1.รายละเอียดบริการLoad Balancer เป็นบริการเซิร์ฟเวอร์เพื่อช่วยกระจายโหลดการทำงาน ซึ่งเป็นระบบเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง รองรับการทำงานทีมีปริมาณงาน (Work load) เป็นจำนวนมากได้เป็นอย่างดี เกิดจากการนำเซิร์ฟเวอร์หลายๆ เครื่องที่มีหน้าที่การทำงานเดียวกันมาทำงานร่วมกันเพื่อกระจายปริมาณงานไปยังแต่ละเครื่อง โดยมีตัวบริหารจัดการที่ชื่อว่า Load Balancer ทำให้ระบบสามารถรองรับการทำงานหนักๆ ได้เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่นในการออกแบบระบบให้เหมาะกับทุกๆ สถานการณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของคุณอย่างแท้จริง 2.เตรียมข้อมูลก่อนขอเปิดบริการ2.1 ตรวจสอบ Package และ ราคาที่หน้าเว็บไซต์ Click >>2.2 ชื่อ อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ บุคคลที่จะเป็นเจ้าของเครื่อง2.3 ชื่อ Host name สำหรับเรียกใช้งานเป็นเว็บไซต์ 3. ขั้นตอนการสั่งซื้อหรือร้องขอ ลูกค้าสามารถสั่งซื้อ Load Balancer ได้หลายช่องทางดังนี้3.1 สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ Click >> ตามวิธี ขั้นตอนการสั่งซื้อ Load Balancer 3.2 โทรติดต่อฝ่ายขาย 02-055-10953.3 ส่ง Email มาที่ support@netway.co.th 4. เงื่อนไขในการส่งมอบและระยะเวลาในการดำเนินการหลังชำระค่าบริการ (วิธีชำระค่าบริการ) ลูกค้าจะได้รับรายละเอียดเครื่อง Server ภายใน 10 นาที ทั้งนี้ระยะเวลา ไม่รวมการ Configuration และร้องขอบริการอื่นเพิ่มเติมจาก Add On Service 5. บริการอื่น ๆ ที่เกียวข้อง5.1 บริการ Server Add On Web Server Database Server Redis Server 5.2 บริการ Control Panel Direct Admin cPanel Plesk 5.3 บริการ Add On Service Standard Manage Premium Manage บริการอื่นๆ ค่าติดตั้ง ฟรี !!!!!!! 6. ข้อห้ามในการใช้บริการ เงื่อนไขการให้บริการ 7. การรับประกัน / คืนเงิน มาตรฐานการให้บริการ SLA และการรับประกัน __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ให้บริการด้าน Load Balancer พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย Office 365, Google Workspace, Zendesk, SSL ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway Facebook : m.me/netway.offcial Tel : 02-055-1095 Email : support@netway.co.th Web Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที # การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Netway Communication #NetwayTraining #NetwayConnect #Load Balancer
How to install (CentOS 7)
หากเป็นเครื่องลูกค้าขึ้นใหม่ให้ทำการ ตรวจสอบ Disable Selinux และ ติดตั้งเครื่องมือ nano และ csf
Step 0: Check Tool and update
Update
yum update -y
nano install
yum install nano -y
Disable SElinuxSave และ Rebootเปลี่ยน “SELINUX=enforcing” เป็น “SELINUX=disabled”
nano -w /etc/sysconfig/selinux
Step 1: ติดตั้ง Web service
yum -y install httpd mod_ssl
systemctl start httpd.service
systemctl enable httpd
Step 2: ติดตั้ง epel and remi repos และ Disable php54
yum -y install http://rpms.remirepo.net/enterprise/remi-release-7.rpm
yum-config-manager --disable remi-php54
yum-config-manager --enable remi-php72
Step 3: ติดตั้ง PHP และ Module
yum -y install php php-mbstring php-gd php-mcrypt php-pear php-pspell php-pdo php-xml php-mysqlnd php-process php-pecl-zip php-xml php-intl php-zip php-zlib
Step 4: ติดตั้ง MariaDB
yum --enablerepo=remi install mariadb-server -y
systemctl start mariadb.service
systemctl enable mariadb
ตั้งค่า Security Set root password MariaDB
mysql_secure_installation
Step 5: สร้าง Database และ User Database
mysql -u root -p
**กรอกข้อมูล root password MariaDB **
CREATE DATABASE database_name;
CREATE USER 'user_database'@'localhost' IDENTIFIED BY 'password_Database';
GRANT ALL PRIVILEGES ON database_name.* TO 'user_database'@'localhost';
FLUSH PRIVILEGES;
exit
Step 6: ติดตั้ง ownCloud
nano -w /etc/yum.repos.d/owncloud.repo
[ce_10.1]name=wnCloud Server Version 10.1.x (CentOS_7)type=rpm-mdbaseurl=http://download.owncloud.org/download/repositories/production/CentOS_7gpgcheck=1gpgkey=http://download.owncloud.org/download/repositories/production/CentOS_7/repodata/repomd.xml.keyenabled=1
yum repolist
yum clean expire-cache
yum install owncloud -y
systemctl restart httpd.service
**** Check file Owncloud ***
nano -w /var/www/html/owncloud
เรียกผ่าน IP Server 111.111.111.111/owncloud
กรอกข้อมูล Username:Password:Username DatabasePassword DatabaseDatabase Name
Finish ..................................
