Netway Combo - July 2024 ห้ามพลาด การอัพเดตข่าวสารจาก Google และ cPanel ข่าวสารเรื่องความปลอดภัยระบบเว็บไซต์ Google เข้มเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ กระทบ Entrust และ AffirmTrust SSL Certificate https://tinyurl.com/5932fkby Google Meet เพิ่มการแปลคำบรรยายเป็นภาษาต่างๆ มากขึ้นโดยอัตโนมัติ https://tinyurl.com/3dnau27j cPanel Update: การอัปเดตระบบปฏิบัติการ Extended Lifecycle Support OSes https://tinyurl.com/y8e6b9pv Why Continuous Monitoring is a Cybersecurity Must https://tinyurl.com/3aytn7tf สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือคำติชมใดๆ สามารถติดต่อ Netway Communication ได้ 24 ชม. Tel: 02 055 1095 Email: support@netway.co.th Web chat: [[URL]]/ Facebook Messenger: @netway.official หรือ https://www.facebook.com/netway.official Add Line ID: @netway, https://bit.ly/line-netway #GoogleWorkspace #cPanel #Hosting #SSL
Why Continuous Monitoring is a Cybersecurity Must ทำไม Continuous Monitoring จึงเป็นสิ่งจำเป็นด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Continuous monitoring เป็นกระบวนการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดและปัญหาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ เหมาะสำหรับองค์กรโดยเน้นใช้กับบระบบไอทีและเครือข่ายเพื่อตรวจจับภัยคุกคามความปลอดภัยในลักษณะอัตโนมัติ ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบเดิมๆ ยังไม่เพียงพอ การเฝ้าระวังที่ดีคือการตรวจสอบจุดอ่อนอยู่ตลอดเวลาแบบอัตโนมัติ มันจะส่งสัญญานเตือนก่อนที่ผู้โจมตีจะเข้ามาโจมตีระบบ เพราะเหตุใด Continuous Monitoring จึงมีความสำคัญ มีสาเหตุหลายประการที่ต้องคอยเฝ้าระวังเครือข่ายของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจทุกขนาด การละเมิดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การโจมตีทางไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่วินาที ผู้ที่โจมตีใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ก่อนที่คุณจะรู้ตัว Continuous Monitoring ให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณสามารถระบุและป้องกันต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ภัยคุกคามขั้นสูงจำเป็นต้องมีการป้องกันขั้นสูง แฮกเกอร์กำลังพัฒนาเทคนิคที่ซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง บางส่วนสามารถเลี่ยงการป้องกันแบบดั้งเดิมได้ การตรวจสอบก็ต้องเจาะลึกยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน โดยจะวิเคราะห์การรับส่งข้อมูลเครือข่าย พฤติกรรมผู้ใช้ และการบันทึกของระบบ ตรวจสอบซอสโค้ด (source code) ที่แอบฝังตัวหรือซ่อนอยู่ภายในเครือข่ายของคุณ ข้อกำหนด/กฎระเบียบที่ควรปฏิบัติ กฎระเบียบทางอุตสาหกรรมและกฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลหลายฉบับกำหนดให้องค์กรต้องมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง การไม่ปฏิบัติตามอาจส่งผลให้เกิดค่าปรับจำนวนมากและความเสียหายต่อชื่อเสียงองค์กร ความอุ่นใจและต้นทุนที่ลดลง Monitoring ใช้ในการเฝ้าระวังคอยตรวจสอบช่วยป้องกันการโจมตีจากช่องโหว่ที่มีความเสี่ยงสูง ลด Cost and Downtime นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระงานให้กับทีมรักษาความปลอดภัยอีกด้วย ทำให้งานในแต่ละวันผ่านไปได้อย่างราบรื่น ทำให้พวกเขามุ่งเน้นงานด้านอื่นๆได้อย่างสะดวกมีเวลาคิดงานในเชิงกลยุทธ์ได้มากขึ้น ลักษณะการทำงานอย่างไร Continuous Monitoring การตรวจสอบไม่ใช่เครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่ต้องใช้ แต่ยังมีแนวทางและองค์ประกอบอื่นๆ คือ - Log Management บันทึกความปลอดภัยจะถูกรวบรวมและวิเคราะห์สำหรับกิจกรรมที่น่าสงสัย