ก่อนเริ่มออกแบบ ขั้นแรกคือต้อง secure executive sponsorship ให้สนับสนุน SAM ทั้งองค์กร ซึ่งรวมถึงการระบุ stakeholder ที่เกี่ยวข้องและการสร้าง proposal เพื่อให้ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการเพื่อสร้าง SAM infrastructure พร้อมด้วย policy และ corporate governance ในขั้นนี้ต้องมี funding ในการดำเนินโครงการด้วย โดยต้องสร้าง project plan และกำหนด budget ที่มี opertional costs ในการดำเนินการในเรื่อง consulting hours และ employee times ประเมินไว้ล่วงหน้า เพื่อให้แต่ละ group จัดสรรงบประมาณในแต่ละกิจกรรมที่เข้าร่วมกับ SAM program ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Business Benefits ของ SAM ✓ Cost savings✓ Increased operational efficiency✓ Make better decisions✓ Reduce risk✓ Protect against disaster✓ Increase internal satisfaction อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SAM Benefits โดย Download เอกสาร SAM Fundamental ได้ที่นี่ 1. การออกแบบ 1.1 เป้าหมาย ระบุทรัพยากรและเป้าหมาย เป็นไปตามความต้องการทางธุรกิจขององค์กร 1.2 Future Plan และ Business Goals Acquisition strategy = ถึงเวลาแล้วที่จะสั่งซื้อ Enterprise Agreement แล้วหรือยัง? อาจจะได้ประโยชน์ทางราคาเมื่อทุกเดสก์ท็อปพีซีและเซิร์ฟเวอร์ได้รับสิทธิทั้งหมดถูกต้อง New Technology = ควรพิจารณา SaaS หรือ IaaS/PaaS หรือยัง? การใช้ Cloud Licensing ทำให้การจัดการเป็นเรื่องง่ายและลดค่าใช้จ่ายโดยชำระค่าบริการเฉพาะส่วนที่ใช้งานจริงเท่านั้น 2. การดำเนินงาน กำหนด SAM stakeholder group เพื่อดูแลโครงการ ประเมินและระบุ SAM state ใช้เทคโนโลยีในการช่วยค้นหาทรัพย์สินประเภทซอฟต์แวร์ ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อที่ง่ายรวมถึงการจัดเก็บข้อมูลประเภท license entitlement information เป็นอย่างดี ทำกิจกรรม initial license & cloud services reconciliation สร้างนโยบาย, กระบวนการ, และขั้นตอนที่สนับสนุน SAM ทำให้ทุกแผนกให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือ อบรมพนักงาน 3. บริหารจัดการ SAM Program ทำตามนโยบายอย่างคร่งครัดเพื่อให้เกิด SAM lifecycle ที่ดี สร้างมาตรฐานให้ SAM ทั่วทั้ง domain และหน่วยงานทุกหน่วยงาน อบรม SAM awareness training 4. ขั้นก้าวหน้า SAM ในองค์กรคือ journey ไม่ใช่เป้าหมายที่หยุดอยู่กับที่ ต้องมีการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงไปพร้อมกับความก้าวหน้าขององค์กร Comptency ที่ 7 เมื่อนำมาเทียบกับตาราง ISO แล้ว กิจกรรมนี้จะยกระดับ competency ต่อไปนี้
ตามมาตรฐาน SAM ซอฟต์แวร์ต้องมีการจัดการวงจรชีวิตตลอดช่วงเวลาที่ถือครอง โดยบ่งเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ การร้องขอและการสั่งซื้อ การติดตั้ง การปรับแต่งเพิ่มมูลค่า การกำจัดซอฟต์แวร์ออกจากองค์กร Competency 8-9-10 และเมื่อสามารถทำได้แล้ว เมื่อนำมาปรับใช้กับ SAM Competency จะสามารถเทียบเคียงออกมาเป็นตารางได้ตามนี้
