ปัจจุบัน SSL Certificate เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกเว็บไซต์ต้องมี สาเหตุหลักที่ต้องได้รับการติดตั้งก็คือ เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญที่รับส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และเรื่องความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ของท่าน เพราะตอนนี้ Browser หลักเริ่มมีการแจ้งบน Address Bar สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้ติดตั้ง SSL Certificate ว่าไม่ปลอดภัยแล้ว แต่ถึงแม้เว็บไซต์ของท่านได้รับการติดตั้ง SSL Certificate แล้ว ก็ใช่ว่าจะจบปัญหา เพราะเว็บไซต์ของท่านอาจจะไม่ได้รับการติดตั้งที่สมบูรณ์ก็เป็นไปได้ ทางทีมงาน SSL.in.th ได้รวบรวมปัญหาที่พบบ่อยซึ่งเป็นส่วนมากจะเป็นปัญหาที่คาดไม่ถึง หรือไม่ได้ตรวจสอบการใช้งานให้ดีพอ ทำให้เกิดการใช้งาน SSL Certificate ที่ไม่สมบูรณ์ Self Signed Certificate คือ SSL Certificate ที่ถูกสร้างโดยคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ใครก็สามารถสร้าง SSL Certificate นี้ได้ แต่ SSL Certificate ที่ได้รับมา จะไม่ผ่านการรับรองที่เป็นมาตรฐานจากทาง CA ทำให้ถึงแม้ติดตั้ง SSL Certificate สมบูรณ์แล้ว แต่ Browser ไม่ยอมรับเพราะแหล่งที่มาของ SSL Certificate ไม่มีความน่าเชื่อถือ ทำให้เมื่อเข้าเว็บไซต์ที่ใช้ Self Signed Certificate จะมีการแจ้งเตือนจาก Browser ว่าเว็บไซต์นี้ไม่ปลอดภัย วิธีการตรวจสอบให้ดูในส่วน Certificate Information ในส่วน Issued By จะต้องเป็นชื่อของผู้ให้บริการ SSL Certificate เช่น Digicert, Symantec, Entrust และอื่นๆ >> อ่านเพิ่มเติม Incomplete-chainปกติการติดตั้ง SSL Certificate จะต้องมี 2 Certificates หลักๆ ก็คือ SSL Certificate และ Intermediate CA ซึ่งขั้นตอนติดตั้ง จำเป็นต้องติดตั้งทั้งสอง Certificates ลงไป แต่บ่อยครั้งที่พบก็คือไม่ได้ติดตั้ง Intermediate CA เมื่อมีการใช้งานผ่าน Browser บนระบบคอมพิวเตอร์จะไม่พบปัญหาการใช้งาน แต่จะเกิดปัญหาที่ Browser บนระบบ Mobile เช่น Tablet หรือโทรศัพท์มือถือ จะขึ้นแจ้งเตือนไม่ปลอดภัย สาเหตุเกิดจากหน่วยความจำบนระบบ Mobile มีจำกัด ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูล Certificate Authority ได้ทั้งหมดจึงต้องอาศัยข้อมูลจาก Intermediate CA แต่เมื่อไม่พบ Intermediate CA ก็ไม่สามารถตรวจสอบทีมาของ Certificate ได้ทำให้เกิด error วิธีการตรวจสอบสามารถตรวจสอบการติดตั้งได้ที่ https://ssl.in.th/ssl-checker/ หรือ https://www.digicert.com/help/ Mixed Contentในการใช้งาน https จำเป็นที่จะต้องให้ Coding เรียกใช้ไปยัง Protocol https ด้วย เมื่อได้ก็ตามที่มีส่วนผสมใน coding ที่เป็น https และ http อยู่ในเว็บไซต์ของคุณ Browser จะมีแจ้งเตือนว่า "your connection to this site is not fully secure" สาเหตุเกิดจาก Mixed Content วิธีการตรวจสอบสามารถตรวจสอบได้ที่ https://www.whynopadlock.com/ Force HTTPSปัญหาหลักที่เจออยู่บ่อยๆคือ ถึงแม้จะมีการติดตั้ง SSL Certificate อย่างสมบูรณ์แล้ว แต่บ่อยครัั้ง ไม่ได้การตั้งค่าบังคับใช้งาน https คุณยังเปิดโอกาสให้สามารถเข้าใช้งานเว็บของคุณผ่าน Protocol http ดังนั้นเว็บของคุณก็เสมือนไม่ได้มรการใช้งา SSL Certificate เพราะเวลามีคนเรียกใช้งานเว็บของคุณ ก็จะเข้าไปยัง Protocol http อยู่ดี ยกเว้นผู้ใช้ได้งานพิมพ์ https เพื่อเข้าใช้งาน Protocol https แต่จะมีผู้ใช้สักกี่หลายที่พิมพ์ https ก่อนเข้าใช้งานเว็บของคุณ วิธีการตรวจสอบให้เปิดเว็บไซต์ของคุณผ่าน ฺBrowser Incognito Mode ยกตัวอย่างเช่น เปิด Chrome ขึ้นมาแล้วกด Ctrl + Shift +N แล้วพิมพ์ชื่อ URL โดยไม่ต้องใส่ Protocol http หรือ https แล้วดูว่าสุดท้ายแล้วเว็บของคุณเรียกไปที่ Protocol ไหน ซึ่งถ้าไม่ไปที่ https ก็แสดงว่าเว็บของคุณไม่ได้ force https ไว้ Vulnerabilityสิ่งสำคัญที่สุดของความปลอดภัยของเว็บไซต์ของคุณคือต้องคอยตรวจสอบช่องโหว่ที่เกิดขึ้นบน ฺServer ถึงแม้จะมีการติดตั้ง SSL Certificate อยู่แล้ว แต่หาก Server มีช่องโหว่อยู่ ก็ไม่ได้เกิดความปลอดภัย วิธีการตรวจสอบสามารถตรวจสอบได้ที่ https://www.ssllabs.com/ssltest/ __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #SSL
