SSL ย่อมาจาก Secure Socket Layer ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็น TLS (Transport Layer Security) คือ เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน เพื่อให้ข้อมูลของท่านปลอดภัยจากการเข้าถึงข้อมูลจากแฮกเกอร์ โดยวิธีการเรียกใช้งาน จะเรียกผ่านโปรโตคอล HTTPS หรือโปรโตคอลความปลอดภัยอื่นๆ ตามแต่วิธีการใช้งาน SSL certificate คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ได้มีการผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน มีการเข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเทคโนโลยี SSL/TLS หากข้อมูลของท่านถูกดักจับไปได้ ข้อมูลก็ท่านก็ยังมีความปลอดภัย เพราะแฮกเกอร์ จะไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลของคุณได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ไป จะอยู่ในรูปแบบที่อ่านไม่ออก จะต้องมีคีย์ถอดรหัสที่เหมาะสมและตรงกันเท่านั้น ถึงจะสามารถถอดรหัสได้ รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ ทำความรู้จักกับ SSL certificateประเภทของ SSL certificate Self-sign SSL certificate คือ SSL certificate ที่ถูกสร้างโดยคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ใครก็สามารถสร้าง SSL certificate นี้ได้ แต่ SSL Certificate ที่ได้รับมา จะไม่ผ่านการรับรองที่เป็นมาตรฐานจากทาง Certificate Authority (CA) ดังนั้น เมื่อนำไปใช้งานจริง Browser ที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าว จะขึ้นแจ้งเตือนว่า SSL certificate ไม่ปลอดภัย รูปกุญแจจะเป็นสีแดง สัญลักษณ์กากบาท และต้องกด Continue เพื่อยอมรับความเสี่ยง ถึงจะเข้าใช้งานได้ Shared SSL certificate คือ SSL certificate ที่ใช้งานภายใต้ชื่อของผู้ที่ให้บริการ นิยมใช้กับ Shared Host ทั่วไป หลักการทำงานของ SSL certificate ประเภทนี้คือ ไม่สามารถเรียกใช้งาน Domain ของตัวเองได้ ยกตัวอย่างเช่น https://secure.yourHostingProvider.tld/~username Dedicated SSL certificate คือ SSL certificate ที่มีความน่าเชื่อถือ และนิยมใช้งานมากที่สุดในขณะนี้ จะเป็นการระบุเจาะจงเฉพาะ Domain ที่ต้องการสั่งซื้อ โดยจะออกให้โดย CA ที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น ใบรับรองประเภทดังกล่าว จะมีการตรวจสอบความเป็นเจ้าของ Domain หรือ องค์กรก่อนที่จะสามารถออก SSL Certificate ให้ได้ และการใช้งานผ่าน Browser ต่างๆเช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer จะขึ้นรูปกุญแจและไม่มีการแจ้งเตือนไม่ปลอดภัย ซึ่งบ่งบอกถึงความปลอดภัยในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ประเภทของเทคโนโลยี SSL certificate Domain Validation(DV) Organization Validation(OV) Extended Validation(EV) Wildcard SSL UC/SAN SSL การตรวจสอบเฉพาะของเจ้าของโดเมน การตรวจสอบเฉพาะองค์กร ตรวจสอบอย่างเข้มงวด / Business name in browser เพิ่มความน่าเชื่อถือให้เว็บไซต์มากขึ้น Multiple Sub-Domainsความปลอดภัยครอบคลุมทุกๆโดเมนย่อย รองรับการใช้งานได้หลาย URL ภายใต้ใบรับรองเดียว ระยะเวลาในการออกใบรับรอง (วันทำการ) 1 2 - 4 3 - 7 1 - 4 1 - 7 Domain Validation (DV) เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือนามบุคคล ตรวจสอบความเป็นเจ้าของโดเมน รูปกุญแจล็อคบน Browser ออก Certificate ได้รวดเร็วการแสดงผล จะแสดงผลเฉพาะชื่อ Domain ใน SSL/TLS certificate Organization Validation (OV) ตรวจสอบองค์กรก่อนออก Certificate มีชื่อองค์กรแสดงในรายละเอียดของ Certificate เหมาะสำหรับเว็บไซต์องค์กร และเว็บอีคอมเมิร์ซ รูปกุญแจล็อคบน Browser ออก Certificate ภายใน 2-4 วันการแสดงผล จะแสดงชื่อ Domain