เวลาที่เราไปซื้อ Windows หรือ Office มาใช้งานทั้งสำหรับใช้งานและซื้อเพื่อใช้ในองค์กร เรามักจะได้ยินคำว่า FPP (Full Packaged Product) และ OEM (Original Equipment Manufacturer) เสมอ จริงๆ สองชื่อนี้เป็นชื่อที่เรียก channel หรือช่องทางการสั่งซื้อครับ แต่พอเอามาอ้างอิงรูปแบบสิทธิ์การใช้งานบ่อยๆ เข้า สองคำนี้ก็เลยกลายเป็นชื่อเรียกสิทธิ์การใช้งานของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งนอกจากสองช่องทางดังกล่าวแล้วยังมีช่องทางประเภท Volume Licensing อีก ช่องทางนี้เป็นการซื้อสิทธิ์แบบเหมาที่มีขั้นต่ำในการสั่งซื้อ 5 สิทธิ์ขึ้นไป (ไว้กล่าวในอีกบทความหนึ่งแล้วกันนะครับ) การแยกแยะความต่างของ FPP และ OEM นั้นสำคัญต่อความถูกต้องของการใช้งานมากดังนั้นต้องศึกษาประเด็นเหล่านี้ให้แม่นยำก่อนสั่งซื้อครับ FPP เป็นสิทธิ์ที่ซื้อมาจากร้านค้าปลีกตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำและมีรูปแบบแพ็คเกจเป็นกล่อง (ส่วนมากเป็น 1 กล่องต่อ 1 License) FPP นี้เหมาะกับองค์กรที่มีความต้องการใช้ Commercial License ต่ำกว่า 5 License ครับ ที่บอกว่า Commercial License นี้หมายถึงว่าต้องเป็น edition ที่ Microsoft ออกแบบมาเพื่อธุรกิจนะครั้บซึ่งได้แก่ Windows 10 Pro Office Home & Business 2016 Office Professional 2016 เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าสินค้ากล่องต่อไปนี้ซื้อใช้ส่วนตัวได้ แต่นำมาใช้ติดตั้งในองค์กรไม่ได้ เพราะ edition ไม่ถูกต้องครับ ซึ่งได้แก่ Windows 10 Home Office Home & Student 2016 for PC Microsoft 365 Personal Microsoft 365 Family ทั้ง 4 ตัวที่กล่าวมาไม่สามารถนำมาอ้างอิงการติดตั้งใช้งานในองค์กรได้ครับ คุณสมบัติของ FPP ที่ชัดเจนคือเป็น Full License หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น Base License ที่ติดตั้งลง naked PC ก็ว่าได้ หรือจะซื้อมาเพื่อทำการ upgrade เวอร์ชั่นเดิมของซอฟต์แวร์นั้นๆ ก็ได้เช่นกัน ประเด็นนี้จะไปเห็นภาพชัดเจนเมื่อกล่าวถึง Volume Licensing อีกครั้ง เพราะสิทธิ์จาก Volume Licensing นั้นเป็น Upgrade only ที่ลูกค้าต้องมี base OS อยู่แล้วเท่านั้น เพียงแต่ Open License เองมี SKU หนึ่งที่ชื่อ Windows Legalization (เดิมชื่อ GGWA) ที่สามารถ legalize เครื่องพีซีทุกประเภทให้เป็น base OS ได้ทันทีที่ติดตั้ง product key ครับ เมื่อซื้อ FPP มาแล้ว นั้นแปลว่าคุณได้ซื้อสัญญาใจ (agreement) กับ Microsoft แล้วเรียบร้อย จำไว้เสมอนะครับสิ่งที่คุณซื้อมาจาก Microsoft ผ่านร้านค้าปลีกเหล่านั้น ไม่ใช่กล่องกระดาษ หรือแผ่นซีดีติดตั้ง แต่คุณซื้อ agreement อะไรบางอย่างจากผู้ผลิตที่มอบสิทธิ์และบริการให้แก่คุณ (ที่เรียกว่า Use Rights) เช่น สิทธิ์ในการย้ายเครื่องใหม่ สิทธิ์ในการลงได้มากกว่า 1 เครื่อง (กรณี Home & Student) ตลอดจนสิทธิ์ที่นำไปใช้ในองค์กรได้หรือไม่ ส่วนการสนับสนุนของลูกค้าที่ซื้อ FPP นั้นจะได้รับ limited support จาก Microsoft ซึ่งลูกค้าสามารถดูได้จาก http://support.microsoft.com/common/international.aspx ส่วนสิ่งที่จะยืนยันความถูกต้องของการถือครองก็มีต่อไปนี้ครับ กล่องที่ซื้อมา ใบเสร็จรับเงิน สติ๊กเกอร์ Hologram ที่ติดมากับกล่องและต้องแปะลงเครื่องที่ติดตั้งซอฟต์แวร์นั้น ซอฟต์แวร์ที่ซื้อมาจาก OEM นั้นจะต้องเป็นวอฟต์แวร์ที่มาพร้อมฮาร์ดแวร์เท่านั้น (ไม่ว่าจะเป็น PC, Server หรือ Mobile) ศัพท์ในวงการจะเรียกกันว่าเป็น Windows 10 Pre-installed ประมาณนี้ครับ ขอดีของ OEM คือมีราคาถูก เพราะรวมกับค่าฮาร์ดแวร์แรกซื้อแล้ว และกรณีเกิดปัญหา การขอความช่วยเหลือสามารถขอได้จากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และ Microsoft ด้วย คำอธิบายสิทธิ์ของ OEM ดูได้กจากเอกสารที่มีชื่อว่า Microsoft Software Licence Terms พร้อมสิทธิ์ต่างๆ เช่น downgrade ว่าสามารถดาวน์เกรดลงไปได้ถึงเวอร์ชั่นไหน แต่ OEM นี้เป้นสิทธิ์ที่ตายพร้อมเครื่องหรือหากมีการเปลี่ยน mainboard ก็ต้องซื้อ Windows มาลงใหม่ด้วยเช่นกัน รวมทั้งไม่สามารถย้ายเครื่องได้ เพราะทันทีที่ลงแล้วก็จะอยู่กับฮาร์ดแวร์นั้นไปตลอดแบบ per Device license ครับ เว้นแต่คุณขาย laptop หรือ PC นั้นให้เจ้าของใหม่นั้นไปเลย) ส่วน edition ของ OEM ที่สามารถนำมาใช้กับองค์กรได้นั้นได้แก่ Edition ต่อไปนี้ Windows 10 Pro Office Home & Business 2016 Office Professional 2016 ส่วนตัวอื่นๆ ไม่สามารถทำได้ครับ เหมือนกัน edition ใน FPP ที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนสิ่งที่จะยืนยันความถูกต้องของการถือครองก็มีต่อไปนี้ครับ ใบเสร็จรับเงิน สติ๊กเกอร์ Hologram ที่ติดมากับฮาร์ดแวร์ที่ซื้อ ในอีกช่องทางหนึ่งคือ Volume Licensing ที่องค์กรจ้องสั่งซื้อจาก reseller ในประเทศครับ ขอกล่าวสั้นๆ ในสิทธิ์ประเภทนี้เพื่อให้เข้าใจความต่างของ FPP และ OEM นะครับ Volume Licensing เป็นช่องทางที่ซื้อแบบเหมาและซื้ออะไรก็ได้ (ทั้งซอฟต์แวร์และคลาวด์) มีขั้นต่ำ 5 license ขึ้นไป มี agreement ให้ลงนามหลากหลายตามแต่ขนาดขององค์กร ถ้า size เล้กๆ หรือกลางๆ ก็จะนิยมซื้อผ่าน Open Agreement หรือ Open Value ถ้าขนาดใหญ่ๆ เลยก็เป็น Select Plus หรือ Enterprise Agreement สิทธิ์การใช้งานนี้มีปัจจัยควบคุมหลายอย่าง Use Rights ของซอฟต์แวร์แต่ละตัวดูข้อมูลได้จากเอกสารชื่อ Product List และ Product Use Rights (PUR) จาก http://www.microsoftvolumelicensing.com รายละเอียดของ Volume Licensing นั้นเข้าใจยาก ต้องหาที่ปรึกษามาอธิบายกันยาวเหยียดถึงที่มาที่ไปของสิทธิ์ต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเริ่มต้นด้วยการเข้าใจความต่างของ FPP และ OEM ก่อนจะทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ราบรื่นขึ้นครับ
พื้นฐานสำหรับ New User: ซอฟต์แวร์ในฐานะทรัพย์สิน (ทางปัญญา) ที่ควรถือครองอย่างถูกต้อง หลายคนได้ยินกันหนาหูถึงเรื่อง "ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์" และบางส่วนก็เข้าใจไปว่า ซอฟต์แวร์มีแบบเถื่อน แบบฟรี และแบบแท้ แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่เข้าใจว่า ซื้อคอมมาแล้วไปหาซื้อแผ่นอะไรก็ได้ที่ร้านค้ามีจำหน่าย แล้วนำมาติดตั้งจนผ่านสำเร็จ นั่นก็ถือว่าซื้อมาถูกต้องแล้ว