การตรวจหา Ransomware จะแจ้งให้คุณทราบเมื่อไฟล์ที่ OneDrive ของคุณถูกโจมตีและแนะนำคุณผ่านขั้นตอนในการคืนค่าไฟล์ของคุณ Ransomware เป็นชนิดของซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย (มัลแวร์) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการเข้าถึงไฟล์ของคุณจนกว่าคุณจะชำระเงิน เมื่อ Microsoft 365 ตรวจพบการโจมตีของ ransomware คุณจะได้รับการแจ้งเตือนบนอุปกรณ์ของคุณและได้รับอีเมลจาก Microsoft 365 ถ้าคุณไม่ได้เป็นผู้สมัครใช้งานการแจ้งเตือนและการกู้คืนแรกของคุณให้เป็นแบบฟรี คลิกเพื่อดูรายละเอียดบริการ ยืนยันไฟล์ของคุณติดไวรัสคืนค่า OneDrive ของคุณ ฉันจะตรวจหา Ransomware และกระบวนการกู้คืนบน OneDrive ได้อย่างไรMicrosoft 365 ตรวจพบการโจมตีของ ransomware คุณจะเห็น สัญญาณของหน้าจอตรวจพบ ransonware เมื่อคุณไปที่ โปรแกรมป้องกันไวรัสไม่สามารถล้างอุปกรณ์ทั้งหมดของฉันได้ เลือกปุ่มนี้หลังจากที่คุณพยายามล้างอุปกรณ์ของคุณและค้นพบว่าคุณไม่สามารถล้างอุปกรณ์ทั้งหมดของคุณได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ในตอนนี้คุณจะอยู่บนหน้าการ ตั้งค่าอุปกรณ์ใหม่ ซึ่งจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการตั้งค่าอุปกรณ์ของคุณใหม่ติดตามลิงก์ที่ยึดตามระบบปฏิบัติการของคุณ เมื่อคุณทำความสะอาดหรือตั้งค่าอุปกรณ์ทั้งหมดของคุณใหม่แล้วให้กลับไปที่เว็บไซต์ คืนค่า OneDrive ของคุณ เมื่อคุณมาถึงขั้นตอนนี้เวลาและวันที่ที่ถูกตรวจพบ ransomware จะถูกเลือกโดยอัตโนมัติสำหรับคุณNetway Communication ให้บริการด้าน Load Balancer พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย Office 365, Google Workspace, Zendesk, SSL ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ Line: @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook: m.me/netway.offcialTel: 02-055-1095Email: support@netway.co.thWeb Chat: [[URL]]/
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาแชร์มุมมองเรื่องการวางแผนงานก่อนที่วันหยุดยาวจะมาถึง ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องเจออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทั้งช่วงหน้าหนาว และสงกรานต์ (ยังไม่รวมวันหยุดที่บางปีมีชดเชยเพิ่ม ทำให้มีผลกระทบได้เหมือนกัน) เรื่องวางแผนงานสำหรับช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ให้ธุรกิจเดินหน้า ลูกค้าไม่รู้สึกแย่ และทั้งเรากับลูกน้องก็ได้หยุดอย่างเหมาะสม เรื่องนี้เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือคนเป็นหัวหน้าอย่างเราๆ ไม่ควรพลาด เพราะมันคือความรับผิดชอบที่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ก่อน เพื่อความสำเร็จในการสะสางงานที่คั่งค้างให้ลุล่วง งานที่จำเป็นต้องดำเนินในช่วงวันหยุดอย่างบริการหน้าร้าน งานแก้ปัญหาให้ลูกค้าหรืองานคอลเซ็นเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น พนักงานและคุณเองได้พัก และรวมถึงเมื่อกลับจากวันหยุดยาวแล้ว งานทุกส่วนก็พร้อมลุยทันที ทำความเข้าใจสัก 1-2 นาที ด้วย Infographic นี้ก่อนเข้าเนื้อหาได้นะครับ #1 จัดลำดับงานทั้งหมด (พร้อมระบุวันส่งมอบและกำหนดคนรับผิดชอบให้ชัดเจน) ขอให้คุณยอมรับว่า “งานแต่ละชิ้นไม่ได้สำคัญเท่ากัน” และหากรอให้เอางานทุกชิ้นมาเรียงแล้วจัดลำดับกันในช่วงก่อนวันหยุด คงไม่ทันการ เพราะไหนจะงานเร่งส่งมอบ งานที่ต้องมอบหมาย หรืองานที่คุณหรือใครต้องทำเอง ดังนั้นสิ่งที่คนเป็นหัวหน้าควรทำก็คือพยายามจัดลำดับงานตามความสำคัญ และความเร่งด่วนของงาน พร้อมมอบหมายให้คนหรือทีมที่เหมาะสมจัดการให้แล้วเสร็จก่อนวันหยุด ส่วนงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถรอให้พนักงานที่รับผิดชอบกลับมาทำหลังจากวันหยุดก็ตั้ง Due Date ให้ชัดเจน โดยไอเดียที่ผมใช้ก็คือ- บน Microsoft Planner หรือ Microsoft To Do ผมจะสร้าง Task