StepX: หากต้องการให้เรียกผ่าน Domain ไปตั้งค่า Config Virtual Host
*** สร้างไฟล์ .conf ขึ้นมา ***
nano -w /etc/httpd/conf.d/DOMAIN.conf
Netway Cloud File Sharing ระบบแชร์ข้อมูลบนคลาวด์แบบครบวงจร บอกลาปัญหาซิงค์ข้อมูลจำนวนมากไม่ได้ดั่งใจ ด้วย Netway Cloud File Sharing ระบบแชร์ข้อมูลบนคลาวด์แบบครบวงจรโดยเน็ตเวย์ คอมมูนิเคชั่น ซึ่งมาพร้อมฟังก์ชั่นที่ไม่เหมือนใครอย่าง File Workflow, Project Management, Video Conference สร้างตารางนัดหมายและปฏิทินออนไลน์ เพื่อช่วยยกระดับให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างคล่องตัว ถ้า! ทีมไอทีของคุณต้องหัวหมุนกับการบริหารข้อมูลของพนักงานที่มหาศาล และถ้าการซิงค์ข้อมูลเพื่อมาเก็บไว้บน Cloud ช่างแสนยุ่งยากและไม่ปลอดภัยอีกต่อไป คุณจะจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างไรดี? แล้ว.....จะดีแค่ไหนหากองค์กรของคุณ สามารถทั้งแชร์และซิงค์ไฟล์รวมถึงงานภายในองค์กรอื่นๆ ได้จากที่เดียวด้วยระบบที่มีมาตรฐานสากล ปลอดภัยขั้นสุด ด้วยบริการ Cloud File Sharing จาก เน็ตเวย์ คอมมูนิเคชั่น ที่มาพร้อมฟังก์ชันหลักที่ตอบสนองการทำงานในรูปแบบขององค์กรได้อย่างครบครัน เช่น File Workflow, Project Management, Video Conference สร้างตารางนัดหมายและปฏิทินออนไลน์ เป็นต้น Cloud File Sharing ยังสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Desktop และ Smartphone ที่รองรับทั้ง ios, Android และยังสามารถซิงค์ข้อมูลได้แบบ Realtime ด้วยความสามารถพิเศษเหล่านี้ Cloud File Sharing จึงสามารถเก็บข้อมูล บริหารจัดการข้อมูลได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ พร้อมเพิ่มความสามารถตอบสนองการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลถึงกันได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมก้าวเข้าสู่ Digital Transformation และการทำงานในรูปแบบของ New Normal ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะจัดการข้อมูลได้ดีเยี่ยมแล้ว Cloud File Sharing ให้อะไรกับคุณอีกบ้าง ? 1. Cost Savings ไม่จำเป็นต้องลงทุนก้อนใหญ่ เราสามารถเริ่มต้นการใช้งานได้ตามพื้นที่ที่ต้องการใช้งานจริง และสามารถเพิ่มพื้นที่ได้เมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องการ มาพร้อมกับ Enterprise Feature Software ที่สามารถใช้งานได้ฟรีตั้งแต่ครั้งแรกที่ติดตั้ง นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายด้าน Hardware แล้วเรายังไม่ต้องจ่ายค่า Implement ระบบ ค่าใช้จ่ายด้าน IT และค่าบำรุงดูแลรักษาอีกด้วย 2. Security Cloud File Sharing มาพร้อมกับความปลอดภัยที่มากกว่า File Sharing ทั่วไป ที่สามารถรองรับการเข้ารหัสไฟล์แบบ End-to-End Encryption, Antivirus, Ransomware Protection, Brute Force Protection และการป้องกันระดับ User โดยใช้ 2Factor Authentication เป็นต้น 3. Productivity นอกจากการซิงค์ไฟล์ แชร์ไฟล์ Cloud File Sharing ยังสามารถสร้าง แก้ไข เอกสารออนไลน์พร้อมกัน การ Video Conference และแชร์ Screen, Project Management การสร้างตารางนัดหมายและปฏิทินออนไลน์ และ File Workflow เพื่อกำหนด Automation ให้กับไฟล์ต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย รองรับ Feature และการทำงานร่วมกันภายในองค์กรได้อย่างครบครัน 4. Responsiveness and Mobility ให้ความคล่องตัวด้วยการรองรับการเชื่อมต่อทั้งจาก Desktop และ Smartphone สามารถซิงค์ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ และเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมทั้งการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว 5. Service and Support บริการ Support ตลอด 24 ชั่วโมง โดยทีม System Engineer คนไทย !!พิเศษ!! โปรโมชั่นช่วงเปิดตัว! Netway Cloud File Sharing ตัวช่วยจัดการข้อมูลบนระบบคลาวด์แบบครบวงจร ในราคาคุ้มจริง เหมาะสำหรับทั้งการใช้งานทั่วไป และในรูปแบบขององค์กร ราคาเริ่มต้นที่ 499 บาท ต่อเดือน สั่งซื้อตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นเดือน ก.ค. 2563 ในราคา 499 บาทต่อเดือนได้พื้นที่ 100 GB ตลอดอายุสัญญา!!! รายละเอียดเพิ่มเติม และทักแชทได้ 24 ชม. ที่ https://netway.co.th/cloud-file-sharing คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับ Netway Cloud File Sharing
"ดำเนินธุรกิจแบบ New Normal ด้วย Cloud Solution" Table of Content The New Normal is? Digital Transformation Traditional or On-premises Infrastructure Cloud Technology Cloud is the New Normal Cloud Solution The New Normal is? New Normal คือความปกติในรูปแบบใหม่ เป็นคำที่กล่าวถึงพฤติกรรมของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมาจากวัฒนธรรม การดำเนินชีวิต หรือหลักปฏิบัติใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์สำคัญ เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ตัวอย่างที่ชัดเจน คือการเกิดขึ้นมาของอินเทอร์เน็ตและ Social Media ส่งผลให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น การติดต่อสื่อสารที่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นแม้จะอยู่ไกลกันคนละที่หรือคนละภูมิภาค การค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้จากอินเทอร์เน็ตแทนที่การค้นหาจากหนังสือ ห้องสมุดหรือใช้ Google Map ค้นหาสถานที่แทนแผนที่แบบกระดาษ การติดตามข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ แทนการอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร การซื้อสินค้าออนไลน์ แทนการซื้อของตามหน้าร้าน เป็นต้น และปัจจุบันที่เรากำลังประสบปัญหาอยู่ก็คือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ธุรกิจ สังคม ทำให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่และปรับตัวใหม่เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนชีวิตและธุรกิจของเราสามารถดำเนินต่อไปได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวนี้เองที่เรียกว่าเป็น “New Normal” ยกตัวอย่างพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ด้านการบริโภค ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร เริ่มเรียนรู้ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โดยการขายอาหารผ่านแพลตฟอร์มขายอาหารออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Food Panda, Line Man เป็นต้น ด้านการศึกษา