แต่ทำไมยังโดนตรวจ แล้วพอให้มาตรวจแล้วกลับบอกว่าของที่มีในองค์กรเป็นซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ได้? ในส่วนนี้ เราควรเรียนรู้เกี่ยวกับคำนิยามกันก่อนนะครับ ซื้องในเรื่องที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์และไอทีนั้นมี พรบ. ที่เราควรเข้าใจกันอยู่โดยหลักแล้ว 2 ฉบับด้วยกันคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (รวมทั้งฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2558) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ในบทความนี้มุ่งสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการถือครองวอฟต์แวร์เป็นสำคัญจึงขออ้างอิงในส่วนของซอฟต์แวร์ในฐานะทรัพย์สินก่อน (Software as an Asset) แล้วกันนะครับ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แล้วมีประเด็นที่เราควรทำความเข้าใจก่อนจะพูดถึง "ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์" ตามที่เข้าใจกันก่อน อันได้แก่เรื่องต่อไปนี้ "ลิขสิทธิ์" คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัติฯ เกี่ยวกับงานที่ "ผู้สร้างสรรค์" ได้ทำขึ้น "ผู้สร้างสรรค์" คือ ผู้ทำ หรือ ผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติฯ "โปรแกรมคอมพิวเตอร์" คือ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด "การดัดแปลง" ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ การทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำขึ้นใหม่ “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” คือ ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัสแทนข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง “มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการทําซ้ําหรือควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ได้นํามาใช้กับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ “การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล” ซอฟต์แวร์ ถ้าเรียกตามกฎหมายแล้วก็คือ "โปรแกรมคอมพิวเตอร์" เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้คอมพิเตอร์ทำงานได้ (เช่น ใส่ Windows ลงบนเครื่องแล้วเครื่องสามารถตอบสนองได้ หรือ ใส่ Office ลงเครื่องแล้ว เครื่องสามารถประมวลผลการพิมพ์ให้เราได้) ส่วนคำว่า "ลิขสิทธิ์" นั้นคือสิทธิแต่ผู้เดียว ซึ่งคือสิทธิขาดที่อยู่กับตัวของผู้สร้างสรรค์ไม่สามารถขายทอดตลาดในรูปแบบแผ่นซีดีได้ เว้นแต่จะทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์กันไปตามกำหมายก็ว่ากันไป ถ้าเปรียบเทียบชัดๆ กรณีซอฟต์แวร์ Microsoft แล้ว ผู้สร้างสรรค์ก็คือ Microsoft และก็มี Microsoft เจ้าเดียวที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ครับ เวลาเราซื้อซอฟต์แวร์จาก Microsoft เราไม่ได้ซื้อ "ลิขสิทธิ์" และเราก็ไม่ได้ซื้อ "แผ่นโปรแกรม" และเราก็ไม่ได้ซื้อ "Product Key" ด้วยเช่นกัน แต่เราซื้อ agreement หรือพันธะสํญญาในรูปแบบของ "สิทธิ" ที่ Microsoft มอบให้ มากน้อยก็ตามแต่ราคา (ที่กำหนดโดย