Group ที่ชื่อว่า Songkran Mission แล้วแบ่ง List เป็น (1) Done NOW (2) Done by Songkran (3) By Team before Songkran (4) After Songkran - งานทุกอย่างที่เราตั้งใจทำ จะตั้ง Due Date ชัดเจน หากสำคัญก็จะติด Star และจะถูกจัดเรียงในแต่ละ List โดย Done NOW หมายถึงงานที่ผมตั้งใจทำเองให้เสร็จวันนี้ Done by Songkran หมายถึงงานที่ผมตั้งใจทำเองให้เสร็จก่อนสงกรานต์By Team before Songkran หมายถึงงานที่ผมมอบหมายให้คนอื่น หรือทีมอื่นทำให้เสร็จก่อนสงกรานต์ โดยจะแชร์ให้คนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง List นี้ได้ด้วยAfter Songkran หมายถึงงานที่ผมตั้งใจเริ่มหลังสงกรานต์ เพื่อว่าเมื่อกลับมาจากวันหยุดยาวจะได้ไม่ต้องมางงไปเป็นวันก่อนเริ่มงานจริง #2 สื่อสารให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าว่าในช่วงวันหยุดยาวเราจะให้บริการอย่างไร การแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าบริษัทฯ จะหยุดในช่วงวันไหนคือสิ่งจำเป็น ไม่ว่าบริษัทของคุณจะหยุดแบบ 100% หรือจะมีบางทีมที่จะช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหาในช่วงวันหยุด โดยการให้ลูกค้ารับรู้ว่าหากเกิดปัญหาสามารถสื่อสารได้ในช่องทางไหนบ้าง ในช่วงเวลาใด จะช่วยให้ลูกค้าเรียงลำดับงานได้ล่วงหน้า และยังแสดงถึงความใส่ใจในบริการลูกค้าอีกด้วย โดยไอเดียที่ผมใช้ก็จะมีทั้ง- ส่งอีเมลแจ้งอย่างเป็นทางการผ่าน Outlook ในกรณีที่เป็น Key Account หรือหน่วยงานที่องค์กรให้ความสำคัญ- ตั้ง Automatic Replies บน OWA (Outlook Web App) ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างวันหยุด ซึ่งผมจะแจ้งให้ลูกค้าทราบทั้งว่าองค์กรจะเปิดวันไหน และหากผมลายาวต่อจากนั้น ก็จะแจ้งด้วยว่าจะกลับมาทำงานวันไหน เพื่อไม่ให้คนอื่นมองบน โดยที่เราสามารถตั้งค่าให้ส่ง Automatic Replies ให้เฉพาะ Contact List ของเรา หรือเฉพาะคนในองค์กรของเราได้เช่นกัน - ปรับเวลาทำการบนช่องทาง Social ซึ่งบาง tool อย่าง Airbnb หรือ Google Business ก็จะมีแจ้งเตือนให้เราเราตั้งค่าล่วงหน้า #3 สื่อสารภายในกันให้ชัดเจน หากมีคนลาหยุดควบยาว ทุกคนที่เกี่ยวข้องรวมถึงหัวหน้าควรรับรู้ หยุดยาวแบบนี้ อาจมีพนักงานลาควบยาวขึ้น หัวหน้าทีมต้องตอบคำถามให้ได้ว่า เรามีกติกาอย่างไรเพื่อจัดการกำลังคนให้เพียงพอ ไม่ว่าจะก่อนวันหยุดที่ต้องเร่งส่งมอบงาน ระหว่างวันหยุดที่อาจจะต้องมีพนักงานสักคนดูระบบบางอย่างที่ออฟฟิศหรือทำงานแบบรีโมทก็ได้ หรือแม้แต่หลังวันหยุดยาวที่พนักงานอาจจะลายาว แต่มีงานสำคัญรออยู่ ทุกคนไม่ว่าลูกน้องหรือหัวหน้าจึงควรสื่อสารให้รู้กันว่าจะมีใครลาหยุดเพิ่มเติม หรือกลับมาจากวันหยุดเมื่อไร เพื่อไม่ให้งานสะดุด หรือหากเกิดกรณีฉุกเฉินสามารถติดต่อได้ที่ไหน ในที่นี้ผมขอแนะนำระบบ Microsoft Power Platform Workflow ที่เข้ามาช่วยเชื่อม Microsoft Forms ที่พนักงานส่งขออนุมัติวันลา ระบบจะส่งเตือนให้หัวหน้าอนุมติ และสามารถทำรายงานว่าวันไหนจะมีคนลาเพิ่มอย่างไร เพื่อให้หัวหน้าสามารถประเมิน workload ได้ล่วงหน้า หรือแบบวันต่อวันได้อีกด้วย #4 งานรับรองลูกค้าไม่มีวันหยุด ผมเชื่อว่าหลายๆ ที่คงไม่สามารถหยุดงานได้แบบ 100% เพราะงานโต้ตอบลูกค้า หรืองานแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าเป็นหัวใจหลักที่จะช่วยสร้างโอกาสหลายๆ อย่างในช่วงนี้ เรื่องที่ลูกค้าร้องขอควรได้รับคำตอบหรือการแก้ไขเร็วที่สุด แต่ในความเป็นจริง ยิ่งโดยเฉพาะวันหยุด อาจมีคนมาทำหน้าที่นี้ แต่ลูกค้าก็อาจจะต้องรอนานกว่าปกติ หรือเเราอาจจะไม่สามารถจ้าง freelance หรือ outsource ได้เลยเพราะใครๆ ก็อยากพัก ดังนั้นเพื่อไม่ให้ pain เกิดทั้งฝั่งลูกค้า และพนักงาน ผมเชื่อว่า ระบบ Customer Self Service Portal ที่ให้ลูกค้าค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง หรือ ยกระดับการบริการเป็น Automation คือทางออกที่จำเป็นและดีที่สุด ลองนึกดูนะครับว่าจะดีมากเลยไหมถ้า ลูกค้ากรอก Microsoft Form แจ้งคำร้อง หรือขอข้อมูลต่างๆ แล้วระบบ Microsoft Power Platform ก็จะช่วยเชื่อมและแจ้งเตือนไปยัง Microsoft Teams โดยเราสามารถระบุเงื่อนไขว่า Request แบบใด เช่นการขาย หรืองานแก้ไขเชิงเทคนิค จะไปแจ้งเตือนยัง Microsoft Teams Channel ใดโดยเฉพาะ พร้อมกับสร้างเป็น Task ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะคลิกลิงก์บน notification ทาง Microsoft Teams แล้วทำงานต่อได้ทันที ถ้าคุณสนใจ สามารถศึกษาขั้นตอนตั้งค่า Automated Customer Request Platform โดยใช้ Microsoft Power Platform ได้ที่ วิธีสร้างแพลตฟอร์มการสนับสนุนลูกค้าแบบอัตโนมัติโดยใช้ Power Platform ระบบ Microsoft Power Platform สามารถตั้งค่าได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน มีระบบอัจฉริยะที่ช่วยวิเคราะห์ในการติดตามผลและตอบสนองรวดเร็ว เหมาะกับทุกการใช้งานด้าน workflow เชื่อมต่อเข้ากับแอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย ตอบโจทย์ธุรกิจ SME อย่างแท้จริง #5 อย่ามองข้ามความปลอดภัยของข้อมูล ความปลอดภัยคือเรื่องสำคัญที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของพนักงาน สถานที่ หรือข้อมูลขององค์กร ในที่นี่ผมขอพูดถึงเรื่องการรักษาข้อมูลที่เรามักจะละเลยกันมากที่สุดนะครับ สำหรับไอเดียที่ผมคิดว่าสามารถนำไปใช้ได้ในทุกองค์กรก็คือเรื่อง- การตั้งค่า Two-factor authentication (2FA) หรือ Multi-factor authentication (หรือ กระบวนการรับรองความถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าคนที่เข้าระบบ เป็นคนที่ใช่จริงๆ) ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เพราะมันสามารถป้องกันภัยคุกคามจาก Hacker ถึงแม้จะใช้วิธี Brute-force attack หรือ Phishing attack (Man in the middle) ก็ป้องกันได้ดีเลยทีเดียวเพราะมันจะทำให้ Hacker ทำได้ยากขึ้น- อาจมีหลายแอพที่หากเกิดกรณีฉุกเฉิน พนักงานก็จำเป็นต้องกลับไปทำงานบนเครื่องในออฟฟิศเท่านั้น เช่นงานของจัดซื้อ inventory, ธุรการ หรือ บัญชี วันหยุดยาวแบบนี้ผมขอเสนอเรื่องการทำ Windows Virtual Desktop ที่พนักงานไม่จำเป็นต้องพกพาคอมพิวเตอร์ของบริษัทไปทุกที่ เพียงเชื่อมต่อเข้ามา ก็สามารถทำงานได้ในระบบเสมือนจริงจากทุกที่ภายใต้ความปลอดภัยและความสะดวก ซึ่งคอนเซ็ปต์ Windows Virtual Desktop ไม่เพียงแต่จะเหมาะกับวันหยุดยาวเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์เรื่อง Remote Working, Work from Home, และ Disaster Recovery ได้อย่างดี 5 Checklist ที่ผมเสนอมาเพื่อให้มี Productivity ได้แม้เป็นในช่วงวันหยุดยาว เป็นไอเดียเบื้องต้นที่หัวหน้างาน หรือเจ้าของกิจการสามารถนำไปวางแผนใช้ได้สำหรับใครที่สนใจอยากบริการ Microsoft 365 เพื่อเสริมสร้าง Productivity หรือขอไอเดียว่า Microsoft Power Platform จะสามารถช่วยระบบงานของคุณได้อย่างไร สามารถติดต่อมาได้ที่มีงานของ Netway Communication ตามข้อมูลนี้ครับ เรามีเจ้าหน้าที่ดูแลคุณ 24 ชม.Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/
วิธีสร้างแพลตฟอร์มการสนับสนุนลูกค้าแบบอัตโนมัติโดยใช้ Microsoft Power Platform ทำไมบริการลูกค้าต้องไว ?? เพราะงานบริการลูกค้ามีคู่แข่งใหม่ๆ หรือบริการใหม่ๆ ที่จะมาแทนที่เราเกิดขึ้นทุกวัน ยิ่งลูกค้าในทุกวันนี้เมื่อมีคำถาม พวกเขาต้องการหาคำตอบหรือต้องการการตอบสนองแบบทันที ลูกค้าส่วนใหญ่มองว่าความเร็วในการตอบสนองกลับมีความสำคัญมากที่สุด (75%) มากกว่าความรู้ของพนักงาน ความชัดเจนของข้อมูล การมีคนจริงๆ มาตอบคำถามพวกเขา หรือแม้แต่ความง่ายของเครื่องมือสื่อสารที่เขาใช้ติดต่อกับแบรนด์ สำหรับเรื่องคุณภาพงานบริการลูกค้า หรือข้อมูล ผมมองว่าพัฒนากับคนได้ แต่ในเรื่องความไว เป็นเรื่องที่เราต้องพึ่งพาระบบให้มาช่วยเรา เพราะถึงแม้ว่าเราจะให้พนักงานทำงานให้ไวขึ้น ไวขึ้น และไวขึ้นอย่างไร