สถานศึกษาเริ่มมีการศึกษาและนำระบบการเรียนการสอนออนไลน์มาใช้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Platform Online ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Team , Google Classroom เป็นต้น ด้านธุรกิจ ธุรกิจร้านขายของที่มีหน้าร้าน มีการปรับตัวและเปลี่ยนรูปแบบการขายผ่านออนไลน์มากขึ้น โดยผ่านแพลตฟอร์มผู้ให้บริการเช่น Lazada, Shopee หรือการพัฒนาเว็บแอพลิเคชันของตนเอง เป็นต้น บริษัทหรือองค์กรย้ายข้อมูลการจัดเก็บไฟล์ขึ้นไปไว้บน Cloud หรือ Sharing Platform ต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในการแชร์ข้อมูลร่วมกัน เพื่อการแก้ไข รีวิวเอกสารออนไลน์ร่วมกันเป็นต้น บางองค์กรอาจเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นการ Work From Home และอาจใช้บริการ VDI หรือ Virtual Desktop Infrastructure ผ่านผู้ให้บริการ เพื่อจัดสรรคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคคลให้กับพนักงานและความสะดวกสบายในการจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงานเป็นต้น รวมไปถึงการใช้แพลตฟอร์มการประชุมออนไลน เช่น Zoom, WebEx, Microsoft Teams, Google Meet แทนที่การประชุมแบบเดิมเป็นต้น ตัวอย่างบริษัทระดับโลกที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ Google, Facbook ล่าสุดออกมาประกาศให้พนักงานทำงานที่บ้านได้จนถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย Twitter ให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านของตนเองได้จนตลอดชีวิตการทำงาน Netway เองก็มีนโยบายให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่บ้านได้เช่นเดียวกัน และมีการจัดการเทรนนิ่งออนไลน์ สัมมนาออนไลน์ แทนการสัมมนาที่ต้องมาเจอหน้ากันหรือมาที่ออฟฟิต เป็นต้น นักวิชาการคาดว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะไม่หายไป แม้จะสถานการณ์ COVID-19 จะดีขึ้น เนื่องจากคนในสังคมเริ่มเรียนรู้เทคโนโลยี และมองเห็นว่าสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้จริง ความปกติแบบใหม่ หรือ New Normal ที่จะเกิดขึ้น 3 ประการ 1. Remote Working เราจะเห็นการทำงานที่เป็นลักษณะของ Remote Working มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Work From Home หรือ Learn From Home จะถูกนำมาปรับใช้มากขึ้น ทำให้การทำงานหรือแม้แต่การเรียนการสอน จะไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่อีกต่อไป 2. Cloud Platforms เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของการจัดเก็บข้อมูลจากเดิมที่ทำบน On-Premises เราจะเห็นว่าหลายองค์กรเริ่มมีการปรับรูปแบบการเก็บข้อมูลขึ้นบน Cloud มากขึ้น ธุรกรรมต่างๆ จะถูกนำมาปรับใช้อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรืออยู่บน Cloud มากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ 3.Health and Lifestyle วิถีชีวิตของคนในสังคมจะเปลี่ยนไป ทุกคนจะให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัย การใส่ใจสุขภาพ ดูแลตัวเองมากขึ้น บางองค์กรอาจมีการปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานโดยการเพิ่มฉากกั้น หรืออาจมีการใช้อุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Smartwatch จัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของแต่ละคน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ต่อการดูแลตนเองและพนักงานภายในองค์กรเองเป็นต้น เราจะเห็นว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัย Technology แทบทั้งสิ้น การวางแผนปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเข้าสู่ Digital Transformation จึงจำเป็นจะต้องถูกนำมาพิจารณาเป็นเรื่องด่วน เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและรองรับกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้นอย่างเช่น COVID-19 ในปัจจุบัน การมาของ COVID-19 จึงเป็นตัวเร่งให้เกิด Digital Transformation อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Digital Transformation คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิด วัฒนธรรมองค์กร โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ตั้งแต่การวางรากฐาน ไปจนถึงการส่งมอบคุณค่าบริการไปสู่ผู้บริโภค จากการสำรวจมีองค์กรเพียง 21% เท่านั้นที่พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาดครั้งนี้คาดว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรอีก 79% ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ Digital Transformation อย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้มากขึ้น การจะเข้าสู่ Digital Transformation ต้องอาศัยปัจจัยเหล่านี้คือ CloudหรือCloud Computing ระบบหรือบริการสำหรับการประมวลผล เพื่อรองรับการให้บริการผ่านเครือข่าย Internet ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้อย่างอิสระ มีความยืดหยุ่น และคิดค่าใช้บริการตามการใช้งานจริง เพื่อที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่น ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของข้อมูลได้ Analytics ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเทคโนโลยีดิจิตอลเป็นข้อมูลที่มีค่ามหาศาลการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำสามารถพัฒนาบริการเพื่อตอบสนองความต้องการได้ตามเป้าหมาย Mobile เข้าสู่ยุคของ5G อุปกรณ์พกพา ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet ไปจนถึง Smart Watch ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมทางการเงิน และความบันเทิงต่างๆ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรได้ Social Media เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับสร้างการรับรู้บริการ การติดต่อสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ Traditional หรือ On-Premises Infrastructure แต่เดิมก่อนเข้าสู่ยุคของ Digital Transformation หรือ Cloud การเก็บข้อมูลในรูปขององค์กรจะถูกจัดเก็บในรูปแบบของ On-Premises และบริหารจัดการอยู่ภายใต้ Datacenter ของตนเอง การจัดการในรูปแบบนี้มีข้อจำกัดมากมาย จากรูปเราจะเห็นว่า On-Premises สร้างภาระและงานให้กับเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการดูแล ติดตั้ง ไล่ตั้งแต่ Network, Storage, Server ไปจนถึงระดับ Application พนักงาน 1 