และชื่อองค์กรใน SSL/TLS certificate Extended Validation (EV) ตรวจสอบองค์กรอย่างละเอียดก่อนออก Certificate เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการความน่าเชื่อถือขององค์กรสูง เช่น เว็บไซต์ทางด้านการเงิน หรือเว็บองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ ชื่อองค์กรแสดงบน Browser ออก Certificate ภายใน 3-7 วันการแสดงผล จะแสดงชื่อองค์กรในขณะที่คลิกที่รูปกุญแจ และแสดง Domain และชื่อองค์กรใน SSL/TLS certificate เช่นเดียวกับ OV Wildcard SSL ปกป้องโดเมนหลักและรองรับไม่จำกัด Sub Domain 1 Level ของคุณในใบรับรองเดียว มีให้เลือกทั้ง DV และ OV UC/SAN SSL ปกป้องหลายโดเมนในใบรับรองเดียว มีให้เลือกทั้ง DV OV และ EV Code Signing Certificate ช่วยตรวจสอบตัวตนของผู้พัฒนาและให้แน่ใจว่าชุดโปรแกรมหรือ Application ของผู้พัฒนาไม่ได้รับการดัดแปลงด้วย certificate นี้จะช่วยให้ผู้ใช้ของคุณตรวจสอบได้ว่าชุดโปรแกรมหรือ Application ของคุณสามารถเชื่อถือได้ __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ผู้ให้บริการ SSL อันดับหนึ่งของประเทศไทย เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย คุ้มกว่าซื้อตรงกับราคาขายของเจ้าของแบรนด์ และไม่เสียภาษีนำเข้า พร้อมบริการตลอด 24 ชม. ออกบิล VAT ได้ ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #SSL
SSL หรือ SSL Certificate คืออะไร ระบบอินเตอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนสําคัญของการติดต่อสื่อสารมากขึ้น และยังเป็นสื่อหลักในการทําธุรกิจการค้า การทําธุรกรรมต่างๆ ซึ่งถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สร้างโอกาสในการดําเนินธุรกิจการค้า หรือธุรกิจออนไลน์ เพราะมีความสะดวกและรวดเร็วในการการติดต่อสื่อสาร แต่ช่องทางการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เนื่องจากกลุ่มแฮกเกอร์ พยายามค้นหาช่องโหว่ต่างๆ เพื่อดักจับข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสูญเสียตามมาได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต SSL Certificate จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปกป้องข้อมูลของท่าน SSL ย่อมาจาก Secure Socket Layer ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็น TLS (Transport Layer Security) คือ เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน เพื่อให้ข้อมูลของท่านปลอดภัยจากการเข้าถึงข้อมูลจากแฮกเกอร์ โดยวิธีการเรียกใช้งาน จะเรียกผ่านโปรโตคอล HTTPS หรือโปรโตคอลความปลอดภัยอื่นๆ ตามแต่วิธีการใช้งาน SSL Certificate คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ได้มีการผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน มีการเข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเทคโนโลยี SSL/TLS หากข้อมูลของท่านถูกดักจับไปได้ ข้อมูลก็ท่านก็ยังมีความปลอดภัย เพราะแฮกเกอร์ จะไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลของคุณได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ไป จะอยู่ในรูปแบบที่อ่านไม่ออก จะต้องมีคีย์ถอดรหัสที่เหมาะสมและตรงกันเท่านั้น ถึงจะสามารถถอดรหัสได้ ทำไมต้องเลือกใช้ SSL Certificate เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลของคุณ หลายๆท่านอาจจะเข้าใจผิดมาตลอดว่า SSL Certificate มีไว้เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลผ่านทาง Internet แต่โดยแท้จริงแล้ว SSL Certificate ไม่ได้ป้องกันในส่วนดังกล่าว แฮกเกอร์สามารถขโมยข้อมูลของท่านไปได้ผ่านทางช่องโหว่ต่างๆ แต่ข้อมูลที่ได้ไปจะอยู่ในรูปแบบที่อ่านไม่ออก จะต้องมีคีย์ถอดรหัสที่เหมาะสมและตรงกันเท่านั้น ถึงจะสามารถถอดรหัสได้ นั่นคือหน้าที่ของ SSL Certificate นั่นเอง เพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ของท่าน ลูกค้าของท่านจะมั่นใจในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของท่านมากขึ้น เมื่อเว็บไซต์ของท่านมีการติดตั้ง SSL Certificate โดยเฉพาะเว็บที่มีการทําธุรกรรมออนไลน์เกี่ยวกับระบบ E-commerce Online , Booking Online ที่ต้องมีการกรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ ท่านสามารถแสดงเครื่องหมาย Trust Site Seal ของผู้ออกใบรับรอง SSL บนเว็บไซต์ของท่าน เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น ปกป้องความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น SSL Certificate มีการรับประกันความสูญเสีย โดยมูลค่าของการรับประกัน ขึ้นอยู่กับ SSL Certificate แต่ละประเภท หากเกิดความเสียหายกับลูกค้าของท่าน ท่านสามารถแจ้งเคลม ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจรืงได้ ตามเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพิ่มอันดับ Ranking ใน Google Search ปัจจุบัน Search Engine ชื่อดังอย่าง Google เริ่มให้ความสำคัญในการจัดลำดับ Ranking กับเว็บไซต์ที่มี SSL มากยิ่ง Google มีการให้คะแนนเว็บไซต์ที่มีการติดตั้ง SSL Certificate เพิ่มมากขึ้น จึงมีความสำคัญกับการทำ SEO อีกด้วย __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ผู้ให้บริการ SSL อันดับหนึ่งของประเทศไทย เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย คุ้มกว่าซื้อตรงกับราคาขายของเจ้าของแบรนด์ และไม่เสียภาษีนำเข้า พร้อมบริการตลอด 24 ชม. ออกบิล VAT ได้ ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095 Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #SSL
ทั่วไป SSL คืออะไร SSL ย่อมาจาก Secure Socket Layer ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็น TLS (Transport Layer Security) คือ เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน เพื่อให้ข้อมูลของท่านปลอดภัยจากการเข้าถึงข้อมูลจากแฮกเกอร์ โดยวิธีการเรียกใช้งาน จะเรียกผ่านโปรโตคอล HTTPS หรือโปรโตคอลความปลอดภัยอื่นๆ ตามแต่วิธีการใช้งาน SSL certificate คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ได้มีการผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน มีการเข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเทคโนโลยี SSL/TLS หากข้อมูลของท่านถูกดักจับไปได้ ข้อมูลก็ท่านก็ยังมีความปลอดภัย เพราะแฮกเกอร์ จะไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลของคุณได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ไป จะอยู่ในรูปแบบที่อ่านไม่ออก จะต้องมีคีย์ถอดรหัสที่เหมาะสมและตรงกันเท่านั้น ถึงจะสามารถถอดรหัสได้ รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ https://ssl.in.th/tools/about-ssl/ เพื่อการใช้งานเต็มประสิทธิภาพท่านสามารถดูข้อมูลควรทราบก่อนสั่งซื้อ ที่นี่ ทำไมถึงต้องใช้ SSL ปัจจุบันระบบอินเตอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนสําคัญของการติดต่อสื่อสารมากขึ้น และยังเป็นสื่อหลักในการทําธุรกิจการค้า การทําธุรกรรมต่าง ซึ่งถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สร้างโอกาสในการดําเนินธุรกิจการค้า หรือธุรกิจออนไลน์ เพราะมีความสะดวกและรวดเร็ว แต่พบว่าช่องทางการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เพราะการใช้งาน การรับ-ส่งข้อมูล สําคัญต่างๆ ที่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อาจเกิดช่องโหว่ให้กับกลุ่มพวก Hacker ที่คอยจ้องขโมยข้อมูลสําคัญๆบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ หากเราไม่มีการจัดเก็บข้อมูลสําคัญที่ดีพอ การเข้ารหัสข้อมูลผ่าน SSL และ/หรือ TLS จึงเป็นส่วนสําคัญ ที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจในความปลอดภัย ให้ทั้งเจ้าของเว็บไซต์ และผู้ใช้งานเว็บไซต์ด้วย ซึ่งระบบ SSL และ/หรือ TLS จะทําให้ การรับ-ส่งข้อมูลสําคัญ เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต Password รหัสผ่านต่าง ๆ มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น บริการนี้เหมาะสําหรับเว็บไซต์ทุกประเภท โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น Ecommerce (ขายของออนไลน์) ที่มีการชําระเงินผ่านบัตรเครดิต , เว็บไซต์การเงินการธนาคาร หรือเว็บไซต์ที่ให้ความสําคัญในการรับ-ส่งข้อมูลสูง มีระบบ Login Username & Password เช่น Web E-Mail, Intranet, เว็บที่มีข้อมูลสําคัญ ข้อมูลที่เป็นความลับ ที่ต้องการความปลอดภัยสูง ยิ่งในปัจจุบัน Search Engine ชื่อดังอย่าง Google เริ่มให้ความสำคัญในการจัดอันดับ Ranking กับเว็บไซต์ที่มี SSL มากยิ่ง SSL จึงมีความสำคัญกับเว็บไซต์ที่ทำ SEO อีกด้วย รายละเอียดและประเภท SSL Certificate ประเภท SSL Certificate 1. SSL แบบ Domain Validation (DV) คือ Certificate ที่ผู้ให้บริการออกใบรับรอง จะตรวจสอบเฉพาะข้อมูลเจ้าของโดเมนบน Whois เท่านั้น และมีการยืนยันความเป็นเจ้าของโดเมนผ่านทางอีเมล Certificate ชนิดนี้ จะได้รับง่ายและรวดเร็ว ระยะเวลาออกใบรับรอง ใช้เวลาประมาณ 10 นาที - 2 วัน การแสดงผลบน Web Browser จะขึ้นรูปกุญแจตรง Address Bar เท่านั้น 2. SSL แบบ Organization Validation (OV) คือ Certificate ที่ผู้ให้บริการออกใบรับรอง จะตรวจสอบข้อมูลเจ้าของโดเมนบน Whois และตรวจสอบตัวตนขององค์กรลูกค้าว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ ในประเทศไทยจะตรวจสอบกับ D&B Thailand และยืนยันการสั่งซื้อโดยกด approve เมลจากเมลของ Organizational Contact (เมลที่ลูกค้า register ไว้) หรือยืนยันการสั่งซื้อผ่านทางโทรศัพท์ (Verify call) ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบองค์กร ระยะเวลาออกใบรับรอง ใช้เวลาประมาณ 3-4 วันหรืออาจจะเร็วหรือช้ากว่า ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบข้อมูลองค์กรของแต่ละองค์กร การแสดงผลบน Web Browser จะขึ้นรูปกุญแจตรง Address Bar โชว์ชื่อองค์กรลูกค้าใน Certificate ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร" 3. SSL แบบ Extended Validation (EV) คือ Certificate ที่ผู้ให้บริการออกใบรับรอง จะตรวจสอบข้อมูลเจ้าของโดเมนบน Whois และตรวจสอบตัวตนขององค์กรลูกค้าว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ ในประเทศไทยจะตรวจสอบกับ D&B Thailand จะมีการโทรหาลูกค้าเพื่อยืนยันการสั่งซื้อ แต่การตรวจสอบจะค่อนข้างเข้มงวดมาก หากตรวจสอบไม่เจอหรือมี จุดเสี่ยงน่าสงสัย ทางผู้ให้บริการออกใบรับรองจะขอเอกสารให้ทนายความเซ็นต์รับรองเอกสาร ระยะเวลาออกใบรับรอง ใช้เวลาประมาณ 7-15 วันหรืออาจจะเร็วหรือช้ากว่า ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบข้อมูลองค์กรของแต่ละองค์กร SSL Certificate ชนิดนี้ เป็นความปลอดภัยสูงสุดของ SSL และการแสดงผลบน Web Browser จะแสดงแถบเขียวบน Browser (Green Address Bar) คลุมชื่อองค์กรบน Browser ด้านหน้ารูปกุญแจสีเขียว 4. SSL แบบ WildCard SSL Certificate มีทั้งตรวจสอบแบบ Domain Validation (DV) และ Organization Validation (OV) ใบรับรองความปลอดภัยของโดเมนหลัก (Base Domain) จะครอบคลุมการใช้งานทุกๆ โดเมนย่อยของคุณ (multiple sub-domains) 1 Level เช่น *.yourdomain.com, www.yourdomain.com , mail.yourdomain.com เป็นต้น ระยะเวลาออกใบรับรอง ขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจสอบว่าเป็นแบบ DV หรือ OV 5. SSL แบบ UC/SAN SSL Certificate สําหรับองค์กรที่ต้องการขอใบรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ใบเดียว แต่สามารถใช้งานได้กับหลากหลายโดเมน โดยต้องระบุชื่อโดเมนที่ต้องการสั่งซื้อให้ชัดเจน SSL Certificate แบบ UC/SAN มีทั้งตรวจสอบแบบ Domain Validation (DV), Organization Validation (OV) และ Extended Validation (EV) เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการลดค่าใช้จ่าย ในการขอใบรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก ภายใต้การขอใบรับรอง SSL Certificate เพียงใบเดียว ระยะเวลาออกใบรับรอง ขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจสอบว่าเป็นแบบ DV, OV หรือ EV เคยใช้ SSL กับตัวแทนจำหน่ายรายอื่น สามารถย้ายมาต่ออายุกับ SSL.IN.TH ได้หรือไม่ ? สามาทำได้ แต่ผู้ให้บริการ (Brand) บางราย สามารถออกใบอนุญาต โดยที่วันหมดอายุจะต่อจากวันหมดอายุเดิมได้เลย แต่สำหรับบางรายจะไม่สามารถต่ออายุจาก ใบอนุญาตเดิมได้ หากท่านต้องการต่ออายุใบรับรอง SSL และยังคงต้องการให้ระยะสัญญาต่อจากเดิม เราแนะนำให้ท่านทำการติดต่อเจ้าหน้าที่ของเรา เพื่อวางแผนการออก SSL Certificate ให้ใกล้เคียงกับใบรับรองฉบับเดิม ราคา ฉันสามารถตรวจสอบราคาและข้อมูลเปรียบเทียบ SSL ได้ที่ไหน ? สามารถตรวจสอบราคา และข้อมูล SSL ของแต่ละ Band ได้ ที่นี่ ฉันสามารถต่ออายุ SSL ได้อย่างไร ? การต่ออายุ SSL Certificate เดิมที่ใกล้จะหมดอายุ ทางผู้ออกใบอนุญาต SSL Certificate จะเริ่มให้ต่ออายุล่วงหน้าได้ 3 เดือนก่อนที่ Certificate เก่าจะหมดอายุ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ฉันสามารถทดลองใช้งาน SSL ได้หรือไม่ ? สามารถยืนเรื่องร้องขอทดสอบใช้งาน SSL ได้ ที่นี่ ฟิเจอร์ จำเป็นต้องใช้ Dedicated IP หรือไม่ ? ก่อนอื่นต้องตรวจสอบ Server ที่คุณใช้งานก่อนว่ามีการทำ SNI เพื่อ Config Vitual Host ให้มี SSL Certificate แบบ IP ไม่ซ้ำกันได้หรือไม่ ดูตัวอย่างเพิ่มได้ ที่นี่ เทคนิคการบันทึกไฟล์ Certificate หลังจากสั่งซื้อ สามารถตรวจสอบรายละเอียดการบันทึกได้ ที่นี่ ความปลอดภัย SSL ป้องกันเว็บไซต์ถูก Hack ได้ไหม ? หลายๆท่านอาจจะเข้าใจผิดมาตลอดว่า SSL Certificate มีไว้เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลผ่าน Internet แต่โดยแท้จริงแล้ว SSL Certificate สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หน้าที่และความหมาย Encryption Strength Encryption Strength คือ ความแข็งแรงในการเข้ารหัส-ถอดรหัสที่สามารถรองรับได้ตามมาตรฐานสากลของระบบ Browser เช่น Internet Explorer , Mozilla Firefox, Google Chrome, Opera, Safari, Netscape เป็นต้น ซึ่งผู้ออกใบรับรอง SSL Certificate (Certification Authorities) จะกำหนดมาตรฐานความแข็งแรงในการเข้ารหัส-ถอดรหัส (Encryption Strength) ที่รองรับบนระบบ Browser ไว้ มาตรฐานขณะนี้อยู่ที่ 256-bit สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หน้าที่และความหมาย Code Signing Certificate Code Signing Certificate จะเป็นการเข้ารหัส-ถอดรหัสการปกป้องเนื้อหา ระหว่างผู้เผยแพร่ซอฟต์แวร์และผู้ใช้ซอฟต์แวร์ เมื่อมีการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายมือถือ เช่น ซอฟต์แวร์ที่เรียกใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นดังต่อไปนี้ Sun Java® , Adobe® AIR® , Mac® , Microsoft® Office VBA เป็นต้น การเลือกใช้ Code Signing Certificates จึงเหมาะกับผู้พัฒนาหรือเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ต้องการแสดงตัวตนและสร้างความ เชื่อมั่นในมาตรฐานซอฟต์แวร์ของตัวเอง ให้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของตนเองได้อย่างวางใจ __________________________________________________________________________________________________ Netway Communication ผู้ให้บริการ SSL อันดับหนึ่งของประเทศไทย เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย คุ้มกว่าซื้อตรงกับราคาขายของเจ้าของแบรนด์ และไม่เสียภาษีนำเข้า พร้อมบริการตลอด 24 ชม. ออกบิล VAT ได้ ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #SSL
