สามารถดำเนินการได้ตามนี้ครับ https://docs.microsoft.com/en-us/azure/backup/backup-azure-restore-windows-server
การ Backup ข้อมูลเก็บไว้บน Cloud กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเรื่องของความปลอดภัย และง่ายต่อการจัดการ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ต่อพ่วงมากมายเหมือนแต่ก่อน หัวข้อนี้จะเป็นการนำเสนอวิธีการ Backup MSSQL from On-premise to Azure เริ่มต้นเราต้องมี Email Account Microsoft ก่อนนะครับ หากยังไม่มีก็สมัครให้เรียบร้อยก่อน วิธีการ Backup MSSQL from On-premise to Azure ขั้นแรก หลังจากเรา login เข้า azure portal แล้ว ให้เราทำการสร้าง Storage accounts สำหรับจัดเก็บข้อมูลก่อนนะครับ โดยให้เข้าไปที่ Home >> Storage account >> Add กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน หลังจากได้ Storage account แล้ว ให้คลิ๊กเข้าไปที่ชื่อ Storage account ที่เราสร้างไว้ เพื่อที่จะทำการสร้าง Containers ทำการสร้าง Containers โดยเข้าไปที่ และให้คลิ๊กที่ปุ่ม ทำการใส่ชื่อ container และเลือกโหมดการใช้งานที่ต้องการ ซึ่งแต่ละโหมดจะมีคำอธิบายอยู่ด้านท้าย หลังจากสร้าง container เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเข้าไปดู URL เพื่อใช้ทำการ backup ได้ หรือดูรายละเอียดการใช้งานต่างๆ ได้ จากหน้านี้ หากเสร็จแล้ว เราก็จะเริ่มทำการ backup MSSQL โดยให้เข้าไปที่ Microsoft SQL Server Mangement Studio (SSMS) >> Database ที่ต้องการทำ Backup โดยคลิ๊กขวาที่ DB >> Task >> Backup ส่วนของ Destination ให้เลือก Backup To : URL แล้วให้เลือก Add ให้เลือก New container จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เราทำการ Sign In Azure Account เมื่อเราทำการ sign in แล้ว จะมีข้อมูลที่เราได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ เช่น storage account ,blob container และ ให้เราเลือก Create Credential หากดำเนินการแล้ว เราจะได้ Storage ที่พร้อมสำหรับการทำ Backup MSSQL ถึงตรงนี้แล้ว เราก็กด OK เพื่อทำการ Backup หากเราทำการ Backup เรียบร้อยแล้ว ให้ไปตรวจสอบที่หน้า azure portal ก็จะมีข้อมูล Backup เข้ามาจัดเก็บแล้วครับ เพียงเท่านี้เราก็จะมีข้อมูลสำรองไว้ใช้งานแล้วครับ
Backup บน Azure ดีอย่างไร Azure Backup คือบริการสำรองข้อมูลบนระบบ Cloud ของ Microsoft ที่มีความเสถียรและความปลอดภัยที่สูงมาก โดยมีการการรันตีการใช้งานอยู่ที่ 99.99% และมีรูปแบบการใช้งานต่างๆ ให้เหมาะสมกับความต้องการอีกด้วย Backup System State เก็บข้อมูลอะไรบ้าง System state จะเก็บข้อมูลทั้งหมดของระบบ OS Windows ซึ่งรวมถึง Active Directory ,File Serer ,IIS Recovery services vault คืออะไร Recovery services vault คือ บริการสำหรับการสำรองข้อมูล ที่สามารถบริหารจัดการต่างๆ ได้เสมือนกับการใช้งานบน virtual machines (VMs) โดยสามารถใช้ Recovery Services เพื่อเก็บสำรองข้อมูลบริการต่างๆของ Azure เช่นฐานข้อมูล IaaS VMs (Linux หรือ Windows) และ Azure SQL ห้องนิรภัย Recovery Services รองรับ System Center DPM, Windows Server, Azure Backup Server และอื่น ๆ สามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้หรือไม่ Azure backup สามารถใช้งานได้ทั้งบน Computer PC ,Notebook ,Server หรือ VM ต่างๆ ได้ทั้งหมด ที่ใช้งาน OS Windows คิดค่าบริการอย่างไร บริการของ Windows Azure จะเป็นการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงเท่านั้น สำหรับบริการ Azure Backup จะคิดค่าบริการดังนี้ SIZE OF EACH INSTANCE AZURE BACKUP PRICE PER MONTH Instance < or = 50 GB $5 + storage consumed Instance is > 50 but < or = 500 GB $10 + storage consumed