ย้อนกลับไปในปี 2018 ในปี 2018 เป็นปีแห่งการใช้งานและให้ความสำคัญเกี่ยวกับ SSL/TLS Certificate เป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ให้บริการ Browser ได้เพิ่มความปลอดภัย และแจ้งเตือนผู้ใช้งาน ซึ่งเมื่อใช้งานผ่าน Link ที่เป็น HTTP จะแสดงว่า Not Secure จึงทำให้เป็นจุดต้นเหตุที่ทำให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ พากันทยอยติดตั้ง SSL/TLS Certificate เป็นจำนวนมาก ถัดมาในเรื่องของการปรับเปลี่ยนระยะเวลาของ SSL/TLS Certificate จากผู้ให้บริการ โดยปรับเหลือ 825 วันเพียงเท่านั้น โดยแต่เดิมใช้งานได้ต่อการสั่งซื้อ 1 ครั้ง คือ 3 ปี ทางเราผู้จำหน่ายจึงต้องแจ้งผู้ใช้บริการ และลดระยะเวลาในการสั่งซื้อลงเหลือ 2 ปีเพียงเท่านั้น และในขณะเดียวกันในปีนี้ เป็นปีที่ปล่อย Protocol TLS1.3 ออกมาให้ได้ใช้งานซึ่งเป็นตัวสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วและเป็นปีแห่ง Symantec ซึ่งเป็น CA เจ้าใหญ่ที่ได้ข้อสรุปเข้าควบกิจการเข้ากับ Digicert เนื่องจากข้อผิดพลาดในการออก SSL Certificate ทำให้ผู้ใช้งานหลายรายต้องทำการออก SSL Certificate ใหม่ภายใต้ระบบ Digicert เป็นจำนวนมาก เพื่อแก้ปัญหา Google Chrome NET::ERR_CERT_SYMANTEC_LEGACY ช่องโหว่หลายปีที่ผ่านมา มีช่องโหว่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ SSL/TLS Protocol รุ่นเก่าๆ ต้องถูกยกเลิกไป แต่สำหรับปี 2018 ที่ผ่านมาช่องโหว่ร้ายแรงไม่มีเกิดขึ้นเลย หมายความว่า Protocol ที่ใช้งานอยู่ ณ.ปัจจุบัน มีความแข็งแรงและปลอดภัยต่อการใช้งานในยุคปัจจุบัน แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะมีคำพูดที่กล่าวว่า “attacks always get better, they never get worse” เปลี่ยนระยะเวลาใบรับรองเหลือ 825 วันวันที่ 1 มีนาคม 2018 ใบรับรอง SSL/TLS Certificate ถูกลดระยะเวลาเหลือเพียง 825 วัน หรือโดยประมาณ 2 ปี กว่าๆ ซ้ำร้าย การตรวจสอบองค์กรทั้ง DV และ OV SSL/TLS Certificate ยังถูกลดเหลือ 825 วัน เช่นเดียวกัน จากผลกระทบนี้ เป็นการวิเคราะห์ว่าจะทำให้ความปลอดภัยในระบบนี้มีมากขึ้น เนื่องจากต้องตรวจสอบองค์กรหรือยืนยันตัวตนไวขึ้นนั่นเอง ทั้งยังเป็นข้อดีในการปรับเปลี่ยน Private Key ให้เป็นไปตามปัจจุบัน และสามารถแก้ไขการออก SSL/TLS Certificate ที่ผิดพลาดได้ด้วย Certificate Transparency (CT)Chrome 68 ที่ปล่อยออกมาเมื่อ July 2018 ได้บังคับให้ SSL/TLS Certificates ที่ออกหลังจากวันที่ 30 เมษายน 2018 จะต้องเปิดเผยข้อมูลของ Certificate เพื่อให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าใบรับรองไหนไม่มี CT Logged ใบรับรองนั้นก็จะไม่ได้รับการรับรองการใช้งานจาก Chrome และ Safari Transport Layer Security (TLS) 1.3TLS 1.3 ได้เวลาเปิดตัวและใช้งานในเดือนสิงหาคม 2018 RFC 8446 โดย TLS 1.3 จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งาน Internet ในปัจจุบันได้มากขึ้น Forward Secrecy จะสามารถใช้งานได้กับ Cipher Suites ทุกประเภท และ Cipher Suites ที่ไม่รองรับ Forward Secrecy จะถูกกำจัดทิ้งไม่สามารถใช้งานได้ จะสามารถป้องกันการ Downgrade Protocol TLS version ก่อนหน้า ทำให้หากมีการ Downgrade เพื่อหวังการโจมตี จะถูกปฏิเสธทิ้งทั้งหมด และสุดท้าย มีการทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เว็บของคุณไม่ปลอดภัยGoogle Chrome Release 68 เริ่มบังคับใช้ในการแสดงข้อความ Not Secure บนเว็บไซต์ที่ไม่มีการใช้งาน SSL/TLS Certificates จุดประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากขึ้น นั่นหมายความว่า Phishing Site จะเกิดยากขึ้น เพราะเว็บนั้นๆต้องมี SSL/TLS Certificates ด้วย ซึ่งขั้นตอนการได้มาซึ่ง Certificate จะมีการตรวจสอบก่อนได้รับอยู่แล้ว ข้อพิพาท Symantec กับ Googleในเดือนมกราคม 2017 เกิดกระทู้หนึ่งใน Public Posting ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตั้งข้อสงสัยในการยืนยันตัวตนของระบบ Symantec Corporation’s PKI ซึ่งหลังจากการสนทนาและตรวจสอบอย่างยาวนาน Google ได้ประกาศไม่เชื่อถือ Symantec Root Certificate อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้น คือ Symantec จึงได้ควบกิจการเข้ากับ Digicert และออก SSL Certificate ใหม่ภายใต้การรับรอง Digicert Root Certificate ทั้งหมด Google ประกาศ ไม่เชื่อถือใบรับรองจาก Symantec Root Certificate บน Chrome ที่ออกในเดือนตุลาคม 2018 ดังนั้น ทุก Certificate ที่อยู่ภายใต้ Symantec Root Certificate จะถูกไม่น่าเชื่อถือตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เปลี่ยนวิธีการออกใบรับรองแบบ DVก่อนหน้านี้ การสั่งซื้อ SSL/TLS Certificates จะต้องมีการยืนยันความเป็นเจ้าของโดเมนโดย ระบบสั่งซื้อจะทำการส่งเมล ไปที่ Admin อีเมลของโดเมนนั้นๆ และส่งไปยัง Technical Contact บนระบบ Whois ของเมลนั้นๆด้วย แต่ตอนนี้ ได้ทำการยกเลิกการยืนยันความเป็นเจ้าของโดเมนผ่าน Technical Contact บนระบบ Whois แล้ว เนื่องด้วย Technical Contact บนระบบ Whois หลายๆโดเมน ไม่ได้เป็นเจ้าของโดเมนที่แท้จริง ทำให้ความปลอดภัยในการออก Certificate มีความเสี่ยง การเติบโตของ CertificateNetcraft’s June 2018 ได้รายงานว่ามีการใช้งาน Certificate ที่มากขึ้นกว่าเดิม 13.2 ล้าน Certificate มากขึ้นกว่าเวลาเดียวกันในปี 2017 สูงถึง 68% หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Office 365 , Google Workspace , Zendesk , SSL สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Netway Communication __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย Office 365 , Google Workspace , Zendesk , SSL ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : https://netway.co.th/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #SSL
Microsoft, Google, Apple และ Mozilla เตรียมที่จะทำการยกเลิกการรองรับการใช้งานโปรโตคอล TLS 1.0 และ TLS 1.1 ภายในปีครึ่งปีแรกของปี ค.ศ.2020 TLS (Transport Layer Security) เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการเข้ารหัสสำหรับการติดต่อระหว่าง Web browser และ Server ซึ่งเข้ามาทดแทนการใช้งานโปรโตคอล SSL ที่ไม่มีความปลอดภัยในการใช้งานในปัจจุบันอีกแล้ว โดยที่ TLS1.0 เริ่มมีการใช้งานครั้งแรกปี ค.ศ.1999 เกือบ 20 ปีแล้ว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสมต่อการใช้งานในอนาคต จำเป็นที่จะต้องยกเลิกโปรโตคอลที่ล้าสมัย และพัฒนา TLS เวอร์ชั่นใหม่ขึ้นมา เพื่อตอบสนองต่อเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่ง TLS เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่งประกาศใช้งานเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 คือ TLS 1.3 จากรูปข้างต้น ได้มาจากการสำรวจการใช้งานเว็บไซต์ของ Qualys SSL Labs พบว่ามีถึง 94% ของไซต์ต่างๆ รองรับการใช้งาน TLS 1.2 อยู่แล้ว ดังนั้น ผลกระทบในการยกเลิกการใช้งาน TLS 1.0 และ TLS 1.1 จะค่อนข้างน้อย แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ กรณีที่มีการใช้งาน Server ที่ค่อนข้างเก่ามากๆ ซึ่งอาจจะไม่สามารถเปิดการใช้งานโปรโตคอลเวอร์ชั่นใหม่ๆได้ ทางเราแนะนำให้สำรวจความพร้อม และเริ่มวางแผนการปรับปรุงแต่เนิ่นๆ แผนการยกเลิกการใช้งาน TLS 1.0 และ TLS 1.1 Google จะเริ่มแจ้งเตือนใน Developer Tools บน Chrome 72 และยกเลิกถาวรในเวอร์ชัน 81 Mozilla Firefox จะยกเลิกการใช้งานในเดือนมีนาคมปี ค.