักที่โดดเด่นของแพลตฟอร์มนี้คือ Microsoft Supply Chain Center ซึ่งเป็นคอนโซลการจัดการที่ขณะนี้อยู่ในขั้นแสดงตัวอย่าง ซึ่งสามารถใช้งานได้จริงกับข้อมูลซัพพลายเชนและแอปพลิเคชันที่มีอยู่ได้ ตามที่ Microsoft ได้กล่าวไว้ Supply Chain Center จะทำงานร่วมกับบริการการวางแผนทรัพยากรระดับองค์กร (ERP) ของ Microsoft Dynamics 365 แต่จะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการ ERP อื่นๆ ทั้ง SAP และ Oracle พร้อมด้วยระบบซัพพลายเชนแบบสแตนด์อโลน Supply Chain Center มีคุณสมบัติ Data Manager ซึ่งกล่าวกันว่าเปิดใช้งาน “data ingestion และ orchestration” ปัจจุบันสนับสนุน “native experiences” จากการเปิดตัวพันธมิตร “C.H. Robinson, FedEx, FourKites และ Overhaul” Module Support Supply Chain Center มาพร้อมกับโมดูลที่สร้างโดย Microsoft สองโมดูล แต่ยังสามารถใช้โมดูลที่สร้างโดยพันธมิตรได้อีกด้วย โดยโมดูลของ Microsoft ใน Supply Chain Center ประกอบด้วย:โมดูล Supply and Demand Insights – ซึ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อคาดการณ์ข้อจำกัดด้านอุปทาน สต็อกเกิน หรือคำสั่งซื้อที่ไม่ได้รับ โมดูลนี้มีคุณลักษณะ “Smart News Insights” ที่แสดงข้อมูลเหตุการณ์ภายนอกที่เกี่ยวข้องภายในพอร์ทัล Supply Chain Centerโมดูล Order Management Module – ซึ่งใช้ข้อมูลสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์และ AI เพื่อ “ตอบสนองปริมาณการสั่งซื้อในอนาคตอย่างรวดเร็ว” มีตัวเชื่อมต่อที่สร้างไว้ล่วงหน้าเพื่อทำงานกับ “การรับคำสั่งซื้อ การจัดส่ง และบริการโลจิสติกส์ของบุคคลที่สาม” ของพันธมิตรPartner Integration Efforts Microsoft Supply Chain Platform สามารถผสานรวมเข้ากับโซลูชันซัพพลายเชนอื่นๆ ได้ ซึ่ง Microsoft ได้มีความร่วมมือกับ “Accenture, Avanade, EY, KPMG, PwC และ TCS” ซึ่งเป็นผู้รวมระบบและพันธมิตรที่ปรึกษาในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ Microsoft Supply Chain Platform ยังทำงานร่วมกับโซลูชันซอฟต์แวร์ซัพพลายเชนต่างๆ ที่มีอยู่ อาทิเช่น Blue Yonder, Cosmo Tech, Experlogix, Flintfox, inVia Robotics, K3, O9 Solutions, SAS, Sonata, To-Increase Software” และอื่นๆ อีกมากมาย Microsoft Supply Chain Platform Capabilities Coming to Dynamics 365 บริการ Microsoft Dynamics 365 ERP ได้เพิ่มฟังก์ชันการทำงานที่เปิดใช้งานผ่านโมดูล โมดูลเหล่านี้บางส่วนมีฟังก์ชันที่คล้ายกับความสามารถบางอย่างของ Microsoft Supply Chain Platform ทำให้ผู้ใช้ Dynamics 365 บางรายจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือ Supply Chain Platform ได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้โมดูล Dynamics 365 Supply Chain Management เข้าถึง Supply Chain Center ได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ผู้ใช้โมดูล Dynamics 365 Intelligent Order Management จะได้รับการเข้าถึง Supply Chain Center และโมดูลการจัดการคำสั่งซื้อโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดตัวSupply Chain Center Console ที่มา : https://news.microsoft.com/2022/11/14/microsoft-announces-the-microsoft-supply-chain-platform-a-new-design-approach-for-supply-chain-agility-automation-and-sustainability/
9 Tips ช่วยให้งาน Low Code บน Power Automate เป็นเรื่องง่ายๆ สร้างแอปพลิเคชันทางธุรกิจด้วยตัวคุณเอง โดยไม่ต้องจ้างวานใคร ได้อย่างรวดเร็วและง่ายด้าย แรกของคุณด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เพียงลองทำตาม 9 Tips ใน E-book: 9 Tips for No Code Power Automate ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยไว้โดยทีมงานของไมโครซอฟท์ Download E-Book
ลูกค้าสามารถตรวจสอบปริมาณการใช้งาน Azure Subscription ด้วยตัวท่านเองโดยดำเนินการตามรายละเอียดดังนี้1. login เข้าสู่ระบบ Microsoft Azure ที่ https://portal.azure.com/ 2. ไปที่เมนู Subscriptions ที่ https://portal.azure.com/#view/Microsoft_Azure_Billing/SubscriptionsBlade3. ทำการเลือก Subscription ที่ต้องการ กรณีหากสั่งซื้อกับทางเน็ตเวย์ ค่าเริ่มต้นที่ทางเน็ตเวย์กำหนดไว้คือ Azure From Netway4. ทำการเลือก Cost Analysis จะพบรายละเอียดการใช้งาน Azure ของท่าน5. กรณีต้องการรายละเอียดเป็นไฟล์ excel ให้ทำการเลือก Cost by resource แล้วค่อยทำการ Download__________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft, Microsoft 365, Google Workspace, Zendesk, SSL เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Netway Communication
👻 NETWAY COMBO - Oct 2022 👻Peek a boo! อัพเดทประกาศและข้อมูลล่าสุดจาก Netway Communication 🎃 Microsoft Defender for Individuals เสริมความปลอดภัยในระดับบุคคลhttps://bit.ly/3ztZXnJ.🎃 Google Workspace Individual ขยายพื้นที่เป็น 1TB พร้อมให้บริการในไทยhttps://bit.ly/3zulJrB.🎃 Free! ซ่อมและเปิดสารพัดไฟล์ที่เปิดไม่ได้บน Windows 10https://bit.ly/3DoGLc2.🎃 Microsoft ประกาศยกเลิกการเข้าใช้งานแบบ Basic Authentication บน Exchange Onlinehttps://bit.ly/3VussuM.🎃 จบ IE แล้วเราต้องทำอย่างไร Internet Explorer has lost all support.https://bit.ly/3E3AfcN.🎃 7 Pro Tips for Microsoft 365https://bit.ly/3Nmr0XZ---------------------------------เราดีใจที่คุณยังนึกถึงเรา 👧🧔 และพร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ผ่านทุกช่องทางที่คุณสะดวก🖥 Web Chat: [[URL]]📞 Tel: 02-055-1095💙 Facebook Messenger: @netway.official💚 Line ID: @netway หรือ https://bit.ly/line-netway 📧 Email: support@netway.co.th