ก็ยังไม่ทันเท่าจิตใจหรือความต้องการของลูกค้าอยู่ดี ดังนั้นเพื่อให้ลูกค้าแฮปปี้ พนักงานที่ให้บริการจำเป็นต้องตอบสนองได้ไว และลูกค้าควรเข้าถึงคำตอบที่เขาต้องการได้ง่าย และถ้าจะให้มันเยี่ยมไปกว่านั้น ก็ควรให้ลูกค้าสามารถรับรู้การแจ้งเตือนความคืบหน้าทันทีที่เขาส่ง Support Request หรือส่งเรื่องร้องขอมาให้เรา รวมถึงได้รับการอัพเดทเป็นระยะตามสมควร ทำความเข้าใจสิ่งที่ผมกำลังจะนำเสนอกันก่อนนะครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีใช้ Automation เข้ามาช่วยในงาน Customer Support ซึ่งมันก็ไม่ได้มีอะไรมากเกินไปกว่า Microsoft Form ง่ายๆ ให้ลูกค้ากรอก แล้วก็จะใช้ Microsoft Power Platform ดึงข้อมูลที่ลูกค้า กรอกมาทั้งหมดนี้ ล้อกไปบน Azure และส่งแจ้งเตือนหรือ notification มีที่ Microsoft Teams ให้คนที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อตอบสนองลูกค้าได้ไวขึ้น มันจะเวิร์คไหม? ไอเดียในการใช้ automation ประมาณนี้ จะช่วยให้พนักงานทีมซัพพอร์ตสามารถคลิกเข้าไปดูในลิงก์ และเห็นข้อมูลเบื้องต้นได้ไวกว่าเดิม แล้วสามารถเริ่มช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้ทันทีและผมเชื่อว่าเมื่อคุณอ่าน blog นี้จบ และลองทำตามขึ้นตอนง่ายๆ นี้ (มีภาพประกอบนะครับ) คุณก็จะสามารถสร้างระบบซัพพอร์ตที่เป็น automate ที่ผมเชื่อว่าน่าจะพอทำให้ลูกค้าที่มาพร้อมกับความต้องการเยอะๆ พอจะเข้าใจระบบของเรา และเราสามารถที่จะจูนให้ความคาดหวังของเขาเข้ากับสิ่งที่เราสามารถนำเสนอได้พอสมควรครับ เราต้องสร้างอะไรบ้าง ถ้าเป็นตามคอนเซ็ปต์ที่ผมเสนอนี้ ก่อนอื่นเราจะมาเริ่มสร้างฟอร์ม “Contact Us” หน้าตาประมาณนี้ ด้วย Microsoft Forms กันนะครับ ลูกค้าก็จะกรอกคำตอบ ทั้งที่เป็นโปร์ไฟล์ทั่วไป และความคิดเห็นต่างๆ เมื่อลูกค้าคลิก “Send” ก็จะมีข้อความปรากฏบน Microsoft Forms ว่า “Your response was submitted” หรือระบบได้รับสิ่งที่ลูกค้ารายนั้นกรอกมาแล้ว เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าสิ่งที่กรอกมาจะถึงมือพวกเราชัวร์ๆ ตามภาพนี้เลยครับ และทุกครั้งที่ลูกค้าแต่ละรายกรอกข้อมูลบนฟอร์มครบ และกด Send ที่ Power Automate (Microsoft Power Platform)ก็จะมีการสร้าง Task ใหม่บน Azure DevOps ตามภาพด้านล่างนี้ ตามนี้พนักงานก็จะเปิด Task และเห็นข้อมูลเบื้องต้นที่ลูกค้าส่งเข้ามา และพนักงานก็ยังสามารถใช้ Azure DevOps จัดการ Task ที่สำคัญได้เลยทันที เช่นมอบหมายงานไปยังผู้ใช้ที่เกี่ยวข้อง (Assign to named user) จัดลำดับความสำคัญ (Priority Level) และยังโพสต์คอมเม้นท์ได้บน งานนั้นอีกด้วย ดูตัวอย่างตามภาพนะครับ ทันทีที่ลูกค้ากรอกฟอร์มแล้วกด “Send” Power Automate workflow จะทำการแจ้งเตือนทีมของคุณ ด้วยการโพสต์แจ้งเตือนบน Microsoft Teams channel ที่คุณตั้งค่าติดตามไว้ โดยข้อความที่ปรากฏบน Microsoft Teams ก็จะมีลิงก์ระบุเพื่อให้พนักงานที่รับเรื่องสามารถเข้าไปทำงานต่อบน Azure DevOps ได้เลยทันทีอีกด้วย วิธีสร้างฟอร์มบน Microsoft Forms มาเริ่มสร้าง Customer Support Form ตามขั้นตอนด้านล่างกันเลยนะครับ ● Login เข้าไปที่ Microsoft Forms● เลือก “New Form” และจะปรากฏหน้าที่ที่เราสามารถแก้ไขฟอร์มได้● เลือก “Add New”● มีสอง Tab นะครับอันที่เราจะแก้ไขคือ “Questions” tab ไม่ใช่ “Responses” tab (Questions tab คือบรรดาคำถามที่เราจะถามลูกค้า ส่วน Response Tab คือผลคำตอบทั้งหมดที่ลูกค้ากรอกมา) ● ผมจะให้ ลูกค้ากรอก อีเมล โดยจะเลือกประเภทคำถามเป็น “Text.” แล้วก็พิมพ์ว่าให้กรอก Your Email Address ตามนี้ครับ ● เรื่องขอข้อมูลติดต่อกลับลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะถ้าไม่ขอเบอร์ ขออีเมล แล้วหลังจากที่แก้ไขอะไรต่อมิอะไร เสร็จสรรพ เราจะแจ้งความคืบหน้าให้เขารู้ได้อย่างไร ฉะนั้นในช่องที่เป็นคำถามข้อนี้ อย่าลืมเลือกเป็น “Required” นะครับ● ต่อมาก็ตั้งคำถามต่างๆ ที่คุณอยากรู้ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ฟีดแบค ข้อคิดเห็น ลองกรอกดูนะครับ ในที่นี่ ผมถามว่าจะให้ช่วยอย่างไรบ้าง โดยใช้ภาษาอังกฤษ ว่า “How can we help?” แล้วเลือกเป็น “Long answer” slider. เผื่อว่าลูกค้าจะได้กรอกมาได้เต็มที่เลย แล้วใครละครับที่จะกรอกฟอร์มนี้ได้ ให้ไปที่ “Share” เพื่อตั้งค่าครับ ลองกดที่ “Preview” เพื่อดูว่าฟอร์มนี้ของจะมีหน้าตาอย่างไร บน Desktop และ มือถือ แถม - วิธีทำให้ Microsoft Forms ไปปรากฏบนเว็บที่สร้างบน WordPress การแชร์ฟอร์มให้ลูกค้ากรอกมีหลายวิธี โดยคุณสามารถจะส่งเป็นลิงก์ เป็น QR code หรือ embed code ก็ได้ ขึ้นกับความสะดวก สำหรับสองแบบแรกผมเข้าใจว่าคุณๆ น่าจะทราบกันดี แต่เพราะเห็นว่าเว็บของบรรดา SME ส่วนใหญ่ทำบน Wordpress ผมจึงขอแถมวิธี embed code บนเว็บ Wordpressให้ตามวิธีด้านล่างนี้ครับ● คลิกที่ปุ่ม “Share” บน Microsoft Forms● แล้วเลือกไอคอน “Embed” เพื่อให้ embed code ปรากฏขึ้นมาตามภาพด้านล่าง ● คลิกที่ “Copy ”● มาที่ WordPress dashboard ของคุณ● ไปที่หน้าที่คุณอยากนำฟอร์มนี้ไปปรากฏ● ไปยังตำแหน่งที่คุณอยากแทรก contact form แล้วเพิ่ม “Custom HTML” block ตามภาพ ● Paste โค้ดที่คัดลอกไว้ ที่ HTML block. ● กด Publish หรือ update เพจ ถ้าทำตามขั้นตอนที่ว่านี้ ฟอร์มก็จะปรากฏบนเว็บ และพร้อมให้ลูกค้าของคุณกรอกได้เลยทันที วิธีสร้าง Azure DevOps project ทุกครั้งที่มีลูกค้ารายใหม่กรอกฟอร์มเข้ามาโดยสมบูรณ์ Microsoft Power Platform จะสร้าง Task ใหม่บน Azure DevOps project ที่คุณเลือก และเพื่อจัดการฟีดแบคต่างๆเหล่านั้นให้เป็นระบบ ผมอยากให้คุณสร้างโปรเจ็คใหม่บน Azure DevOps เพื่อเป็นพื้นที่จัดการบรรดาความคิดเห็น ฟีดแบคต่างๆ โดยเฉพาะ ลองทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย ● ลงทะเบียนเข้าใช้ Azure DevOps. ● ที่ main dashboard, ให้เลือก “New project” ตามภาพ (ตัวอย่างองค์กร หรือ Organization ของผมตั้งเป็น JessicaThornby0227) ● ตั้งชื่อที่สื่อถึงเป้าหมายการใช้งาน ในที่นี้ผมจะตั้งชื่อโปรเจ็คเป็น “Contact form responses”● ถ้ามีคำอธิบายอื่นๆ ก็ให้เสริมไปได้เลย ● ผมเลือกโปรเจ็คนี้ให้เป็น Private เพื่อว่าข้อความลูกค้าโต้ตอบกับเราจะได้เป็นส่วนตัว ไม่สามารถเข้าได้จากสาธารณะ โอเค...พอถึงขั้นตอนนี้ การสร้าง Azure DevOps project ก็สมบูรณ์แล้วครับ วิธีเพิ่มระบบอัตโนมัติ หรือ Automation ไปยัง Customer Contact Form (Microsoft Forms) ขั้นตอนนี้เราได้สร้างส่วนสำคัญต่างๆ กันเรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็ถึงเวลาเชื่อม Power Automate workflow กันแล้ว ● เข้าใช้งาน Power Automate. ● เลือกเท็มเพลท “Automatically file bugs and notify team.” ● เมื่อแสดง “Automatically file bugs and notify team.” ขอให้อ่านรายละเอียดก่อนนะครับ ถ้าคิดว่าโอเคค่อยกด “Continue” จากขั้นตอนนี้ Power Automate ก็จะเปิดให้สามารถแก้ไขเท็มเพลทได้ ตามนี้ครับ ● มาดูที่ด้านบนก่อนเลย ให้คลิกที่ “Form ID” field ก็จะแสดงชื่อฟอร์มต่างๆ ที่คุยได้สร้างไว้ในระบบ ● ให้เลือกฟอร์มที่คุณเพิ่มสร้างไป ● มาต่อที่ส่วนของ “Apply to each” section. คลิกเลือก “Form ID” field แล้วเลือก contact form จากลิสต์ ตามตัวอย่างในภาพ ● เลื่อนลงมาที่ “Create a work item” section.