วิธีป้องกันเงินในบัญชีหาย เริ่มง่ายๆ ที่ตัวเองและคนใกล้ตัว จากการที่มี "แก๊งดูดเงิน" ระบาดหนักในไทย ทำให้มีผู้เสียหาย ถูกตัดเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิตและเงินหายจากบัญชีโดยไม่รู้ตัวในฐานะผู้บริโภคอย่างเรา สามารถรับมือปัญหาจากภัยที่ถูกตัดเงินหรือเงินหายจากบัญชีโดยไม่รู้ตัวได้ดังนี้ 5 วิธีรับมือภัย e-Payment1. ระวังการกรอกกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือให้ข้อมูลสำคัญทางธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมล หรือ แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น แอพพลิเคชันสินเชื่อให้เงินกู้ เกมออนไลน์2. ควรกำหนดวงเงินการใช้จ่ายของบัตรเดบิต หรือ บัตรเครดิตให้เหมาะสมเพื่อจำกัดมูลค่าความเสียหาย บางกรณีอาจเลือกตั้งค่าวงเงินให้ต่ำสุดที่ระบบรองรับได้ และปรับแต่งอีกครั้งเมื่อมีการเรียกใช้งาน3. เลือกใช้ช่องทางการแจ้งเตือนการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวของบัญชีหรือบัตรเครดิต เช่น แจ้งยอดการเคลื่อนไหวของบัญชีออมทรัพย์ หรือ ยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตผ่าน SMS การตั้งค่าเตือนผ่านแอพพลิเคชัน4. หมั่นสังเกตเงินในบัญชีตนเองว่ามียอดลดลงหรือไม่ หรือหากพบการใช้งานที่ผิดปกติควรรีบติดต่อ call center หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตรโดยด่วนเพื่อแจ้งตรวจสอบ หรือ แก้ไขการทำธุรกรรมในทันที5. หากได้รับการประสานจากธนาคารถึงความผิดปกติทั้งจากทางอีเมล หรือโทรศัพท์ เช่น การล็อกอินเข้าสู่ระบบที่ผิดปกติ การเปลี่ยนข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ที่ผูกกับบัญชีบัตร ให้รับทราบ และประสานกลับตามช่องทาง call center ปกติ ของธนาคาร เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นช่องทางจากธนาคารจริง หากเป็นการแจ้งจากธนาคารจริง ให้เฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อจากนี้ เช่น การนำรหัสผ่านไปใช้งานต่อ การเปลี่ยนอาจมีการฝังมัลแวร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้งานเพื่อเฝ้าดูพฤติกรรมตลอดเวลาเมื่อเกิดปัญหาแล้วควรทำอย่างไร?-รีบแจ้งอายัดบัตรเดบิต หรือ บัตรเครดิตทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเลขหน้าบัตร รวมถึงรหัส cvv ไปใช้-ติดต่อ call center ของธนาคารต้นเรื่อง และปฏิเสธการจ่ายรายการหรือธุรกรรมที่ผิดปกติ-เก็บหลักฐานทั้งหมดที่ได้รับ เช่น SMS หน้าจอ วงเงิน statement ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ
Take the Zero Trust maturity assessment to see where you stand (English Content Below) ในรอบปีที่ผ่านมา ในแวดวงธุรกิจมีความตื่นตัวเรื่อง cybersecurity และกังวลผลกระทบของ ransomware หรือ malware มากขึ้น แสดงให้เห็นว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้อีกต่อไป ไม่ว่าสำหรับ SME หรือ Enterprise หรือในอุตสาหกรรมใด สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมซึ่งเป็นการทำงาน on-site สู่การทำงานแบบ hybrid อย่างเต็มตัวในบางองค์กร ทำให้หลายองค์กรตกเป็นเป้าของผู้ประสงค์ร้ายไปโดยไม่รู้ตัว ขณะที่เทคนิคการจู่โจมบางอย่างที่สร้างความเสียหายได้อย่างร้ายแรงอยู่แล้วแต่เดิม ก็มีพัฒนาการจนแม่นยำและอันตรายยิ่งกว่าเดิมเสียอีกทั้งหมดนี้ทำให้แนวคิดการรักษาความปลอดภัยเชิงรุกแบบ Zero Trust ยิ่งทวีความสำคัญ ด้วยหลักการที่มุ่งตรวจสอบข้อมูลจากทุกแหล่งที่มี เพื่อยืนยันให้มั่นใจว่าทุกคำขอใช้งานระบบหรือข้อมูลเป็นของจริง จากผู้ใช้ตัวจริง และไม่ได้มุ่งก่อให้เกิดความเสียหายก่อนจะเริ่มดำเนินการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยแบบ Zero Trust สิ่งสำคัญลำดับแรกคือต้องประเมินมาตรฐานระบบความปลอดภัยขององค์กรในขณะนั้นเสียก่อนว่าอยู่ในจุดไหน และยังต้องยกระดับระบบความปลอดภัยในส่วนไหนบ้าง ดังนั้น ไมโครซอฟท์จึงได้พัฒนา Zero Trust Maturity Model ขึ้น เพื่อใช้ประเมินความสามารถขององค์กรในการปกป้องระบบ ข้อมูล และผู้ใช้ ภายใต้หลักการของ Zero Trust โมเดลนี้ แบ่งองค์กรออกเป็น 3 ระดับหลักๆ ตามความพร้อม ได้แก่ขั้นดั้งเดิม (Traditional): องค์กรส่วนใหญ่มักจะอยู่ในระยะนี้ หากพวกเขายังไม่ได้เริ่มต้นการเดินทางตามแนวทาง Zero Trust องค์กรกลุ่มนี้ยังคงบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ด้วยโลกทัศน์แบบเดิมว่า การแบ่งแยกโซน Internet และ Intranet ออกจากกันนั้นเพียงพอแล้วที่จะสร้างความปลอดภัย ยังไม่มีการป้องกันในเรื่องของตัวตนผู้ใช้และข้อมูลอย่างเพียงพอ รวมถึงยังไม่รองรับการใช้งานอุปกรณ์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะในสถานการณ์ Work From Home บางองค์กรมีการยืนยันตัวตนผู้ใช้ด้วยระบบภายในองค์กรเท่านั้น ไม่ใช้คลาวด์เข้ามารองรับ และมีกฎการเข้าใช้งานที่ตายตัว ไม่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์จริง และอาจเริ่มใช้ระบบ Single sign-on (SSO) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหลายระบบในองค์กรด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเพียงชื่อเดียว ส่วนในด้านการเฝ้าระวังนั้น อาจมีข้อมูลไม่มากนักในการดูแลความปลอดภัยที่อุปกรณ์ปลายทาง ระบบคลาวด์ หรือผู้ใช้ที่เชื่อมต่อเข้ามา ซึ่งองค์กรในประเทศไทยส่วนใหญ่จัดอยู่ในระดับนี้ทั้งสิ้นขั้นสูง (Advanced): ในขั้นนี้องค์กรต่างๆ ได้เริ่มต้นดำเนินนโยบายภายใต้แนวคิด Zero Trust บ้างแล้วและมีความคืบหน้าในประเด็นสำคัญบางประการ กล่าวคือ ออกแบบระบบความปลอดภัยที่เน้นไปที่การยืนยันตัวตนของผู้ใช้ การบริหารจัดการอุปกรณ์ที่ยืดหยุ่น และควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น มีการใช้ระบบยืนยันตัวตนแบบผสมที่นำคลาวด์เข้ามารองรับ และมีการปรับแนวทางการเข้าใช้งานข้อมูล แอป และเครือข่ายให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานจริง ส่วนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาก็ได้รับการลงทะเบียนและขึ้นตรงต่อนโยบายความปลอดภัยด้านไอทีเรียบร้อยแล้ว รวมถึงมีระบบป้องกันภัยคุกคามบนคลาวด์ นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) เพื่อประเมินพฤติกรรมของผู้ใช้และการระบุภัยคุกคามในเชิงรุกอีกด้วยขั้นสมบูรณ์ (Optimal): องค์กรที่อยู่ในระดับนี้ ถือได้ว่ามีการปรับปรุงระบบความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม และต่อยอดไปสู่การทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น ลดภาระงานที่ต้องใช้คนเข้าไปบริหารจัดการ จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดจากมนุษย์ ตัวอย่างเช่น มีการใช้คลาวด์ยืนยันตัวตนผู้ใช้เพื่อให้ยืนยันข้อมูลจากทุกภาคส่วนได้ครบถ้วนที่สุด พร้อมด้วยระบบวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ที่อาจเปิดหรือปิดกั้นการเข้าใช้งานได้ตามความเสี่ยงที่ตรวจพบ ขณะที่นโยบายการเข้าถึงและแชร์ข้อมูลในองค์กรก็มีนโยบายและกฎเกณฑ์ชัดเจนที่บังคับใช้ผ่านคลาวด์ พร้อมทำการเข้ารหัสและติดตามการเคลื่อนย้ายข้อมูลอย่างทั่วถึงในทุกก้าว นอกจากนี้ ระบบยังปฏิเสธที่จะเชื่อหรือยกผลประโยชน์ให้กับผู้ใช้โดยอัตโนมัติ และจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดทุกครั้ง รวมถึงแบ่งเขตการเข้าใช้งานระบบในองค์กรให้ชัดเจน เพื่อความมั่นใจว่าผู้ใช้ที่เข้ามาเป็นตัวจริง และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากเป็นผู้ประสงค์ร้ายแทรกซึมเข้ามา ส่วนการตรวจจับภัยคุกคามก็ดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติเต็มรูปแบบ รวมถึงในขั้นตอนการตอบสนองกับการจู่โจมด้วยดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้คุณทำทดสอบประเมินนี้ เพื่อจะได้วัดระดับ Zero Trust ของคุณ ก่อนที่จะแนะนำแนวทางที่เหมาะสมTake the Assess Take the Zero Trust maturity assessment to see where you standเชิญทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความสามารถขององค์กรในการปกป้องระบบ ข้อมูล และผู้ใช้ ภายใต้หลักการของ Zero Trust แบบทดสอบนี้ถูกออกแบบคำถามในเรื่อง Identities (ข้อมูลประจำตัว), Endpoints, Apps, Infrastructure, Data (ข้อมูล), และ Network (เครือข่าย) ทำแบบทดสอบ > Zero Trust security protects people, devices, apps, and data wherever they’re located. Instead of assuming everything behind the corporate firewall is safe, the Zero Trust model assumes breach and verifies each request as though it originates from an open network. Regardless of where the request originates or what resource it accesses, Zero Trust teaches us to “never trust, always verify.” The Zero Trust maturity assessment will help you determine where you are in your journey across your identities, devices, apps, infrastructure, network, and data. Find out what Zero Trust maturity stage your organization has reached – Traditional, Advanced, or Optimal – and get recommendations on how to progress to the next stage. Take the Assess
องค์กรขนาดเล็ก MS Teams สามารถช่วยให้พนักงานมีส่วนเข้าร่วมในองค์กรมากขึ้น เช่น แช้ทออกความเห็นในกลุ่มประชาสัมพันธ์ขององค์กร หรือ สอบถามข้อสังสัย ขอความช่วยเหลือได้รวดเร็ว องค์กรขนาดใหญ่ MS Teams มีส่วนช่วยให้ความหลากหลายขององค์กรไม่กระจัดกระจาย นอกจากการประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกแผนก ทุกสาขา ทุกภูมิภาค ทุกประเทศทั่วโลกแล้ว ความปลอดภัยในการเข้าถึง และการจัดกลุ่มเป้าหมายได้เหมาะสมยังช่วยให้การสื่อสารระหว่างองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น ลดเวลา และลดต้นทุนในการหาเครื่องมือการใช้งานและการรักษาความปลอดภัยให้กับการเข้าถึงเครื่องมือเหล่านั้นอีกด้วย