ศ.2020 Microsoft จะยกเลิกการใช้งานบน Edge และ IE11 ภายครึ่งปีแรกของ ค.ศ.2020 Apple จะยกเลิกการใช้งานบน Safari, iOS และ macOS ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2020 TLS Protocol Compatibility __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-0551095Email : support@netway.co.thWeb Chat : https://netway.co.th/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #SSL
The Internet Engineering Task Force (IETF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พัฒนามาตรฐานโปรโตคอลสำหรับการทำงานของต่างๆบนระบบอินเตอร์เน็ต ได้อนุมัติให้ Encryption Protocol TLS 1.3 เป็น Protocol มาตรฐานในการใช้งานผ่านระบบ Internet แล้วและได้เริ่มใช้งานจริงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561 TLS 1.3 ในปัจจุบัน จะมี 2 Browsers ที่รองรับการใช้งานคือ Google Chrome ตั้งแต่เวอร์ชั่น 63 และ Mozilla Firefox ตั้งแต่เวอร์ชั่น 63 และในอนาคตทุก Browsers จะต้องพัฒนาให้รองรับการใช้งาน TLS 1.3 ให้ได้ HISTORY & BACKGROUND When Who What Comments 1994 Netscape SSL 1.0 designed. Never published as security flaws were found internally. 1995 Netscape SSL v2.0 published. Netscape develops SSL v2, an encryption protocol designed to support the Web as a hot new commerce platform. This first secure protocol version shipped in Netscape Navigator 1.1 in March 1995. 1996 Netscape SSL v3.0 published. SSL v2 is shot down because of serious security issues. Consequently, Netscape scrambles to release SSLv3. This protocol seems good enough for now and the golden era of the Web begins. The specification was eventually published as RFC 6101. 1999 IETF TLS v1.0 published In 1996, an IETF working group is formed to standardize SSL. Even though the resulting protocol is almost identical to SSL v3, the process takes 3 years. TLS v1.0 is published as RFC 2246. Microsoft forces the change of protocol name to Transport Layer Security (TLS), creating a confusion that continues to this day. 2006 IETF TLS v1.1 published A new version of the TLS protocol is released as RFC 4346. This version addresses the BEAST attack, but it will be 5 years before the world realizes. 2008 IETF TLS v1.2 published A new version of TLS is released as RFC 5246, although hardly anyone notices. A major new feature in this version is authenticated (AEAD) encryption, which removes the need for streaming and block ciphers (and thus the inherently vulnerable CBC mode). 