● คลิกไปที่ช่องกรอกของ “Organization Name” field แล้วเลือก organization name ตามภาพ (ตัวอย่างของผมตั้งเป็น JessicaThornby0227) ● ใน “Project name” field ให้เลือก Azure DevOps project ที่เพิ่งสร้างเมื่อครู่ ●ใน “Work Item Type” ให้ระบุประเภทของงานที่ต้องการให้สร้างเพื่อรองรับ customer submission หรือแต่ละ entry ที่เข้ามา ในที่นี้ผมขอเป็นตั้งเป็น “Task” ● ต่อมาคือขั้นตอนตั้งชื่อให้กับ work item ให้คลิก “Title” field แล้ว “Dynamic Content” window ก็จะแสดงขึ้นมา ผมตั้งใจว่าจะให้เอาชื่อลูกค้ารายนั้นๆ เป็น ชื่อของ work item แต่ละรายการ ดังนั้นผมจะเลือก “ Full Name” นะครับ ●เลื่อนลงมายัง “Post message” section ●เลือก “Team” แล้วจะมี dropdown แสดงรายการว่ามี Teams ไหนบ้างที่เกี่ยวกับ account นี้ ให้คุณเลือกว่าจะจะมอบหมายงานนี้ให้ทีมไหนได้เลย ● ในส่วนของ “Channel” field ให้เลือกว่าจะสื่อสารไปที่ channel ไหน ทุกครั้งที่มี request ใหม่เข้ามา Power Automate จะช่วยโพสต์เตือนให้ตาม channel ที่เลือกนี้ ●ที่ “Message,” ให้กรอกข้อความที่ Power Automate จะนำไปโพสต์บน Microsoft Teams ทุกครั้งที่มีลูกค้าคนใหม่กรอกฟอร์มเข้ามา สำหรับกรณีของเรา เพื่อให้ข้อความนี้เข้าใจง่าย และคนอ่านหรือคนที่ได้รับมอบหมายนำไปใช้ต่อได้ทันที ผมจะขอเพิ่ม direct link ไปยังงานที่เกี่ยวข้อง โดยเลือก “ URL” ( ตามตัวอย่างในภาพ ) ก่อนที่จะ Save ให้ลองทำความเข้าใจกับโฟลว์ และข้อความต่างๆที่เราได้ตั้งต้นขึ้นมา ถ้าคิดว่าใช้ได้ ก็สามารถคลิก “ Save” ได้เลย หลังจากนี้เมื่อลูกค้าคนใหม่กรอกฟอร์มสำเร็จ Microsoft Power Platform ก็จะสร้าง new work ให้พร้อมกับแจ้งเตือนพนักงานผ่าน Microsoft Teams Want more Microsoft Power Platform content? วันนี้ผมขอเริ่มต้นพูดเรื่อง Microsoft Power Platform ที่จะช่วยงานรับรองลูกค้าซึ่งผมมองว่างานส่วนนี้จับต้องได้ และใช้ได้จริงกับองค์กรส่วนใหญ่ก่อนนะครับ หลังจากนี้ผมยังมีไอเดียในการเขียนเรื่อง Microsoft Power Platform ในแง่อื่นๆ เช่น Microsoft Power Platform กับงาน remote worker หรือ บริหารเอกสารภายในองค์กรผ่านเว็บเบราว์เซอร์ หรือ ระบบ Knowledge Management ฯลฯ ซึ่งหากคุณมีไอเดียอยากให้ผมศึกษาเพิ่ม หรืออยากให้ผมหาข้อมูลด้านไหนมาแชร์ สามารถติดต่อเข้ามาได้ทาง support@netway.co.th (โดยระบุว่าอยากรู้เรื่อง Microsoft Power Platform เพิ่มเติม) ได้เลยครับ Reference:1.คู่มือ Microsoft Power Automate ภาษาไทย : https://docs.microsoft.com/th-th/power-automate/2.เริ่มต้นใช้งาน Power Automate : https://docs.microsoft.com/th-th/power-automate/getting-started3.https://systemsassurance.com/2020/12/30/how-to-build-an-automated-customer-support-platform-using-power-automate/4.Create project in Azure DevOps : https://docs.microsoft.com/th-th/azure/devops/organizations/projects/create-project?view=azure-devops-2019&tabs=preview-page Netway Communication ให้บริการด้าน Load Balancer พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย Office 365, Google Workspace, Zendesk, SSL ฯลฯ เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะLine : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netwayFacebook : m.me/netway.offcialTel : 02-055-1095Email : support@netway.co.thWeb Chat : [[URL]]/
YOUR TITLE HERE This is a text box. Write your own content here. This is an excellent place for you to add a paragraph and let your visitors know more about you and your services. Your Title Here This is a text box. Write your own content here. This is an excellent place for you to add a paragraph. Your Title Here This is a text box. Write your own content here. This is an excellent place for you to add a paragraph. YOUR TITLE HERE This is a text box. Write your own content here. This is an excellent place for you to add a paragraph. This is a text box. Write your own content here. This is an excellent place for you to add a paragraph. This is a text box. Write your own content here. This is an excellent place for you to add a paragraph. This is a text box. Write your own content here. This is an excellent place for you to add a paragraph.