ทั่วไป DNSSEC ใช้เอกสารอะไรบ้าง ? ไม่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันทีหากต้องการใช้งาน DNSSEC DNSSEC ใช้เวลาอัพเดทค่าโซนนานไหม ? ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง แล้วแต่ผู้ให้บริการ DNSSEC มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไหม ? ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สามารถเปิดใช้งานได้เลย ติดตั้ง SSL อยู่แล้วสามารถใช้งาน DNSSEC ได้ไหม ? สามารถใช้งาน DNSSEC ได้ เพราะเป็นการทำงานคนละรูปแบบ และวิธีการทำงานต่างกัน ไม่มีโฮสต์ติ้งใช้งาน DNSSEC ได้ไหม ? จะไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจาก DNSSEC จะเป็นการใช้งานเกี่ยวกับ Website ,Email จำกัด Extension Domain ในการใช้งานหรือไม่ ? ตอนนี้ DNSSEC รองรับการใช้งานทุก Extension Domain แล้ว
DNSSEC คือ ? DNSSEC ย่อมาจาก Domain Name System Security Extensions คือการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ระบบโดเมนเนมและข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต เช่น Website ,Email โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันผู้ใช้ (end user) จากการเข้าถึงปลายทางข้อมูลที่ถูกบิดเบือนผ่านระบบโดเมนเนม ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจถูกนักเทคนิคผู้ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างตัวตนเข้ามาหลอกเก็บข้อมูลที่สำคัญออกไป เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร, บัตรเครดิต หรือ Password ต่างๆ เป็นต้น DNSSEC จึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับ DNS Server ได้ การทำงานของ DNSSEC DNSSEC จะมีกระบวนการตรวจสอบคำตอบที่ Resolver ได้รับ ว่ามาจาก NameServer ที่เป็นปลายทางตัวจริงหรือไม่ จากเดิมที่ Resolver จะรับหมายเลขระบุที่อยู่ของข้อมูล (IP Address) จาก NameServer ผู้ตอบ (Authoritative Name Server) มาโดยไม่ได้มีการตรวจสอบใดๆ กระบวนการตรวจสอบนี้ดำเนินไปโดยใช้ระบบคู่กุญแจแบบ Asymmetric Key ที่ประกอบไปด้วย Private Key และ Public Key โดเมนภายใต้บริการ DNSSEC จะถูกใส่รหัสลับด้วย Private Key จากทาง Registry ที่ดูแลฐานข้อมูลของโดเมนนั้นๆ ที่เข้ารหัส Zone ข้อมูลโดเมนภายใต้ดอทที่ Registry นั้นๆดูแลอยู่ และจะแจกจ่าย Public Key สำหรับการเข้าถึงโดเมนภายในโซนที่ได้รับการเข้ารหัสอีกที Resolver ที่เป็น DNSSEC-Awear จะมี Public Key สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของโดเมนปลายทางที่มีการใช้บริการ DNSSEC ด้วยการเข้าคู่กับ Private Key ตัวอย่างการทำงานของ DNSSEC ประโยชน์ของ DNSSEC 1. เพิ่มความน่าเชื่อถือในการใช้งาน 2. ปกป้องโดเมนให้ไม่ถูกแอบอ้างจากผู้ไม่ประสงค์ดี 3. สามารถใช้งานร่วมกับ SSL เพื่อเพิ่มความปลอดภัยได้ 4. ลดปัญหาที่เกิดจาก DNS Spoofing ,cache poising ข้อมูลจาก : https://www.ic-myhost.com/domain-name-articles/dnssec-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD.htmlhttps://www.dotarai.com/dnssec/https://nsrc.org/workshops/2013/nsrc-ait-th-dnssec/raw-attachment/wiki/WikiStart/dnssec20130315_TH.pdf