2014 IETF TLS v1.3 First Draft 2018 IETF TLS v1.3 published After 5 years, TLS 1.3 has finally be published as RFC 8446. This TLS protocol update comes 10 years after the previous version, TLS 1.2. TLS 1.3 – Faster and More Secure TLS 1.3 จะลดขั้นตอนและรอบในการ Handshake ระหว่าง Client กับ Server ลง โดยใช้แค่ 1 รอบทำงาน(one round-trip) โดยที่ TLS 1.2 ขะใช้สองรอบการทำงาน(two round-trips) ทำให้การเข้ารหัสข้อมูลเกิดความรวดเร็วมากกว่า Protocol เก่าๆ สำหรับในเรื่องความปลอดภัย TLS 1.3 ได้ยกเลิกการใช้งาน Features บางตัวที่ล้าสมัยและไม่ปลอดภัยออกไป ทำให้ปัจจุบัน TLS 1.3 เป็น Protocol ที่มีความปลอดภัยสูงที่สุด Features Removed from TLS 1.3 SHA-1 RC4 DES 3DES AES-CBC MD5 Arbitrary Diffie-Hellman groups — CVE-2016-0701 EXPORT-strength ciphers – Responsible for FREAK and LogJam __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย Office 365 , Google Workspace , Zendesk , SSL ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : https://netway.co.th/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #SSL
ตามที่เราๆ ท่านๆ ทราบกันดีว่า FATCA หรือ Foreign Account Tax Compliance Act ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 นั้น วัตถุประสงค์หลักของข้อกฎหมายนี้คือเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของผู้มีรายได้สัญชาติอเมริกันที่มีแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ และนิติบุคคลของสหรัฐอเมริกาที่ทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ และเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านภาษีกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยมีการทำความตกลงระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ กับรัฐบาลประเทศอื่นๆ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางบัญชีของผู้เสียภาษีตามความตกลงนั้นเกิดขึ้นได้ สำหรับประเทศไทย รัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลง FATCA กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของ ผู้เสียภาษีของชาวอเมริกันที่มาลงทุนในไทย และไทยก็จะได้ข้อมูลผู้เสียภาษีของพลเมืองไทยที่ไปลงทุนในสหรัฐอเมริกา โดยมีกรมสรรพากรไทยเป็นองค์กรกลางในการรวบรวมข้อมูลจากสถาบันการเงินในไทยเพื่อนำส่งกรมสรรพากรสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ทุกสถาบันการเงินในไทย จะต้องให้ความร่วมมือในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีของผู้เสียภาษีอเมริกันทั้งหมดมาให้แก่กรมสรรพากรไทย เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายดังกล่าว สำหรับประเด็นหลักที่เกี่ยวเนื่องกับ SSL Certificate คือ การนำส่งข้อมูลผู้เสียภาษี จะต้องทำการส่งผ่านระบบ International Data Exchange Services (IDES) ซึ่งระบบบังคับว่าทุกสถาบันการเงินจะต้องใช้ SSL Certificate (Digital Certificate) เพื่อเข้ารหัสข้อมูลระหว่างผู้ส่งและ Internal Revenue Service (IRS) โดยที่ SSL Certificate ที่ใช้ จะต้องได้รับการยอมรับจาก IRS ก่อน โดยที่ SSL Certificate ที่สามารถใช้งานได้ มีดังนี้ Certificate Authority Type of Certificate External Website Links Entrust Standard SSLEV Multi-Domain https://ssl.in.th/Entrust/Entrust+Standard+SSL/ https://ssl.in.th/Entrust/Entrust+EV+Multi-Domain Sectigo (formerly Comodo) EV SSL https://ssl.in.th/Sectigo/Sectigo+EV+SSL/ Digicert SSL StandardEV SSL https://ssl.in.th/DigiCert/Digicert+Basic+OV/ https://ssl.in.th/DigiCert/Digicert+Basic+EV SSL Certificate ที่สามารถใช้ได้ทั้งหมด จะเป็น SSL แบบ Organization Validation (OV) ซึ่งขั้นตอนการอนุมัติ SSL จะต้องมีการตรวจสอบองค์กรของสถาบันการเงินนั้นๆ เสียก่อน ระยะเวลาออกใบรับรอง ใช้เวลาประมาณ 3-4 วันหรืออาจจะเร็วหรือช้ากว่า ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบข้อมูลองค์กรของแต่ละองค์กร __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย Office 365 , Google Workspace , Zendesk , SSL ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #SSL