Managed Server Services by Netway Managed Server เป็นบริการที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน และ อนาคต เพราะองค์กรธุรกิจทั้งหมดมีการปรับตัวเข้ากับรูปแบบธุรกิจที่เป็น New Normal ทั้งด้วยแต่ละองค์กรเองก็เริ่มมีข้อจำกัดในการลงทุนจากสถานการณ์ Covid-19 ทำให้เริ่มมองหาแนวทางที่จะช่วยให้เกิดการใช้ต้นทุนที่คุ้มค่า โดยเฉพาะในส่วนงาน Information Technology ในที่นี้ผู้เขียนหมายถึง Server System นะ คำว่า Server System มันหมายรวมถึงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Web Server, Database Server, Application Server, AD Server และอื่น ๆ อีกมากเลย ระบบงานเหล่านี้มีความจำเป็นต้องมีผู้ดูแลบริหารจัดการที่ดี มีประสบการณ์ เพื่อให้การบริหารจัดการ Server System ขององค์กรเกิดประสิทธิภาพสุงสุด และจากสิ่งเหล่านี้นี่เองเน็ตเวย์จึงพัฒนา Managed Server Service ขึ้นมาเพื่อเป็นทางออกที่มีคุณภาพให้กับองค์กรต่างๆ ที่ต้องการผู้ที่จะเข้ามาช่วยดูแล Server System ให้โดยที่ตัวองค์กรได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งงบประมาณในการลงทุน Features of Managed Server Service by Netway มีอะไรบ้าง Cost savings for the organization 24x7x365 Support Proactive Monitoring Services Management Security Management Report Performance Tuning Customize easily to your own needs Definition each Features of Managed Server Service by Netway คืออะไร Cost savings for the organization การดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ให้มีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ มีความปลอดภัย ต้องมีบุคลากรหรือทีมงานที่มีความรู้ความสามารถสูง แบบเฉพาะทาง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็คือ System Engineer นั่นเอง ในตลาดแรงงานนั้นตำแหน่งงาน System Engineer ที่มีประสบการณ์จะมีฐานเงินเดือนประมาณ 30000-70000 บาท เราคิดกันง่าย ๆ ที่ฐานเงินเดือน 30000 บาท แต่ System Engineer 1 คนนั้นก็จะมีความสามารถในการดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ให้ได้ทั้งประสิทธิภาพ ทั้งความปลอดภัย ทั้งการจัดทำรายงาน ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1 คนต่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 5 เครื่องก็หนักแล้ว(ต้องสร้างทุกอย่างทั้ง Monitoring, Alert, Notification, Resolved Issue, Tunning , Report) แต่กับ Managed Server Services ของทางเน็ตเวย์นั้นถูกสร้างมาให้ System Engineer 1 คน สามารถดูแลเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้มากถึงหลัก 100 เครื่องได้อย่างสบายด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพที่ทางเน็ตเวย์พัฒนาขึ้น ในราคาเพียง 1500 บาทต่อเดือนเท่านั้น 24x7x365 Support มอบการสนับสนุนให้กับผู้ใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์และ 365 วันต่อปีรวมถึงวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ดีตลอดเวลาจากเน็ตเวย์ ด้วยทีมงานระดับ System Engineer ที่มีประสบการณ์การดูแล Server System มายาวนาน Proactive Monitoring การตรวจสอบเชิงรุกใช้เพื่อตรวจจับรูปแบบของเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าระบบหรือบริการอาจกำลังจะล้มเหลว โดยทั่วไปการตรวจสอบเชิงรุกจะใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญมาก เครื่องมือตรวจสอบเชิงรุกจึงเป็นวิธีการทำงานอัตโนมัติที่ทางเน็ตเวย์ใช้ประสบการณ์ที่มีสร้างขึ้นให้ทำานผ่านเครื่องมือในการให้บริการ Managed Server ของเน็ตเวย์ ซึ่งจะช่วยให้การดูแล Server System ของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด Services Management เป็นการนำกระบวนการทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพอย่าง ITIL มาประยุกต์และพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์พร้อมของ Managed Server Service เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจสูงที่สุด โดยเน้นไปที่“คุณภาพในการให้บริการ” หรือ “Quality of Service” เพื่อตอบโจทย์เรื่อง Service Level Agreement (SLA) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้บริการมั่นใจได้ว่า Server System ของผู้ใช้บริการจะสามารถให้บริการได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย Security Management การบริหารจัดการเรื่องของความปลอดภัยต่าง ๆ ตามขั้นตอนการจัดการความปลอดภัย เช่น การจำแนกข้อมูลการประเมินความเสี่ยงและการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อระบุภัยคุกคาม จัดอันดับช่องโหว่ของระบบเพื่อให้สามารถใช้การควบคุมที่มีประสิทธิภาพได้ ในส่วนงาน Security Management นี้ ทางเน็ตเวย์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยมีทั้งการตรวจสอบในเรื่อง Software Version Update ยังมีการนำ Software ระดับโลกอย่าง Nessus Professional มาใช้ใน Managed Server Service ของเราเพื่อให้ผู้ใช้ Managed Server Service กับเน็ตเวย์มั่นใจได้ว่า Server System ของท่านจะได้รับการตรวจสอบด้านความปลอดภัยอย่างดี Report สามารถทำการออกรายงานได้อย่างง่ายดายบนระบบ Portal Dashboard ด้วยตัวผู้ใช้บริการเองตลอดเวลา เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถนำไปใช้ในการทำรายงานเสนอผู้บริหารได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ไม่ต้องเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง Performance Tuning จากระบบ Monitoring ของ Managed Server Services ของเราทำให้สามารถพบปัญหาการใ้ช้งานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพได้รวดเร็ว ซึ่งหากพบปัญหาดังกล่าวทีมงานของเน็ตเวย์พร้อมให้คำแนะนำในการทำ Performance Tuning เพื่อให้ระบบเซิร์ฟเวอร์ของผู้ใช้บริการมีการใช้งานได้เต็ม System Resource ที่มี Customize easily to your own needs พร้อมทำการ Custom Monitoring, Custom Alert หรือ Custom Report ให้กับผู้ใช้บริการไม่ว่าท่านจะมี Service หรือ Application บางอย่างที่ท่านต้องการให้ดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถทำการดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ของท่านได้อย่างครบถ้วน มีประสิทธิภาพ สรุปแบบเข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับบริการ Netway Managed Server Services 1. หากคุณต้องการผู้ที่จะช่วยดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรที่มีประสบการณ์ มีเจ้าหน้าที่ System Engineer คอยดูแลตลอดเวลา Managed Server Service ของทางเน็ตเวย์คือคำตอบที่คุณต้องพิสูจน์2. หากคุณต้องการบริการที่จะช่วยทำให้ต้นทุนขององค์กรลดลงอย่างมาก โดยที่ระบบเซิร์ฟเวอร์ของคุณยังได้รับการดูแลอย่างดี มี Monitoring System ที่ดี, มี Alert Incident and Notification ที่ได้มาตรฐานตาม ITIL, มีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยจาก Patch Manager, มี Vulnerability Scan ด้วยซอร์ฟแวร์ระดับโลกอย่าง Nessus Professional, มีระบบการออก Report ที่ง่ายและสะดวก Managed Server Service ของทางเน็ตเวย์คือคำตอบที่คุณต้องมาใช้บริการ 3. หากคุณมี Service, มี Application, มีสิ่งอื่นใดที่ต้องการ Monitor เป็นพิเศษหรือต้องการ Report บางอย่างเพิ่มเติม อย่ารอช้าที่จะเข้ามาคุยกับเรา ด้วย Managed Server Service ของทางเน็ตเวย์เราสามารถช่วยท่านในการดำเนินการได้ หากท่านกำลังมองหา ผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ยาวนานและมีความเชี่ยวชาญ สามารถติดต่อเน็ตเวย์เพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายขายได้ตลอด 24 ชม.Web Chat: netway.co.thTel: 02-055-1095Facebook Messenger: @netway.officialLine ID: @netwayEmail: support@netway.co.th