edition นั่นล่ะครับ) ที่ซื้อมา ดังนั้น กรณี FFP ถ้ากล่องหาย หรือ key ที่มากับกล่องหายไป แต่คุณเก็บใบเสร็จไว้ คุณก็ขอ key ใหม่จาก Microsoft ได้หากจะถอดการติดตั้งแล้วเอาไปลงเครื่องใหม่ เพราะ Microsoft ได้ขายสิทธิในการเข้าใช้งานซอฟต์แวร์นั้นแล้วแก่คุณครับ คำว่า "ข้อมูลการบริหารสิทธิ" ก็เช่นกัน คือสิ่งที่ Microsoft ใช้เป็นตัวแทนในการสำแดงว่านี่คือสิทธิที่ผู้สร้างสรรค์ใช้อำนาจตามลิขสิทธิ์ที่มีมามอบให้แก่ลูกค้าที่ซื้อไป โดยใช้ตัวเลขเป็นการกำหนดสิทธิ (เช่น product key หรือ username/password) นั่นเองครับ สรุปง่ายๆ ในตอนนี้ ก็คือ Microsoft เป็นเจ้าของผู้มีลิขสิทธิ์ (หรือ Copyright) และจำหน่ายสิทธิ (การใช้งาน) หรือ License ให้แก่ลูกค้านั่นเองครับ โดย License นั้นอาจถูกกำกับไว้โดยตัวเลข หรือ agreement อันนี้ก็แล้วแต่ความซับซ้อนในการบริหารจัดการตามจำนวน PC base ในองค์กรลูกค้าเอง ในส่วนของบริการ Cloud Services เองไม่ได้ถูกมองว่าเป็นทรัพย์สิน แต่เป็น "บริการ" ที่ลูกค้าซื้อมาจากผู้สร้างสรรค์เองโดยตรงหรือผ่านตัวแทนจำหน่าย เช่น กรณีของ Microsoft 365 นั้น ก็จะเป็นว่า Microsoft ขายสิทธิ Office ให้ลูกค้าใช้แบบติดตั้งลงเครื่องอยู่แล้ว แต่ก็มีระดับราคาราคาหนึ่งถูกแพงก็แล้วแต่ edition แต่ถ้าลูกค้าไม่อยากลงทุนลงไปครั้งเดียวแล้วก็ไมม่อยากดูแลจัดการตลอดชีพของซอฟต์แวร์นั้น ผู้สร้างสรรค์ซึ่งก็คือ Microsoft เองก็นำ Office นั้นโยนขึ้นเซิร์ฟเวอร์แล้วให้บริการในรูปแบบ Cloud ที่ผ่านอินเทอร์เน็ต และคิดค่าบริการกับผู้ใช้เป็นรายเดือนและรายปี หากลูกค้าไม่จ่ายเงิน ระบบก็ตัิดสิทธิในการใช้ในรอบบิลถัดไปออก ซึ่งกรณีแบบนี้เรียกว่าเป็นค่าใช้จ่ายเหมือนค่าน้ำค่าไฟในสำนักงาน จัดว่าเป็น OPEX ในการดำเนินงาน (ต่างจากซอฟต์แวร์ที่เป็นทรัพย์สินเหมือนเฟอร์นิเจอร์ในสำนักงาน และจัดเป็นค่าใช้จ่ายแบบ CAPEX) ทีนี้ในประเด็นของการละเมิดนั้น แน่นอนว่าหากซื้อสิทธิการใช้ซอฟต์แวร์มาแบบไม่ถูกต้อง เช่น ร้านค้าจำหน่ายแผ่นเถื่อนพร้อม crack code ที่ลงซ้ำได้หลายๆ เครื่อง นั่นคือการละเมิดในรูปแบบของ “การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระทําด้วยประการใด ๆ ที่ทําให้มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล เพราะมาตรการทางเทคโนโลยีที่พูดถึงคือ สิทธิแบบ OEM เองต้องลงแบบต่อเครื่องเท่านั้น ลงซ้ำไม่ได้ครับ หรืออย่างในกรณีของ Cloud Service เองการถือครองไม่ใช่ทรัพย์สินก็จริงแต่ผู้สร้างสรรค์จำหน่ายสิทธิในรูปแบบเช่าใช้ (Subscription License) การเข้าถึงทั้งหมด จะละเมิดหรือลักลอบโกงก็ไม่น่าจะทำได้ เพราะมาตรการทางเทคโนโลยีถูกกำหนดโดยผู้สร้างสรรค์ทั้งหมด (หรือก็คือเซิร์ฟเวอร์ของ Microsoft ที่ใช้ให้บริการ Microsoft 365 นั่นล่ะครับ) แต่อย่าลืมว่าก็ยังมีเงื่อนไขบางอย่างที่อาจเข้าข่ายละเมิดได้ เช่น Microsoft 365 Apps for business หรือ Microsoft 365 Business Standard ที่มอบสิทธิให้ user โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Office ลงไปติดตั้งบนเครื่อง PC ได้ 5 เครื่อง หลายท่านก็คงตั้งคำถามว่าถ้าองค์กรมี 50 เครื่อง PC จะซื้อ 10 user ได้หรือไม่? โดยเงื่อนไขแล้วต้องบอกว่าไม่ได้และสามารถเข้าข่ายละเมิดสิทธิได้ หาก ใน 50 เครื่องนั้น มีบางเครื่องที่เป็น PC ส่วนตัวของพนักงาน แต่หากทั้ง 50 เครื่องเป็นเครื่องที่ถือครองโดยองค์กรเดียวกันแล้วก็ยังไม่เข้าข่ายละเมิด แต่ทีนี้ก็ต้องมาดูว่าซื้อไว้ 10 user นั้นตัว user เป็นพนักงานหรือไม่ และได้แชร์เครื่องกับใครหรือเปล่า เพราะสิทธิเช่าใช้เหล่นานั้นอ้างอิงตาม user เท่านั้น ก็ต้องมองในแง่ของ 1 user ต่อเครื่องย่อย 5 เครื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ user นั้น แล้วอีกอย่าง 5 เครื่องนั้นแชร์ OneDrive เดียวกันนะครับ หากใช้วิธีแยกเครื่องลง การอัพโหลดขึ้น OneDrive ก็จะขึ้นไปรวมกันเละเทะไปหมด ประเด็นนี้ต้องพึงระวังไว้ด้วย ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ก็เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงคำนิยามต่างๆ ต่ไปนี้ก่อนจะเริ่มเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับสิทธิการใช้งานซอฟต์แวร์นะครับ ลองศึกษาและทบทวนคำเหล่านี้ดูหลังอ่านจบแล้วด้วยนะครับ Copyright / ลิขสิทธิ์ Creator, Manufacturer, Inventor, Developer / ผู้สร้างสรรค์ License / สิทธิการใช้งาน Subscription License, Subscription / การเช่าใช้ OPEX CAPEX Per Device License Per User Subscription License
สิทธิการใช้งานประเภท OEM มักพูดกันว่าไม่มีรูปร่างหน้าตาชัดเจน เพราะมันเป็น License ที่ติดตั้งมาพร้อมเครื่องออกจากโรงงาน และสิทธิติดตามตัวของ Motherboard จึงไม่มีอะไรยืนยันได้นอกจากสติ๊กเกอร์ COA ที่ติดมาพร้อมเครื่องอย่างรูปข้างล่างนี้ ในตลาดซอฟต์แวร์ Windows นั้น มีสิทธิอีกประเภทที่เรามักเห็นจำหน่ายกันในรูป CD-ROM เป็นซองและไม่อยู่ในกล่องแพ็คเกจสวยงามเท่าไหร่ หน้าตาประมาณรูปด้านล่างนี้ CD พวกนี้เป็น Base License หรือ Full License จริงครับและมีเงื่อนไขเหมือน OEM ทุกประการ ส่วนความต่างนั้นไม่มีอะไรมากครับ ประการแรกคือ OEM System Builder เป็นแผ่นที่ออกมาให้กับกลุ่มนักประกอบเครื่องพีซีเอง ก็คือสั่งซื้อชิ้นส่วนจากหลากหลายที่แล้วนำ Windows OEM System Builder มาลงที่เครื่องที่เพิ่งประกอบใหม่ครับ ในขณะที่ FPP ออกแบบมาให้แก่ User ทั่วไปที่เพิ่งไปซื้อ Naked PC มาจากห้างหรือเครื่องประกอบใหม่ก็ได้ ที่มาเป็นเคสสำเร็จรูปแล้วเท่านั้นเอง ข้อจำกัดของ OEM System Builder นั้นได้แก่เรื่องต่อไปนี้ครับ สิทธิผูกติดกับ Computer/Motherboard และตายพร้อมเครื่อง ไม่มี Free Support จาก Microsoft ต้องเลือกระหว่าง 64 bit หรือ 32 bit ในตอนที่ซื้อ ไม่ามารถซื้อมาใช้เพื่ออัพเกรดทับบน Windows เดิม OEM ต้องลงบนเครื่องใหม่เท่านั้น หากต้องการอัพเกรด Windows เดิม ต้องไปซื้อ FPP ครับ ข่อมูลเกี่ยวกับ OEM System Builder นี้ไม่มีให้โดยตรงจาก Microsoft ครับ ต้องติดต่อผู้ประกอบเครื่องเท่านั้นที่มีข้อมูลเรื่องพวกนี้ และอีกอย่าง Microsoft มองว่า OEM System Builder ก็คือ OEM นั่นล่ะครับ ไม่ต่างกัน และก็เอาออกมาขายในจำนวนจำกัด ผ่านพาร์ทเนอร์เฉพาะบางเจ้าเท่านั้นเองครับ