คนหรือไม่กี่คนอาจไม่สามารถดูแลระบบทั้งหมดได้อย่างแน่นอน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ Cloud ในแบบต่างๆ แล้วจะเห็นว่า Cloud ช่วยลดภาระงานของเราได้เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่นหากใช้บริการ Infrastructure as a Service เราก็มีหน้าที่ Manage เพียง Application, Data, Runtime, Middleware เท่านั้น Platform as a Service เราก็มีหน้าที่ Manage แค่ Application และ Data Software as a Service เราแทบไม่ต้องทำอะไรเลย ผู้ให้บริการ Manage ให้ทั้งหมดเลย ยกเว้นข้อมูลซึ่งเราอาจต้องเข้าไปดูแลเองด้วย นอกจากนี้ On-Premises ยังมีข้อจำกัดอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น ใช้เงินลงทุนสูง ใช้งานทรัพยากรไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่มีความยืดหยุ่น บำรุงรักษายาก สิ้นเปลืองทรัพยากรคนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ความปลอดภัย ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันอื่นๆ ยังไม่รวมถึงการย้ายระบบ การ Migrate หรือการทำ DR อีกในอนาคตอีก “Cloud Technology จึงจะเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้” จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้หลายองค์กรต้องปรับตัวเพื่อเข้าหาเทคโนโลยีมากขึ้น หนึ่งในสิ่งที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ Cloud Technology หรือ Cloud Computing นอกจาก Cloud จะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว Cloud ยังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในทุกกิจกรรมในอนาคต มาดูกันว่า Cloud Technology หรือ Cloud Computing คืออะไร Cloud Computing หรือ Cloud Technology อระบบหรือบริการสำหรับการประมวลผล เพื่อรองรับการให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้ ผ่านเครือข่าย Internet ไม่ว่าจะเป็น Compute, Storage, Network, Database, Application เป็นต้น โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบ ความปลอดภัยและการจัดการ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ Infrastructure as a Serviceเป็นรูปแบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน การประมวณผล, Storage และ Network เป็นต้น ตัวอย่างผู้ให้บริการที่เรารู้จักเช่น Google Cloud Compute, Microsoft Azure, Amazon Web Service หรือ AWS รวมถึง Netway เราเองก็ให้บริการในรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน Platform as a serviceเป็นรูปแบบการให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับนักพัฒนาในการพัฒนาโปรแกรม เช่น บริการ Google App Engine ต่างๆ, Azure DB และ Amazon RDS เป็นต้น Software as a serviceเป็นรูปแบบการให้บริการใช้ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ ผ่านผู้ให้บริการ เช่น Google Docutment, Office365, Gmail เป็นต้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละองค์กรว่าเหมาะสมในด้านไหน ซึ่งก็ต้องพิจารณาในรายละเอียดด้านอื่นๆ ต่อไป Cloud Technology ให้อะไรเราบ้าง Cost Savings ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและการลงทุน เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องลงทุนเองทั้งหมด เพียงใช้งานผ่านผู้ให้บริการ สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ตามปริมาณที่ต้องการใช้งานจริง และจ่ายเท่าที่ใช้จริงเท่านั้น Cloud ยังช่วยลดค่าดูแลรักษา ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ค่าไฟฟ้า ค่า Internet เป็นต้น Security จากการทดสอบด้านความปลอดภัยจากรายงานของGartner พบว่า Cloud มีความปลอดภัยกว่าระบบ Data Center แบบ On-premises ถึง 60% เนื่องจากมีเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ Update ตลอดเวลา Flexibility มีความยืดหยุ่น สามารถเพิ่ม ลด ทรัพยากรได้ทันที และตลอดเวลา MobilityCloud ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที ทุกเวลา ตราบใดที่เราสามารถเชื่อมต่อผ่าน Internet ทั้งยังสามารถรองรับการเชื่อมต่อได้จากหลากหลายอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet, PC เป็นต้น MonitoringCloud มีระบบ Monitor อัตโนมัติที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและเป็นแบบ Proactive คือสามารถรับรู้ปัญหาได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น ทำให้เราสามารถแก้ปัญหานั้นได้ทันทีี Disaster RecoveryCloud มีความสามารถในการ Disaster Recovery ที่ดีหรือสามารถรองรับการกู้คืนเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทางธรรชาติ การชุมนุม ไฟฟ้าดับ เป็นต้น การมาของ Cloud หรือ On-demand IT ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม IT เป็นอย่างมาก เพราะเมื่อก่อนการเข้าถึง Technology หรือการติดตั้ง Software ต่างๆ จำเป็นต้องมีการลงทุนด้าน Hardware หรือ Infrastructure เสียก่อน ส่งผลให้บริษัทขนาดเล็กไม่สามารถลงทุนกับระบบ IT ขนาดใหญ่ได้มากนัก เพราะการลงทุนดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนสูง ไม่ใช่แค่การวางระบบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Software บุคคลากร แผนการ MA และค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆอีกมากมายด้วย ทีนี้มาดูกันว่าทำไม Cloud จึงมีสำคัญและเป็น New Normal ในอนาคต Cloud is the New Normal Cloud เอาชนะข้อจำกัดหรือวิธีการแบบดังเดิม หรือ Traditional Datacenter ได้ ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนหน้า ทำให้บริษัทขนาดเล็กมีโอกาสเข้าถึง Technology มากขึ้น ทำให้มีอำนาจในการแข่งขันมากขึ้น Cloud จะเข้ามาช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล โครงสร้างพื้นฐาน ปลอดภัยและมีความยืดหยุ่นสูง สามารถจ่ายได้เฉพาะที่ต้องการใช้เท่านั้น และสามารถเพิ่มลดขนาดทรัพยากรได้ทันทีที่ต้องการ การนำ Cloud มาใช้ยังช่วยลดการบริหารจัดการ ความจำเป็นในการลงทุนในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น บุคคลากร ค่า Internet ค่าไฟ ค่า MA เป็นต้น ทั้งยังเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุน Cloud ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงบริการได้จากทุกที ทุกเวลา และสามารถรองรับหลายอุปกรณ์ ทำให้เราสามารถทำงานได้จากที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ Cloud ช่วยให้เราเข้าถึง Technology และ Social Media มากขึ้น หลายองค์กรต่างก็พัฒนาและ Transform ระบบของตนเองขึ้นไปบน Cloud ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้และพัฒนาระบบบริการของเราเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้อย่างมากมาย มีข้อมูลตัวเลขสถิติผู้ใช้งาน Social Media ทั่วโลกในปัจจุบัน Update เมื่อเดือนมกราคม 2020 ที่ผ่านมา มีรายงานว่าเกือบ 60% ของประชากรโลกสามารถใช้งาน Internet ได้ โดยมีผู้ใช้ Social Media ทั่วโลก 3.8 พันล้านคน และจนถึงมกราคม 2020 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 49% เติบโต 9.2% ต่อปีในจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั้งหมด มีจำนวนผู้ใช้ ที่เข้า Social Media ผ่าน Smartphone 3.75 พันล้านคนหรือคิดเป็น 99% เปอร์เซ็นต์ของจำนวนของผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั้งหมด และมีงานวิจัยพบว่า 89% ซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ตนเองติดตามบน Social Media รูปภาพจาก https://hootsuite.com/ และนี่คือ Top Social Media ที่นิยมมากที่สุด จะเห็นว่าข้อมูลเหล่านี้จะนำมาซึ่งมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างมหาศาล หากเรารู้จักใช้ Cloud Technology และ Social Media ให้เกิดประโยชน์ มาต่อกันที่หัวข้อ Cloud Solution หัวข้อนี้เราจะแนะนำรูปแบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับใครที่กำลังมองหาหรือกำลังวางแผนเพื่อย้ายระบบขึ้นสู่ Cloud อยู่ Cloud Solution รูปแบบบริการสำหรับการประยุกต์ใช้ Cloud Computing หรือ Cloud Technology เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการและตอบสนองการทำงานในรูปแบบของ New Normal อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วย 3 บริการหลักๆ Cloud Server Cloud Storage หรือ Cloud File Sharing Cloud Manage Server Services Cloud Server โครงสร้างพื้นฐานสำหรับให้บริการในลักษณะของ IaaS หรือ Infrastructure as a Service ไม่ว่าจะเป็น Compute, Storage, Network รองรับการให้บริการ Web Server, Mail Server, File Server, Backup Server และ Application Server เป็นต้น ประกอบด้วย Shared Hosting Cloud VPS Dedicated Server Shared Hosting บริการเช่าใช้พื้นที่สำหรับบริการ Website, Email, Application เป็นต้น ภายใต้ทรัพยากรของเครื่อง Server ที่ใช้ร่วมกัน เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก SME ผู้เริ่มต้นและใช้งานทั่วไป ข้อดี ราคาถูก เริ่มใช้งานได้เร็ว ฟรี Manage ข้อเสีย แชร์ทรัพยากรร่วมกับผู้ใช้รายอื่น Customize ยาก เช่นต้องการปรับแต่ง Server เพื่อเพิ่มความเร็ว, ต้องการติดตั้ง Software อื่นๆ เป็นต้น Dedicated Server Physical Server ที่รองรับการให้บริการบนระบบเครือข่าย เป็นรูปแบบบริการสำหรับเช่าใช้ Server โดยสามารถใช้งาน Resource ทั้งหมดของเครื่องไม่ Shared Resource กับเครื่องอื่น สามารถปรับแต่ง Resource ได้เองโดยอิสระ ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Disk รวมถึง Network เหมาะกับองค์กรที่มีการใช้งาน Workload สูงๆ ต้องการ Spec Server สูง รวมทั้งยังสามารถ Customize ในระดับ Physical ได้ ข้อดี ไม่แชร์ Resource ร่วมกับใคร ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ต้องกังวลว่าผู้ใช้คนอื่นจะทำเกิดปัญหา Resource ไม่เพียงพอ ยืดหยุ่น Customize ได้ ทั้งรองรับการทำงานร่วมกับ Third Party ต่างๆได้ง่าย เช่น Backup, Firewall ปลอดภัย มั่นใจได้ว่ามีเพียงเราเท่านั้นที่สามารถใช้งานเครื่อง โดยไม่แชร์ร่วกับใคร รองรับ Traffic ปริมาณสูง และรองรับ Dedicated Bandwidth หากต้องการความเสถียรและความเร็วในการรับส่งข้อมูลปริมาณสูงๆ ข้อเสีย ราคาเริ่มต้นจะแพงกว่าบริการอื่นๆ ความยากในการ MA และ Migrate ระบบ (ปัจจุบันมี Tools P2V เช่น VMware Converter Standalone และ Disk2VHD ของ Microsoft Azure) Cloud VPS บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน ใช้เทคโนโลยี Server Virtualization แบ่งการใช้งาน Resource ออกจากกันอย่างชัดเจน หรือพูดง่ายๆ คือ การจำลองสภาพแวดล้อมของ Server โดยแบ่ง Physical Server 1 ตัว ออกเป็น Virtual Machin (VM) ย่อยหลายๆ เครื่อง ภายใต้ Cluster เดียวกัน เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้สามารถใช้ Server ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ มีความสามารถหลักๆ คือ vMotion หรือ Live Migration คือการ Migrate จากเครื่องหนึ่งไปเครื่องหนึ่ง โดยไม่มี Downtime ใช้สำหรับกรณีที่เราต้องการ MA, Upgrade เครื่อง Server หรือ Hypervisor นั้นๆ High Availability หรือความพร้อมใช้งานตลอดเวลา เป็น Feature ที่รองรับการทำ Failover ไม่ว่าเครื่อง Server หรือ Hypervisor เครื่องใดมีปัญหาหรือดับไป ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานของเรา เนื่องจาก VM จะทำการย้ายไปที่เครื่องอื่นโดยอัตโนมัติ Hot Add การเพิ่ม CPU หรือ RAM ให้กับ Virtual Machine โดยที่ไม่ต้องหยุดการทำงานของ Virtual Machine vSphere Fault Tolerance (FT) คือความสามารถในการสร้าง VM ขึ้นมาอีกตัวนึง แต่ต่าง Physical Server กัน เพื่อให้ VM ทำงานไปพร้อมกันในลัษณะของ Active-Active เพื่อป้องกันกรณี Physical Server ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย Virtual Machine อีกตัวจะพร้อมให้บริการได้โดยอัตโนมัติทันที Replication ความสามารถในการทำ Replicate ข้อมูล จาก Datacenter หนึ่งไปยังอีก Datacenter หนึ่ง หรือเรียกว่าการทำ DR Site นั่นเอง การใช้งานในลักษณะนี้เหมาะกับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลมากๆ และต้องการระบบที่เสถียรพร้อมออนไลน์ตลอดเวลา Cloud File Sharing บริการที่อยู่ภายใต้ซอร์ฟแวร์สำหรับสร้าง Cloud Storage หรือ Cloud File Storage มีความสามารถในการจัดเก็บไฟล์ แบ่งปันไฟล์ การสร้างและจำกัดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน มีความสามารถหลักๆ ดังนี้ การซิงค์ไฟล์ แชร์ไฟล์กับ User ภายในหรือภายนอกองค์กรได้ สามารถสร้างและจำกัดสิทธิ์ผู้ใช้ในการเข้าถึงไฟล์ รองรับการสร้างและแก้ไขเอกสารออนไลน์พร้อมกันได้ รวมทั้งสามารถป้องกันไฟล์โดยการแทรกลายน้ำได้ รองรับการอ่าน Media File หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น .mp3, .mp4 เป็นต้น สามารถจัดการ File Workflow หรือกำหนดให้ไฟล์ที่สร้างหรือ Upload ขึ้นไปใหม่ ทำงานโดยอัตโนมัติตามที่เรากำหนด Project Management บริการจัดการ Project โดยการจัดลำดับงาน วางแผนงาน ให้เป็นไปตาม Flow ที่กำหนด สามารถกำหนดผู้รับผิดชอบ และ Due date ได้ ปฏิทินออนไลน์และการสร้างตารางนัดหมาย รองรับ Video Conference และแชร์ Screen ได้ รองรับการเข้ารหัสไฟล์แบบ End-to-end Encryption Antivirus สำหรับไฟล์และ Ransomware Protection รองรับเชื่อมต่อทั้งบน Desktop และ Smartphone Cloud Manage Server Services บริการที่พร้อมจะดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ของคุณให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยช่วยให้คุณลดต้นทุนด้านบุคลากรกว่า 20 เท่าด้วยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมงมาพร้อมกับระบบ Monitoring ที่มีคุณภาพ , ระบบการจัดการ event ตามมาตรฐาน ITIL Service Management และ Report ประจำเดือน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถวางแผนปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ทันท่วงที ตาม Concept Business continuity Features ประหยัดกว่าดูแลเอง 20 เท่า / ค่าใช้จ่ายต่ำ Proactive monitoring 24x7x365 Support by Professtional System Engineers Monthly report ITIL service management Security management Performace optimization ทำไมถึงต้องมีบริการ Managed Server Service สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือการที่ระบบไอที เว็บไซต์ หรือระบบอื่นๆ ยังต้องสามารถให้บริการลูกค้าและรองรับการรันแอปพลิเคชันทั้งหมดต่อไปได้ ไม่มีปัญหาให้ธุรกิจต้องสะดุดไป แม้พนักงานจะไม่สามารถเข้ามาทำงานที่บริษัทได้เต็มที่เหมือนเคยก็ตาม บริการ Managed Server Service นี้จะช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าแผนงานด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) ของตนจะเดินหน้าต่อไปได้ ด้วยทีมงาน System Engineer ที่มีประสบการณ์ด้านการดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์มายาวนาน มาคอยช่วยดูแลการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ หรือ แอปพลิเคชันให้มีความต่อเนื่อง ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น Monitoring System ที่ทำงานภายใต้เงื่อนไข Proactive ที่ทำให้รับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมา ด้วยระบบ ITIL Service Management ที่จะส่ง Alert , Notfication ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบ กับเซิร์ฟเวอร์ กับ Service เข้ามาให้เจ้าหน้าที่ System Engineer ของเราวิเคราะห์ เพื่อแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นตลอด 24x7x365 พร้อมด้วยระบบการสร้าง Report ที่สามารถสร้างได้ตลอดเวลาที่ต้องการ หรือเมื่อเราพบ Vulnerability ต่าง ๆ ทีม System Engineer ของเราพร้อมให้คำแนะนำ แก้ไขเพื่อให้ระบบมีความปลอดภัย อย่างมีประสิทธิภาพ Service Management Practices of Netway Managed Server Services Monitoring and Event Management Incident Management Problem Management Changed Enablement General Management Practices of Netway Managed Server Services Measurement and Reporting Risk Management Information security Management Knowledge Management สรุป จากหัวข้อทั้งหมดที่ได้กล่าวมา ทุกระบบล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป อยู่ที่เราว่าจะสามารถยอมรับข้อเสียนั้นได้มากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยการปรับตัวและเร่งดำเนินการเพื่อเข้าสู่ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบโดยเร็วที่สุด ถึงวันนี้เราอาจตอบไม่ได้ชัดเจนนักว่า ทุกองค์กรจะเข้าสู่ Digital Transformation ได้แบบเต็มตัวหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนคือหลายองค์กรเริ่มปรับตัวและมองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีมากขึ้น เชื่อว่าทุกองค์กรจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเข้าสู่โลกของเทคโนโลยีและ Cloud Computing ได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน สุดท้ายไม่ว่าโลกจะเกิด New Normal ขึ้นอีกกี่ครั้ง ก็อยู่ที่เราแล้วว่าจะเลือกเป็น New Normal ในแบบไหน แบบที่ยอมให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวกำหนดทิศทางอนาคตของเราหรือองค์กรของเรา หรือว่าเราจะเป็น New Normal แบบที่เป็นคนกำหนดทิศทางอนาคตของบริษัทด้วยตัวเราเอง
"แนะนำ Feature Cloud File Sharing เพื่อ Work From Home ได้อย่างมีประสิทธิภาพ" จากสถานการณ์ปัจจุบัน เราจะเห็นว่าหลายองค์กรเริ่มทำงานที่บ้านกันบ้างแล้ว และอาจกำลังมองหา Tools หรือตัวช่วยในการแชร์ข้อมูลระหว่างองค์กร ในบริการที่คล้ายกันสำหรับ Cloud Storage หลายท่านอาจเลือกใช้ OneDrive, Dropbox หรือ Google Drive เป็นต้น ข้อดีของ Cloud Provider เหล่านี้ก็คือมีพื้นให้ใช้ฟรี ซึ่งอาจเริ่มต้นที่่ 5GB ข้อเสียคือข้อมูลเราจะถูกฝากไว้บน Cloud ของผู้ให้บริการ ปัญหาตามมาคือการถึงได้ช้า ไม่ว่าจะเป็นการ Access, Upload, Download รวมถึงปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล Cloud File Sharing จึงเข้ามาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ เนื่องจากเป็น Software Free และรองรับ Enterprise Feature ทั้งหมดตั้งแต่ติดตั้งครั้งแรก Cloud File Sharing ถูกพัฒนาภายใต้พื้นฐานซอร์ฟแวร์ของ Nextcloud ในวันนี้เรามาพูดถึง Feature เด่นๆ ที่มีบน Nextcloud ว่าจะสามารถตอบโจทย์การทำ Work From Home อย่างมีประสิทธิภาพยังไงได้บ้าง Outline: Cloud File Sharing คืออะไร File Sharing Management Document Online with Collaboration Feature Project Planning Feature Appointments and Calendars Online Feature Video Conference and Screen Sharing Feature Cloud File Sharing คือ Cloud File Sharing คือรูปแบบบริการเดียว Private Cloud Storage, Cloud Storage สำหรับบริการไฟล์ พร้อมความสามารถพิเศษสำหรับบริหารจัดการงานภายในองค์กร โดยใช้พื้นฐาน Software ของ NextCloud แตกต่างจาก Cloud Provider อื่นที่ให้บริการในลักษณะของ On-Cloud แต่จะติดตั้งแบบ Self-host หรือ On-premises บน Server ของลูกค้าเอง มีความสามารถหลักๆ ดังนี้ การซิงค์ไฟล์ แชร์ไฟล์กับ User ภายในหรือภายนอกองค์กรได้ สามารถสร้างและจำกัดสิทธิ์ผู้ใช้ในการเข้าถึงไฟล์ รองรับการสร้างและแก้ไขเอกสารออนไลน์พร้อมกันได้ รองรับ Multimedia File หลากหลายประเภท สามารถจัดระบบ Workflow สำหรับการทำงานได้ ปฏิทินออนไลน์และการสร้างตารางนัดหมาย รองรับ Video Conference รองรับการเข้ารหัสไฟล์แบบ End-to-end Encryption Antivirus สำหรับไฟล์และ Ransomware Protection รองรับเชื่อมต่อทั้งบน Desktop และ Smartphone File Sharing Management ฟังก์ชันหลักๆ File Sharing Management คือ File Sharing การ Transfer ownership Group Folder File Access Control File Versioning File Retention Virus Scanning and Ransomware Protection File Sharing ที่นี่เราจะสามารถแชร์ไฟล์หรือโฟล์เดอร์ให้กับ User, Group หรือ User ภายนอกผ่าน Public Link ได้เลยโดยที่เราสามารถจำกัดสิทธิ์ให้กับ User ที่เราต้องการแชร์ได้ เช่น ให้สามารถแก้ไขได้, ให้รีแชร์ได้, ตั้งค่า Expire Date หรือวันหมดอายุของไฟล์ได้ หรือใส่ Note ไปหาผู้รับได้ เราสามารถตั้งค่าการแชร์ได้ดังนี้ อนุญาตให้หรือไม่ให้ User แชร์ไฟล์ อนุญาตให้หรือไม่ให้ User แชร์ Public Link อนุญาตให้หรือไม่ให้ใครก็ตามที่ไม่มี User สามารถ Upload File ได้ บังคับให้ User ตั้ง Password ก่อนแชร์ Public Link ตั้งค่า Expire Date สำหรับ Public Link อนุญาตให้หรือไม่ให้ User สามารถ Re-share ได้ อนุญาตให้หรือไม่ให้ User แชร์กับ Group ได้ จำกัดให้ User สามารถแชร์กับ Group ที่ตนเองมีชื่ออยู่ได้เท่านั้น กำหนด Default Share Permission การ Transfer Ownership เราสามารถเปลี่ยนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของไฟล์หรือโฟลเดอร์ให้กับ User อื่นได้ ตามรูปให้เลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ Transfer เลือก New owner แล้วคลิ๊กที่ Transfer ได้เลย Group Folder ปัญหาของการเก็บไฟล์คือ ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของไฟล์ เนื่องจาก User แต่ละคนก็จะมีวิธีการจัดเก็บไฟล์แตกต่างกัน จึงทำให้การจัดระเบียบของไฟล์ข้อมูลทำได้ค่อนข้างยากครับ เพื่อจัดระเบียบข้อมูลและแก้ปัญหานี้ จึงต้องมีการสร้าง Group Folder ขึ้นมา แล้วบังคับให้เฉพาะ User, Group ที่กำหนด หรือ User ทั้งหมด ให้สร้างหรือ Upload file ไว้ที่ Folder นี้เท่านั้น ตัวอย่างการกำหนดสิทธิ์เช่น สมมติว่าเราสร้าง Folder ชื่อว่า Public Storage ต้องการให้ User ทั้งหมดสามารถเข้ามาสร้าง File, Upload File ไว้ที่นี่ และสมมติว่าเรามี Group ที่มี User ทั้งหมดอยู่แล้วชื่อว่า AllEmployee เราก็แค่กำหนดให้ AllEmployee ใช้ Public Storage ตามรูปข้างบน ที่นี่เรายังสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับ Group ได้เช่น หากเราไม่ต้องการให้ใครก็ตามที่อยู่ใน AllEmployee ลบข้อมูลใน Folder Public Storage เราก็แค่ติ๊ก Delete ออก และหากต้องการให้เฉพาะ Group ของ Manager เท่านั้นที่สามารถลบได้ เราก็ Add Group Manager เข้าไปใน Public Storage แล้วก็เพิ่มสิทธิ์ให้กับ Group Manager โดยให้สิทธิ์ทั้งหมดรวมถึงการ Delete ด้วย นั่นหมายความว่าจะมีเฉพาะ User ที่อยู่ใน Group ของ Manager เท่านั้นที่จะสามารถลบไฟล์ใน Public Storage ได้ โฟล์เดอร์ที่เราสร้างขึ้นมาก็จะโชว์อยู่ที่หน้าแรกของ User ทุกคนที่เราแชร์ให้ตามรูป File Access Control File Access Control ต้องติดตั้ง Apps เพิ่มเติมผ่าน App Store ตัวนี้จะเป็นการสร้างและกำหนด Rule ให้กับไฟล์คล้ายๆ กับการสั่งให้ไฟล์นั้นทำตาม Rule ที่เรากำหนดไว้โดยอัตโนมัติ แยกออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนของ Admin บังคับให้ใช้ Rule ทั้งหมดและส่วนของ User ใช้เฉพาะ User ส่วนของ Admin เราสามารถจัดการเมนูต่างๆ ได้ดังนี้ Block หรือ Denied Access ไม่ว่าจะเป็นการ สร้าง หรือ Upload File แก้ไขไฟล์ ลบไฟล์ Download File Sync กับ Client เช่น Desktop หรือ Smartphone เป็นต้น Automatic Tag การกำหนดให้ไฟล์ที่สร้างใหม่, Upload ใหม่ ติด Tag ที่กำหนดโดยอัตโนมัติ PDF Conversion การกำหนดให้ไฟล์ที่สร้างใหม่, Upload ใหม่ Convert เป็นไฟล์ PDF โดยอัตโนมัติ ตัวอย่าง Rule แรก เป็นการกำหนดให้กลุ่ม Support ไม่สามารถ Access ไฟล์ทั้งหมดได้ตั้งแต่เวลา 17.00 - 09.00 น. Rule ที่สอง เป็นการกำหนดให้กลุ่ม Internal Testers ไม่สามารถ access เข้ามาได้จาก ip 192.168.1.1/16 ได้เป็นต้นครับ ข้อควรระวัง Blocking user groups ตรวจสอบให้แน่ใจว่า Public Link ไม่ได้ถูกสร้างไว้ เนื่องจาก User สามารถ Logout และเรียกไฟล์ผ่าน Public Link ได้ เนื่องจาก User จะไม่ได้อยู่ใน Group หรือ User ที่ถูก Block เพื่อแก้ปัญหาข้อที่ผ่านมา แนะนำให้เพิ่ม Rule เพื่อ Deny โดยใช้ rule not member of External Storage เราไม่สามารถจำกัดการเข้าถึง External Storage จาก Nextcloud ได้ เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าผ่าน External ได้โดยตรง วิธีที่ดีที่สุดคือ Disable Allow users to mount external storage ต่อมาส่วนของ User ที่นี่ User จะสามารถทำ Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสร้างเป็นแผนภูมิรูปภาพหรือเป็นกราฟได้ Automatic Tag การกำหนดให้ไฟล์ที่สร้างใหม่, Upload ใหม่ ติด Tag ที่กำหนดโดยอัตโนมัติ PDF Conversion การกำหนดให้ไฟล์ที่สร้างใหม่, Upload ใหม่ Convert เป็นไฟล์ PDF โดยอัตโนมัติ Write to conversation เพื่อส่งข้อมูลสำหรับสนทนาไปที่ App Talk โดยอัตโนมัติ File Version Control File Version Control คือการทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ทุกครั้งที่มีการแก้ไข เพื่อความสะดวกในการดูข้อมูลย้อนหลังและ Restore ข้อมูล มีเงื่อนไขการเก็บ version ดังนี้ครับคือ File version จะเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขไฟล์มากกว่า 2 นาทีขึ้นไป File version จะเก็บโดยอัตโนมัติโดยใช้ Pattern เหล่านี้ ในวินาทีแรจะเก็บหนึ่งเวอร์ชัน ใน 10 วินาทีแรกจะเก็บหนึ่งเวอร์ชันทุกๆ 2 วินาที ใน 1 นาทีจะเก็บหนึ่งเวอร์ชันทุก ๆ 10 วินาที ใน 1 ชั่วโมงจะเก็บหนึ่งเวอร์ชันทุกๆ นาที ใน 24 ชั่วโมงจะเก็บหนึ่งเวอร์ชันทุกๆ ชั่วโมง ใน 30 วันจะเก็บหนึ่งเวอร์ชันทุกๆ วัน หลัง 30 วันจะเก็บหนึ่งเวอร์ชันทุกๆ สัปดาห์ File version จะใช้ 50% ของพื้นที่ว่างที่เหลืออยู่ แต่ไม่ถูกนับรวมกับพื้นที่ของผู้ใช้ หากเกิน 50% File Version จะถูกลบจนกว่าจะต่ำกว่า 50% วิธีการ Restore ก็แค่กดที่ลูกศรย้อนกลับ File Version ที่ต้องการ หากต้องการดูข้อมูลก่อน Restore ก็คลิ๊กที่ Version นั้นได้เลย ไฟล์จะถูก Download ลงมาที่เครื่อง เราสามารถใช้ Microsoft Office หรือ Document Editing Program อื่นๆ เปิดดูได้เลย File Retention File Retention จะเป็นตัวกำหนดอายุของไฟล์ เช่นต้องการให้ลบไฟล์นั้นโดยอัตโนมัติภายในวันที่กำหนด ใช้ในกรณีที่ไฟล์นั้นสำคัญมากและไม่ต้องการให้เก็บไว้บน Server เผื่อกรณีที่เราลืมลบข้อมูลออกจาก Server และเรายังสามารถเลือกให้ส่งเมล์แจ้งเราก่อนลบหรือให้ลบเลยก็ได้ครับ ส่วนนี้จะกำหนดได้เฉพาะ Admin เท่านั้นนะครับ Virus Scanning คือ Antivirus สำหรับไฟล์ มีความสามารถในการปกป้องข้อมูลโดยการตรวจสอบไฟล์ที่มีความผิดปกติก่อนการ Upload ขึ้นบน Cloud Server ของเรา พร้อมกับแจ้งเตือนผ่าน Admin เมื่อตรวจสอบพบไฟล์ที่เป็น Virus โดยอัตโนมัติ Ransomware protection นอกจาก Antivirus สำหรับไฟล์แล้ว NextCloud ยังมีความสามารถในการป้องกัน Ransomware โดยมีฐานข้อมูลของ Ransomware ขนาดใหญ่พร้อมรองรับการ Update Pattern แบบ Manual ได้อีกด้วยครับ Document Online with Collaboration ความสามารถหลักๆ ของ Feature มีดังนี้ Support Libreoffice, Onlyoffice, Openoffice, Collabora Online เป็นต้น สามารถติดตั้งได้บน Local Server, Remote Server หรือใช้บน On-cloud ของ Onlyoffice Community รองรับการแก้ไขไฟล์มาตรฐานทั่วไปเช่น csv, doc, docx, ppt, xls, xlsx, xlsm, xltx, dotx pdf, txt, epub, ods pptx เป็นต้น รองรับการใช้งานพร้อมกันหลาย User รองรับการ Live Chat ระหว่างแก้ไขเอกสารออนไลน์ รองรับการปกป้องไฟล์ด้วย Watermark หรือการใส่ลายน้ำ ตัวอย่างการเชื่อมต่อกับ Onlyoffice เมื่อเราติดตั้ง App และเชื่อมต่อกับ Onlyoffice Server สำเร็จแล้ว เราสามารถกำหนดไฟล์ต่างๆ ที่ต้องการเปิดหรือแก้ไขได้ที่นี่ได้เลย รวมถึงสามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงให้กับ Group ได้ด้วยครับ หลังจาก Login เข้า NextCloud ที่หน้าแรกจะมีเมนูเพิ่มขึ้นมา สำหรับสร้างไฟล์เอกสารตามรูป ตัวอย่างการทำงานแก้ไขเอกสารร่วมกับ User อื่น ที่หน้าของ Admin เราจะเห็น User1 และ User2 เข้ามาแก้ไขเอกสารพร้อมกัน หรือสามารถสนทนาโต้ตอบกันได้ภายในเอกสารที่กำลังแก้ไขได้แบบ Realtime Project Planning เป็นวิธีบริการจัดการงานหรือการสร้าง Workflow สำหรับงาน App ที่เราต้องติดตั้งคือ Deck App มีความสามารถดังนี้ สร้าง จัดการ Task และลำดับการทำงาน สามารถ Assign Labels หรือ Tag เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการได้ชัดเจนขึ้นได้ สามารถกำหนดเวลาหรือ Due Date ให้กับ Task ได้ สามารถแชร์กับ User หรือ Group ได้ สามารถแนบไฟล์และระบุรายละเอียดเพิ่มเติมใน Task นั้นได้ Timeline สำหรับระบุ Activity และการสนทนาในแต่ละ Task รองรับการแจ้งเตือนผ่าน Notification ได้ เช่นเมื่อถึงกำหนดวัน Due date หรือมีคน Add Task มาให้เราเป็นต้น Trick: เมื่อ Comment ปกติจะไม่มี Alert ที่ Notification เราต้อง @user นั้นๆ หากต้องการให้ User นั้น ๆ รับทราบนะครับ ตัวอย่างการสร้าง เช่นสร้าง Project A และ Project B ตามรูป ที่นี่เราสามารถ Add User และ Group และกำหนดสิทธิ์ให้กับ User และ Group สำหรับจัดการ Project นั้นได้ สามารถสร้างลำดับการทำงานเช่น To do หรือ งานที่จะทำ, งานที่กำลังทำ, งานรอรีวิว และงานที่ทำเสร็จแล้วเป็นต้น สามารถสร้างและกำหนด Tag ได้เอง หรือระบุรายละเอียด คอมเม้นท์ต่างๆ Due date จากที่หน้านี้เลย รวมถึงยังสามารถ Drag and Drop หรือลากวาง Task ได้ Appointments and Calendars Online มี feature ที่น่าสนใจดังนี้ Calendar App Require สามารถ Invite User เข้าร่วมประชุมได้ ตรวจสอบได้ว่า User ที่ Invite ว่างหรือไม่ แชร์ Calendar กับ User และ Group แจ้งเตือนผ่าน Notification และ Email Support iCalendar-compatible หรือ .ics files รองรับการ Sync กับ Software หรือ Device ต่างๆ เช่น Androind, iOS, macOS, Windows 10 เป็นต้น ตัวอย่างการสร้างตารางนัดหมาย ให้คลิ๊กวันที่ต้องการสร้าง ตามรูป แล้วกำหนดรายละเอียดการประชุม Invite คนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถสร้าง Link อัตโนมติ สำหรับการประชุมออนไลน์ผ่าน App Talk จากหน้านี้ได้เลย ตัวอย่าง Calendar เราสามารถ Import file .ics เข้ามาจากเมนู Setting and Import จากด้านล่างซ้ายได้เลยเช่นเดียวกันครับ Video Conferencing and Screen Sharing คือการสนทนาและประชุมออนไล์ จำเป็นต้องติดตั้ง App Talk รองรับการเข้ารหัสแบบ End-to-end encryption มั่นใจได้ว่าผู้ไม่หวังดีจะไม่สามารถดักจับข้อมูลระหว่างทางได้ Support WebRTC cross-platform รองรับ iOS, Android, Chrome, Firefox, Safari เป็นต้น รองรับทั้ง Audio และ Video Call สามารถ Call เฉพาะบุคคลและภายในกลุ่มได้ สามารถสร้าง Meeting Call พร้อมกำหนดรหัสผ่านได้ Integration กับ File และ Calendar สามารถแชร์ไฟล์ร่วมกันได้โดยตรงระหว่างสนทนา และสร้าง Meeting Call ได้โดยอัตโนมัติผ่าน Calendar สามารถแชร์ Screen กับผู้ใช้ได้ มี App ที่รองรับบน Smartphone รองรับการแจ้งเตือนผ่าน Notification รูปตัวอย่างจากเว็บของ Nextcloud Talk เป็นการ Video Conferencing หรือการประชุมออนไลน์ด้วย Video Call สำหรับจำนวนผู้เข้าประชุมที่รองรับได้ Nextcloud Talk ไม่ได้บอกว่าจะสามารถรองรับได้สูงสุดเท่าไหร่ แต่แจ้งว่าหากใช้งานแบบ Enterprise หรือแบบเสียเงิน จะสามารถเปิด HPB หรือ High Performance Back-end จะสามารถรองรับได้กว่า 100 Active User จากปกติจะรองรับได้ประมาณ 30-50 Active ผู้เข้าร่วมเท่านั้น ส่วนราคาสำหรับ Enterprise เริ่มต้น 4500 US per Year หรือประมาณ 146,385 support 50 User ตัวอย่าง Share Screen ให้กับ User อื่นๆ ที่เข้า Meeting สำหรับ Demo งาน เสนองาน หรือ Training online ได้เป็นต้น จบไปแล้วสำหรับ Feature ที่แนะนำสำหรับบทความนี้นะครับ หวังว่าความสามารถทั้งหมดของตัวบริการ Cloud File Sharing ที่มีในบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังมองหา Tools ที่เหมาะสมในการจัดการไฟล์และบริหารจัดการงานภายในองค์กร ในสถานการณ์ COVID-19 นี้ได้อย่างมีประสิทธิครับ หากสนใจคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถติดต่อและทักหาเราได้ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมให้คำแนะนำตลอด 24 ชั่วโมง ----------------------------------------------------------------------- ช่องทางติดต่อเน็ตเวย์ คอมมูนิเคชั่น Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway Facebook : m.me/netway.offcial Tel : 02-055-1095 Email : support@netway.co.th Web Chat : https://netway.co.th/ #เน็ตเวย์ช่วยคุณได้ #Support24ชั่วโมง #เลี่ยงความเสี่ยง #Covid19