Instance > 500 GB $10 for each 500 GB increment + storage consumedตัวอย่างเช่น เราต้องการ Backup พื้นที่ 1.4 TB เราจะมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นอยู่ 30$ คือ ค่าใช้จ่ายการใช้งาน 500 GB 2 ก้อน เท่ากับ 10$ * 2 คือ 20$ และส่วนของ 400GB อีก 10$ รวมเป็น 30$ จำกัดพื้นที่การใช้งานหรือไม่ Azure Backup จะไม่จำกัดพื้นที่การใช้งาน โดยจะมีการเพิ่มพื้นที่ให้โดยอัตโนมัติ ทำให้เราไม่ต้องคอยกังวลเรื่องพื้นที่เต็ม และยังเป็นการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงอีกด้วย จำกัดขนาดไฟล์ที่ใช้งานหรือไม่ Azure Backup มีการจำกัดขนาดไฟล์ Snapshot ของ VM อยู่ที่ 4TB ต่อ VM และเก็บย้อนหลังได้ถึง 7 วัน
ปัญหา 1. Hardware Health Status บน VMware แสดง Error - Battery 2 Megacell Status: Failed-Assert - Storage HP Smart Array P440ar RAID Controller: Slot1: HPSA1 2. ไฟ Status หน้าเครื่องขึ้นสีส้ม สาเหตุ เกิดจาก Battery Bios มีปัญหาหรือเสื่อมอายุใช้งาน การแก้ไข ต้องดำเนินการเปลี่ยน Battery Bios มีขั้นตอนและวิธีการดังนี้ 1. ติดต่อ HPE call center (021186300 หรือ 02-118-6000) พร้อม Service Tag เพื่อเปิดเคสกับ HP 2. รอ HPE แจ้งเลขที่ Support Case Number 3. แจ้ง Support Case Number และส่งเรื่องไปที่ฝ่ายบริการ อีเมล์ worakarn.inthalaeng@hpe.com, tanyakorn.tankulrat@hpe.com และ tha_crr1@hpe.com 4. ตรวจสอบ Alert ว่ายังคงมีอยู่หรือไม่
ตัวอย่าง Error Subject: 3PAR-SGH611WJRT-8:(Major)PD16|comp_sw_cage_sled17592186044416 COMP_ST Customer notification from HP SPSGH611WJRT Realtime Alert ProcessNotification id: P3629Notify time: 2019/01/28 13:18:55.00 (User, +0700 ICT)Installed machine: 3PAR INSERV SGH611WJRTSite: 1, CustomerEvent urgency: alertEvent count: 1Event location: SiteEvent time: 2019/01/28 13:49:13.00 (-0800 PST)Event description: 3PAR INSERV Component state changeAbstract:(Major)PD16|comp_sw_cage_sled17592186044416 COMP_STATE failed. Physical Disk vacText:Event id: 8601454 Node 0 Cust Alert - Yes, Svc Alert - Yes Severity: Major Event time: Mon Jan 28 13:49:13 2019Event type: Component state change Alert ID: 99 Msg ID: 600faComponent: Physical Disk 16 Magazine 17592186044416 Short Dsc: Magazine 0:16:0, Physical Disk 16 Failed Event String: Magazine 0:16:0, Physical Disk 16 Failed (Vacated {0x45}, Missing {0x81}, Invalid Media {0x98}, Smart Threshold Exceeded {0x9a}, Servicing {0x12})TPD level for InServ SGH611WJRT is 3.2.2.612 ปัญหา: เกิดจาก Harddisk ลูกใดลูกหนึ่งที่ 3PAR SAN Storage มีปัญหา ถ้าตรวจสอบที่หน้าเครื่องจะพบไฟแสดงสถานะสีแดงขึ้นที่ Harddisk ลูกที่มีปัญหา การแก้ไข: โดยปกติถ้ามี Error เกิดขึ้นจะมี Email Alert แจ้งไปที่ HPE 3PAR Support (หรือ HPE เรียกว่า Call Home Monitor) และมี Email Alert แจ้งมาที่ EzyAdmin การแก้ปัญหาต้องแจ้งกับทาง HPE เพื่อดำเนินการเปลี่ยน Harddisk มีขั้นตอนดังนี้ 1. ติดต่อ HPE call center (021186300 หรือ 02-118-6000) เพื่อเปิดเคสกับ HP 2. รอ HPE แจ้งเลขที่ Support Case Number 3. แจ้ง Support Case Number และส่งเรื่องไปที่ฝ่ายบริการ อีเมล์ worakarn.inthalaeng@hpe.com, tanyakorn.tankulrat@hpe.com และ tha_crr1@hpe.com 4. นัดวันเวลาเพื่อดำเนินการเปลี่ยน Harddisk (ขั้นตอนนี้เราจำเป็นต้องเข้าไปที่ NOC กับทาง HPE เพื่อเปลี่ยน Harddisk) 5. รอการตรวจสอบและแก้ไข (การเปลี่ยน Harddisk จะต้องรอ Update หรือ Sync ข้อมูลใหม่ภายใน 14 ชั่วโมง ซึ่งไม่มีผลต่อการใช้งานแต่สถานะที่ Harddisk จะยังคง Alert อยู่)