ที่เก็บบันทึกมาจากไฟร์วอลล์ (firewalls) อุปกรณ์ และแอปพลิเคชัน - Security Information and Event Management (SIEM) ระบบ SIEM รวบรวมข้อมูลความปลอดภัย สามารถเข้าถึงแหล่งต่างๆ รวบรวมข้อมูลให้เห็นมุมมองของการรักษาความปลอดภัยของคุณและระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น - Vulnerability Scanning การสแกนเป็นประจำจะระบุจุดอ่อนหรือจุดเสี่ยงในระบบและแอปพลิเคชันของคุณ วิธีนี้ช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาก่อนที่ผู้โจมตีจะเข้ามาโจมตีระบบ - User Activity Monitoring การตรวจสอบพฤติกรรมผู้ใช้สามารถระบุกิจกรรมที่น่าสงสัยได้ ตัวอย่างเช่น ความพยายามในการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการขโมยข้อมูล - Network Traffic Analysis การวิเคราะห์การรับส่งข้อมูลเครือข่าย การตรวจสอบการรับส่งข้อมูลเครือข่าย สามารถเปิดเผยความเสี่ยงหลายประการ เช่น มัลแวร์ (Malware) รูปแบบการสื่อสารที่น่าสงสัย พยายามที่จะโจมตีระบบการป้องกันเครือข่ายของคุณ ประโยชน์ที่เหนือกว่าการตรวจจับภัยคุกคาม Continuous Monitoring การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องมีข้อดีไม่ใช่แค่การแจ้งผลภัยคุกคาม ยังมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ปรับปรุงความแม่นยำในการตรวจจับภัยคุกคาม Continuous monitoring จะช่วยลดการประมวลผลลวงที่ไม่ถูกต้องโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยมุ่งเน้นไปที่ภัยคุกคามที่แท้จริงได้ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น การแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ ช่วยให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้เร็วขึ้น และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ช่วยในการระบุช่องโหว่ ช่วยให้คุณจัดอันดับความเสี่ยงในการแพตช์โปรแกรม (Patch) และการแก้ไข สิ่งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับมาตรการรักษาความปลอดภัยของคุณ การรายงานการปฏิบัติตามข้อกำหนด สามารถสร้างรายงานได้ สิ่งนี้ช่วยให้มีหลักฐานการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในระหว่างการตรวจสอบอีกด้วย เน็ตเวย์ คอมมูนิเคชั่น มีบริการสำหรับดูแลเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) โดยใช้เครื่องมือสแกนความปลอดภัยตามมาตรฐาน ITIL Service Management และ Report พร้อมกับระบบ Monitoring ที่มีคุณภาพด้วยบริการ Managed Server Services อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก Managed Server Services สามารถติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ของ Netway Communication ได้ตลอด 24 ชม. Email: support@netway.co.th Line ID: @netwayTel: 02 055 1095 อ้างอิง: thetechnologypress
Extended Lifecycle Support OSes Update ตามที่ cPanel เคยแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับ CentOS 7 และ CloudLinux 7 จะยุติการซัพพอร์ตระบบนี้ End-of-Life (EOL) วันที่ 30 มิถุนายน 2024 โดยผู้จําหน่ายที่เกี่ยวข้อง ระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะไม่ได้รับการอัปเดตความปลอดภัยอีกต่อไป A Safe Migration การโยกย้ายที่ปลอดภัย เนื่องจากการย้ายไปยังระบบปฏิบัติการใหม่อาจต้องใช้เวลา นั่นเป็นเหตุผลที่ cPanel เสนอทางเลือกสองสามทางเพื่อช่วยเหลือคุณตลอดการเปลี่ยนแปลงนี้ Migration Tools เครื่องมือการย้ายข้อมูล : cPanel นําเสนอเครื่องมือการย้ายข้อมูล ที่ใช้งานง่ายเพื่อช่วยย้ายระบบและการตั้งค่าไปยังระบบปฏิบัติการที่รองรับ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือ Transfer Tool In-place OS Upgrades การอัปเกรดระบบ : เครื่องมือ cPanel ELevate Tool ได้รับการออกแบบมาเพื่ออํานวยความสะดวกในการอัปเกรดระหว่างการติดตั้ง RHEL 7 ถึง RHEL 8 Extended Lifecycle Support (ELS) : เซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดที่ใช้ CentOS 7 หรือ CloudLinux 7 บน cPanel v110 ยังพอเบาใจได้ โดยในโปรแกรม Extended Lifecycle Support ในช่วงเวลานี้จะร่วมมือกับ TuxCare คอยสนับสนุนอัปเดตความปลอดภัยที่สําคัญๆให้กับผู้ใช้ CentOS 7 และ CloudLinux 7 อีกทั้ง cPanel ยังคงอัปเดตความปลอดภัยที่สําคัญและการสนับสนุนทางเทคนิคสําหรับ cPanel เวอร์ชั่น v110 Extended Lifecycle Support program ข้อมูลสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับ Extended Lifecycle Support: โปรแกรม ELS นี้จะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2024 ถึง 1 มกราคม 2026 จะมีค่าธรรมเนียม ELS รายเดือนเพิ่มเติมต่อใบอนุญาต (Licenses) ที่เข้าเงื่อนไขเพื่อครอบคลุมการอัปเดตความปลอดภัยเพิ่มเติมจะเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2024 ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะยังคงถูกเรียกเก็บต่อไปจนกว่าระบบปฏิบัติการพื้นฐานจะได้รับการอัปเกรดเป็นเวอร์ชั่นที่รองรับ โดยให้ความคุ้มครองฟรีหนึ่งเดือนตลอดเดือนกรกฎาคม 2024 และหลังจาก 6 เดือน ( 1 มกราคม 2025 ) ค่าธรรมเนียมนี้อาจเพิ่มขึ้น ส่วนใบอนุญาต (Licenses) ที่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการที่รองรับแล้ว จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ELS เพิ่มเติม ฉะนั้นการดูแลรักษาเว็บไซต์ของคุณให้ปลอดภัยและทํางานได้อย่างราบรื่น cPanel แนะนําให้คุณเริ่มวางแผนการย้ายข้อมูลไปยังระบบปฏิบัติการที่รองรับโดยเร็วที่สุดจากวิธีการดังกล่าวตามความความต้องการและเหมาะสม อ้างอิง: cpanel.net
Google เข้มเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ กระทบ Entrust และ AffirmTrust SSL Certificate ตามที่ Google ได้ประกาศมาตรการเข้มเรื่องความปลอดภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ทั่วโลกเมื่อ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาสรุปว่า สืบเนื่องจากการพิจารณาประวัติการละเมิดข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นซ้ำซ้อน และไม่สามารถปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน อีกทั้งไม่มีความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขประเด็นปัญหาดังกล่าว ในที่สุด Google จึงขอประกาศว่าจะไม่รับรองความปลอดภัยของ SSL Certificate ที่ออกโดย Entrust และ AffirmTrust ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2024 เป็นต้นไป ส่วนสำหรับ SSL Certificate ที่ออกโดย Entrust และ AffirmTrust ที่รับรองภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2024 ยังถือว่าไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด SSL Certificate คืออะไร ทำไมต้องติดตั้งกับเว็บไซต์ของคุณ SSL Certificate คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ได้มีการผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน เพื่อรักษาความปลอดภัยให้เว็บไซต์ ผู้เข้าใช้งานสามารถมั่นใจในความปลอดภัยต่อการเข้าใช้งาน อีกทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กรหรือเว็บไซต์อีกด้วย จากวันนี้จะเกิดอะไรบ้าง Google Chrome จะถูกอัพเดท Version 127 ช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็น Version ที่ไม่รองรับ SSL certificate ที่ถูกออกโดย Entrust และ AffirmTrust ในครั้งนี้ Google Chrome จะแสดงข้อความไม่น่าเชื่อถือเว็บไซต์ที่ติดตั้ง SSL certificate ที่ออกโดย Entrust และ AffirmTrust ที่มีระยะสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2024 เป็นต้นไป (ตัวอย่างข้อความแจ้งเตือน NET::ERR_CERT_AUTHORITY_INVALID หรือลองเข้าผ่าน https://untrusted-root.badssl.com/) การบล็อคดังกล่าวบน Google Chrome Version 127 จะมีผลทั้งบน Windows, macOS, ChromeOS, Android, and Linux. และในฝั่งของ Chrome for IOS จะมีผลตามมาเมื่อมีการอัพเดทเช่นเดียวกัน วิธีเช็คว่าเว็บไซต์ได้รับผลกระทบหรือไม่ด้วย Chrome Certificate Viewer เข้าเว็บไซต์ ผ่าน Chrome คลิกที่ “Tune" icon คลิกที่ “Connection is Secure" คลิกที่ “Certificate is Valid" แล้ว Chrome Certificate Viewer จะปรากฎขึ้นมา - หากระบุว่า “Issued By" บริษัทอื่นที่ไม่ใช่ “Entrust" หรือ “AffirmTrust” แสดงว่าเว็บไซต์นั้นปลอดภัย - หากระบุว่า “Issued By" “Entrust" หรือ “AffirmTrust” แสดงว่า Google จะเริ่มนับว่าเว็บไซต์นั้นไม่ปลอดภัย โดยมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 31 ตุลาคม 2024 สำหรับในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณ ที่ติดตั้ง Entrust SSL Certificate ไปแล้ว ไม่ว่าคุณจะเคยซื้อ Entrust SSL Certificate กับทาง Netway Communication หรือผู้ให้บริการรายอื่น ขอให้มั่นใจได้ว่า Certificate ที่ออกภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2024 ยังถือว่าไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด แต่หลังจาก 1 พฤศจิกายน 2024 เป็นต้นไป ทาง Google จะทยอยบล๊อกเว็บไซต์ที่ติดตั้ง Entrust SSL Certificate ผลิตภัณฑ์อื่นของค่าย Entrust ได้รับผลกระทบดังกล่าวหรือไม่ Verified Mark Certificates, code-signing, digital signing หรือ private certificate อื่นๆ ที่ให้บริการโดย Entrust ไม่ได้รับผลกระทบจากประกาศครั้งนี้ของ Google หากคุณต้องการเสริมสร้างความปลอดภัยและลดความเสี่ยงให้เว็บไซต์ สามารถติดต่อขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของ Netway Communication ได้ตลอด 24 ชม. ผ่าน Email: support@netway.co.th Line ID: @netway โทร: 02 055 1095 เราพร้อมให้คำปรึกษาคุณค่ะ Netway Communication SSL V-Team อ้างอิง: ประกาศของ Google หัวข้อ Google Online Security Blog: Sustaining Digital Certificate Security - Entrust Certificate Distrust (googleblog.com)
Google Meet เพิ่มการแปลคำบรรยายเป็นภาษาต่างๆ มากขึ้นโดยอัตโนมัติ ภายในปีนี้* Workspace สามารถเปิดแปลคำบรรยาย ในระหว่างใช้แฮงเอาท์วิดีโอ (translated captions) และเลือกภาษาที่ต้องการได้ ช่วยให้ผู้ใช้ Google Meet ทั่วโลกสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย มีการแปลภาษาให้ภายใน Meet สามารถตรวจจับและแปลคำบรรยายเป็นภาษาที่คุณต้องการได้โดยอัตโนมัติ โดย Google Workspace กำลังเพิ่มการรองรับคำบรรยายภาษาใหม่ที่แปลแล้วจำนวน 52 ภาษา ซึ่งรวมจำนวนภาษาที่จะรองรับทั้งหมดเป็นจำนวนถึง 69 ภาษาเลยทีเดียว Meet and Chat features และฟีเจอร์อื่นๆ เช่น การจดบันทึกในส่วน AI Meetings and Messaging add-on ฟีเจอร์ใหม่ที่พร้อมใช้งานนั้น ทาง Google Workspace คิดค่าบริการค่าใช้จ่ายในราคา 10 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้ต่อเดือน *อัปเดตเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2024 กำหนดการที่พร้อมให้บริการล่าสุด อ้างอิง: blog.google Netway Communication มีให้บริการด้าน Email: อีเมล์ใช้งาน, Google Drive: พื้นที่จัดเก็บไฟล์และข้อมูลบนคลาวด์, Google Meet: เครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกัน, Google Form: แบบฟอร์มออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ แบบสอบถามออนไลน์, Docs, Sheets, Slides และอื่นๆ สนใจ Google Workspace กับเน็ตเวย์ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. Line : @netway หรือ https://bit.ly/line-netway Facebook : netway.offcial Tel : 02-055-1095 Email : support@netway.co.th