Microsoft Teams in the office การทำงานแบบ Hybrid ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเราได้เตรียมเอกสารในรูปแบบของ infographic เพื่อให้คุณเข้าใจ concept ง่ายๆ ว่า Microsoft Teams จะสามารถช่วยให้การทำงานรูปแบบ Hybrid Work หรือ Remote Working เกิดประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยได้อย่างไร Infographic: Microsoft Teams in the office การทำงานแบบ Hybrid ที่มีประสิทธิภาพ ฏนDownload ประชุมออนไลน์แบบมือโปรด้วย Microsoft TeamsPresenter Mode แสดงภาพตัวเองพร้อมการนำเสนอเนื้อหาและสามารถให้ผู้อื่นช่วยควบคุมได้อีกด้วยPowerPoint Live ให้การประชุมที่มีผู้นำเสนอหลายคนสลับกันควบคุมสไลด์Waiting in lobbyLobby พนักงานต่างแผนกที่ต้องร่วมประชุมสามารถรอเข้าประชุมในส่วนของ Lobby ได้Meeting Video Recording บันทึกการประชุมในรูปแบบวิดีโอเพื่อรับชมย้อนหลังได้ Webinar with Microsoft Teams จัดสัมมนาออนไลน์ขนาดใหญ่ได้ง่ายๆจัดสัมมนาออนไลน์ขนาดใหญ่ได้ รองรับ Host ได้ถึง 1,000 คน และรองรับผู้เข้าร่วมได้มากถึง 10,000 คนตรวจสอบและเก็บข้อมูลผู้ร่วมสัมมนาได้จัดรูปแบบการแสดงผลได้สร้างฟอร์มลงทะเบียนแบ่งห้องสัมมนาย่อยได้กำหนดสิทธิ์ในการจัดการได้เช็คให้ชัวร์ก่อนออนไลน์ด้วย Call Healthเราดีใจที่คุณยังนึกถึงเรา 👧🧔 และพร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ผ่านทุกช่องทางที่คุณสะดวก 🖥 Web Chat: [[URL]] 📞 Tel: 02-055-1095 💙 Facebook Messenger: @netway.official 💚 Line ID: @netway หรือ https://bit.ly/line-netway 📧 Email: support@netway.co.th
Microsoft เปิดให้ใช้งาน Outlook for Mac ฟรี โดยไม่ต้องสมัคร Microsoft 365 หรือใช้ Office เหมือนแต่ก่อน ไมโครซอฟท์ประกาศการเปลี่ยนแปลงของแอป Microsoft Outlook for macOS จากเดิมผู้ที่ใช้งานต้อมสมัครใช้ Microsoft 365 หรือมีไลเซนส์ Office แต่จากนี้ไม่ต้องมีเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว จึงรองรับผู้ใช้งานฟรีทั่วไปทุกคนด้วย Outlook for Mac นอกจากรองรับอีเมล Outlook.com แล้ว ยังรองรับการทำงานร่วมกับอีเมลอื่นทั้ง Gmail, iCloud, Yahoo และอีเมลอื่นที่รองรับ IMAP ไมโครซอฟท์ ยกเครื่อง Outlook for Mac มาตั้งแต่ปี 2020 รองรับดีไซน์ใหม่ให้เข้ากับ macOS รุ่นใหม่ รวมทั้งรองรับคุณสมบัติพื้นฐานใหม่ ๆ ใน Mac ทั้ง Notification Center, Widget และ Handoff ล่าสุด ไมโครซอฟท์เปิดตัว Outlook for Mac เวอร์ชันใหม่ ปรับโฉมหน้าใหม่ รองรับธีมแบบใหม่ของ macOS Big Sur และเพิ่มฟีเจอร์หลายอย่าง ที่เวอร์ชันแมคเคยล้าหลังเวอร์ชันอื่นๆ โดยเฉพาะจากพีซี สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของ Outlook for Mac ตัวนี้ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องดีไซน์ ที่ไมโครซอฟท์ระบุว่าตั้งใจทำมาอย่างดี โดยผสมแนวทางของ Big Sur เพื่อให้เข้าถึงความเป็นแมคจริงๆ เข้ากับชุดไอคอน Fluent ของไมโครซอฟท์เองเพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่น แถมยังรองรับ Dark Mode ตามสมัยนิยมครบถ้วน ในแง่การใช้งาน Outlook for Mac ตัวใหม่เปลี่ยนมาใช้เอนจินการซิงก์ข้อมูลตัวใหม่ ที่ทำงานได้เร็วกว่าเดิม ทั้งการโหลดเมล ซิงก์เมล ค้นหาอีเมล ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มมาคือแถบ My Day แสดงรายการที่ต้องทำในหน้าหลักของ Outlook ที่แสดงอีเมล, Unified Inbox รวมเมลจากทุกบัญชีในกล่องเดียว และระบบค้นหาแบบใหม่ที่ค้นเมลจากทุกบัญชี, Calendar ปรับปรุงใหม่ จัดกลุ่มปฏิทินแยกตามบัญชีได้ง่ายขึ้น Outlook for Mac เวอร์ชันใหม่จะเปิดให้ทุกคนใช้งานในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ Outlook for Mac เวอร์ชันล่าสุดสามารถดาวน์โหลดได้ที่ Mac App StoreReference: