วันนี้อยากมาแชร์มุมมองและความรู้เล็กๆ น้อยๆ ให้ทุกคนในบริษัทเราได้รู้จักกันความหมายของการทำคอนเทนต์กัน ว่ามันคืออะไรกันแน่ และมันมีประโยชน์และสำคัญกับชีวิตของเรายังไง ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าจริงๆ แล้วคำว่า คอนเทนต์ (Content) ที่เราได้ยินเค้าพูดถึงกันบ่อยๆ มันคืออะไร คอนเทนต์ (Content) หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูลทุกประเภทที่อยู่บนสื่อออนไลน์ เช่น รูปภาพ บทความ คลิปวีดีโอ ไลฟ์สด ฯลฯ ถ้ามันคืออะไรที่อยู่บนสื่อออนไลน์แบบนี้ แล้วมันเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตส่วนตัวเราล่ะ? จริงๆ แล้วหากมองกันแบบง่ายๆ ทุกวันนี้แม้กระทั่งเราใช้ชีวิตอยู่บ้าน เวลาที่เราต้องการสื่อสารอะไรออกไปกับคนใกล้ตัว หรือคนรู้ใจ เพื่อต้องการดึงดูดให้เค้ามาสนใจเรานั้น จุดเริ่มต้นแรกเราก็ต้องคิดวางแผนในหัวเรากันแล้วใช่มั้ยว่า เอเราจะพูด หรือพิมพ์ข้อความยังไงดีน้า ยกตัวอย่างง่ายๆ แบบนี้ละกัน อย่างสำหรับคนโสดเลย สมมุติว่าคนโสดคนนี้เป็นสาวก Art Toy อยากจะไปสุ่มของเล่นสะสมที่เป็นแบบ Secret มากเลย และแน่นอนคนโสดคนนี้ก็ทำงานหาเงินเอง ใช้เงินตัวเอง อ่ะก็นักเลงพอนะที่จะตัดสินใจได้เลยไม่ต้องสร้างคำพูดสร้างคอนเทนต์อะไรเพื่อไปโน้มน้าว หรือขออนุมัติการเอางบจากใครเพื่อจะมาจุ่มเจ้า Art toy ตัวนี้ แต่ในทางกลับกันในอีกมุมนึงหากใครที่มีคนรู้ใจ หรือหวานใจ อยู่ข้างๆ และแบบว่าจะทำยังไงดีน๊า ที่จะทำให้หวานใจของเราอินไปกับเราและสนับสนุนเราจังเลย ที่นี้หละมันจะเริ่มละ เริ่มคิดในหัวละว่า เราจะพูดยังไง โน้มน้าวยังไงดี มันก็จะเริ่มคิดกลั่นกรองคำพูดต่างๆนาๆ หรือจะพิมพ์เป็นข้อความส่งไปหา และต้องเป็นคำพูด หรือข้อความที่พูดออกไปแล้ว ให้หวานใจของเราอยากฟัง อยากอ่าน หรือบางคนถึงขั้นอัดคลิป นำเสนอส่งให้กันเลยทีเดียว เพื่อจะได้รับการอนุมัติเห็นชอบกับเราในทันที ^^ เพราะเจ้า Art Toy นี้มันไม่ได้จบที่ตัวเดียวแน่นอนเลย เห็นมั้ยว่า แค่เรื่องเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวันของเราแบบนี้หละมันก็เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างคอนเทนต์ (Content) ขึ้นมาแล้ว แค่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะ สร้างคอนเทนต์ (Content) นั้นเพื่อจุดประสงค์อะไร ทีนี้ลองมามองในอีกมุมในเชิงการทำธุรกิจกันดูบ้าง แน่นอนในเชิงของธุรกิจหรือการค้าขายนั้น เราก็จะมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนออกไป เช่น อยากให้ลูกค้ารับรู้ว่าเราคือใคร เราทำอะไร และเพื่อวัถุประสงค์สุดท้ายเราจะสามารถสร้างรายได้และการสร้างเงิน ได้อย่างไง จึงเป็นจุดเริ่มต้นว่า ในธุรกิจต่างๆ จึงต้องเริ่มสร้างตัวตน และแน่นอนในธุรกิจของ Netway เราเองตอนนี้ การสร้างคอนเทนต์ (Content) ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จากที่เราเคยสร้างมานานแล้ว แต่ก็ได้เงียบหายจากไปอาจจะเป็นที่รู้จักกับลูกค้าเก่าอยูบ้าง หรืออาจถูกลืมไปบ้าง แต่เวลานี้เราจะเริ่มกลับมาสร้างตัวตนใหม่กันอีกครั้งเพื่อให้เราได้เรียนรู้ว่าลูกค้าของเราจริงๆ คือใครเป็นใครกันบ้างที่วิ่งมาหาเรา ดังนั้นเราก็ต้องมาเลือกกันว่า เราจะวิธีเลือกคอนเทนต์แบบไหนเพื่อให้ดึงดูดคนมากที่สุด อย่างที่บอกไปก่อนข้างต้นนั้น ว่า “คอนเทนต์ (Content)” คืออะไร เดี๋ยวทบทวนให้ใหม่อีกครั้งนะ คอนเทนต์ (Content) หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูลทุกประเภทที่อยู่บนสื่อออนไลน์ เช่น รูปภาพ บทความ คลิปวีดีโอ ไลฟ์สด ฯลฯ เวลาทำคอนเทนต์ หรือโพสต์อะไรก็ตามลงในโซเชียลมีเดีย สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำผิดมหันด์เลยคือ ทำคอนเทนต์ที่ตัวเองอยากทำ แทนที่จะทำคอนเทนต์ที่คนอยากดู ตัวอย่างการทำคอนเทนต์ที่ตัวเองอยากทำ เช่น การลงรูปที่ตัวเองไปเที่ยว หรือไปจัดอีเวนท์ ถ้าคนเค้าไม่รู้จักเรา เค้าจะไม่สนใจว่าเราจะไปไหนหรือทำอะไร เราอาจจะเห็นดาราหรือคนดังบางคนทำคอนเทนต์ประเภทนี้แล้วมีคนดูเยอะ แต่เราก็ต้องรู้ว่า คนเหล่านั้นมีชื่อเสียง มีคนติดตามอยู่แล้ว แน่นอนว่าแฟนคลับของเขาก็ต้องอยากรู้เรื่องส่วนตัวที่พวกเขาทำเป็นธรรมดา แต่หากเรายังไม่เป็นที่รู้จักมากพอ เราไม่ใช่คนมีชื่อเสียง สิ่งเดียวที่จะทำให้คนเข้ามาดูเราได้คือ คอนเทนต์ประเภท “ความรู้” มันต้องเป็นอะไรที่มีประโยชน์ คนดูได้คุณค่า เขาถึงจะเข้ามาตั้งแต่แรก การเลือกคอนเทนต์ = การเลือกจุดประสงค์ของช่อง เพจที่ดี หรือช่องทางในการสร้างคอนเทนต์ที่ดี ควรมีคอนเทนต์หลัก 1 คอนเทนต์ เพื่อที่คนดูจะได้ไม่งงว่าเพจนี้เกี่ยวกับอะไร และคอนเทนต์นั้น ควรเป็นสิ่งที่ตลาดและมีคนสนใจอยู่แล้ว 3 หัวข้อที่คนให้ความสนใจอยู่เสมอ ไม่ว่าจะยุคไหน หรือเศรษฐกิจจะเป็นยังไง ได้แก่ สุขภาพ ความสัมพันธ์และการออกเดท การทำธุรกิจและการบริหารจัดการเงิน ยกตัวอย่าง หากเราเลือกทำเพจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อย่าทำเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวม ให้ทำหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง เช่น การดูแลสุขภาพโดยการเต้นแอโรบิค การดูแลสุขภาพโดยการกินอาหารมังสวิรัติ การดูแลสุขภาพแบบลดแรงกระแทกสำหรับผู้สูงวัย เป็นต้น ข้อควรระวัง! ไม่ควรเลือกหัวข้อที่กว้างเกินไป เพราะจะทำให้เพจของเราดูธรรมดา มีข้อมูลแบบทั่วๆ ไป ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ไม่ได้ทำให้รู้สึกพิเศษอะไร 28 ตลาดเฉพาะที่ดีที่สุด The 28 “Best Niches From The Niche Intelligence Report” Cr.เอเบน พากัน สุขภาพ 1. การลดน้ำหนักโดยวิธีธรรมชาติ 2. การจัดการกับความเครียด 3. การสร้างกล้ามเนื้อ 4. การออกกำลังกายแบบลดแรงกระแทก 5. การลดไขมันในร่างกาย 6. อาหารออแกนิก 7. อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป 8. การรักษาโรคต่างๆ ด้วยกรรมวิธีธรรมชาติ 9. การรักษาสุขภาพแบบองค์รวม (ใช้กีฬาหรือการออกกำลัง 1 ประเภทเป็นคอนเทนต์นำของเพจ) 10. วิธีรักษาโรคใดโรคหนึ่ง โดยเฉพาะ ความสัมพันธ์และการออกเดท 11. การออกเดท 12. ความสัมพันธ์ต่างๆ 13. ชีวิตการแต่งงาน 14. ความสัมพันธ์ทางเพศ (แก้ปัญหาต่างๆ) 15. แก้ปัญหาความขัดแย้ง 16. แก้ปัญหาการหย่าร้าง 17. การใช้ภาษากาย 18. การเลี้ยงลูก 19. การศึกษา (หรือการสอนภาษา) การทำธุรกิจ & การบริหารจัดการเงิน 20. อสังหาริมทรัพย์ 21. คริปโต 22. การลงทุน 23. วางแผนการเกษียณอายุ 24. การจัดการบริหารหนี้สิน 25. การหาเงิน 26. การตลาด (ออนไลน์) 27. การบริหารเวลา 28. การหางานที่ใช่ ถ้าทำคอนเทนต์ตลกๆ ที่ให้เสียงหัวเราะ ให้ความสนุกสนาน หรือคลิปเต้นให้ความบันเทิงได้มั้ย? ได้ แต่จะสร้างเงินได้ยาก เพราะคอนเทนต์แนวบันเทิงคนจะชอบดูฟรี ไม่อยากเสียเงิน และไม่ให้คุณค่ากับสิ่ที่เราทำ และชื่อเสียงของเรา อยู่กับเรานานกว่าที่เราคิด หากเราทำคลิปตลกๆ ไร้สาระ อาจทำให้คนที่อยากทำธุรกิจกับเราในอนาคต มีภาพติดตาที่ทำให้รู้สึกว่าเราดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ถ้าเราเป็นแม่ค้าขายของออนไลน์ จำเป็นต้องทำคอนเทนต์มั้ย หากเรามีสินค้าอยู่แล้ว ให้คิดอยู่เสมอว่า คอนเทนต์ประเภทไหนที่จะทำให้มีกลุ่มลูกค้าของเรามาดู ตัวอย่างเช่น สินค้าของเราคือครีมบำรุงหน้า คอนเทนต์ที่จะดึงดูดคนที่ซื้อครีมบำรุงก็ต้องเป็นคอนเทนต์เกี่ยวกับสุขภาพผิว การดูแลผิว เพราะฉะนั้น หากเราทำคลิปให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผิว ก็จะเป็นการดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ตรงกับความต้องการของสินค้าเข้ามา ขายอย่างเดียวได้มั้ย จำเป็นต้องทำคอนเทนต์รึเปล่า หากเพจของเรามีแต่การขายของ ไม่มีใครอยากกดติดตามเพจเรา เพราะคนจะรู้สึกว่าเราอยากได้อย่างเดียว ไม่มีอะไรให้เขาก่อนเลย เหมือนเวลาเราไปเดินห้าง แล้วมีคนยัดสินค้าอะไรไม่รู้ ใส่มาในมือเรา แล้วมาเก็บเงินเรา แบบนี้เรียกว่าการขายแบบยัดเยียด ซึ่งไม่มีใครชอบ แต่หากเราทำคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ให้ความรู้ไปก่อน คนย่อมอยากกดติดตามเพจเราเอาไว้ เพราะรู้ว่าจะได้ประโยชน์แบบนี้อีกเรื่อยๆ และการทำคอนเทนต์ยังเป็นการสร้างความเชื่อใจระหว่างตัวเราและคนติดตามอีกด้วย จากสิ่งที่เล่าให้ทุกคนฟังจากข้างต้นนี้ ก็หวังว่าทุกคนคงจะเริ่มมองเห็นภาพ และเข้าใจความหมายของการทำคอนเทนต์มากขึ้นกันแล้ว ที่นี้มาดูกันต่อว่า เอ๊ะ! และการเขียนคอนเทนต์นี้เราจำเป็นต้องคิดเอง ทั้งหมดหรือไม่ วิธีหาคอนเทนต์ฟรี! ไม่มีวันหมดอายุ สิ่งที่ทุกคนส่วนใหญ่เข้าใจผิด: เราต้องเป็นคนคิดคอนเทนต์ขึ้นมาเอง ทุกอย่างต้องมาจากตัวเราหมด สิ่งที่ถูกต้อง:เราไม่สามารถคิดเองได้ตลอด ถ้าเราคิดเองอย่างเดียว แชร์ความรู้ของตัวเองออกไปหมด ไม่เติมข้อมูลใหม่ๆ ให้ตัวเองเลย เราจะแห้งเหี่ยวและหมดไฟทำคอนเทนต์ไปในที่สุดคนที่คิดคอนเทนต์เก่งทุกคนในโลกออนไลน์ รู้วิธีการ “ค้นคว้าหาข้อมูล” จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายด้วยตัวเอง อย่าง Netway เราเอง เราเป็น Partner กับเจ้าของ Product อยู่หลากหลายบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, cPanel, DigiCert และอื่นๆ อีกหลายบริษัท และแน่นอนในแต่ละบริษัทนั้นก็ต้องมีแหล่งข้อมูลที่ทำให้เราสามารถเข้าไปเรียนรู้และศึกษาอยู่ตลอดเวลา นั่นก็คือ แหล่ง “ค้นคว้าหาข้อมูล” ของเรานั่นเอง ที่นี้เห็นแล้วใช่มั้ยว่า การคิดคอนเทนต์นั้นก็ไม่จำเป็นที่เราจะต้องคิดเองตลอดเวลา บางคอนเทนต์อาจเป็นการเขียนจากการเล่าเรื่อง จากประสบการณ์ตรงกับสิ่งที่เราใช้งานมา เช่น ฝ่ายบัญชีของบริษัท มีความคุ้นเคยกับเรื่องการออกใบกำกับภาษี การใช้โปรแกรม DBC ก็สามารถที่จะแชร์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ นี้ออกมาได้เช่นกัน วิธีการนำคอนเทนต์มาทำโพสท์ พอเราได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะนำข้อมูลมาโพสท์ โดยที่รูปแบบโพสท์ที่เหมาะกับโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ มีดังนี้ ช่องทาง รูปภาพ คลิป/ไลฟ์ ข้อความสเตตัส บทความ เฟสบุ๊ค ยูทูป เว็บไซต์ ติ๊กต็อก อินสตาแกรม (IG) หมายเหตุ : รูปแบบของคอนเทนต์ที่เหมาะกับโซเชียลแต่ละช่องทาง สามารถทำได้นอกเหนือจากในตารางนี้ (ไม่มีกฎตายตัว) เช่น เราสามารถลงรูปภาพในยูทูปได้ ตารางนี้มีไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่า รูปแบบคอนเทนต์แบบไหนเหมาะกับโซเชียลประเภทไหนเท่านั้นเอง ประเภทของคอนเทนต์ รูปภาพ คลิปวีดีโอหรือไลฟ์ ข้อความสเตตัส (Status) เอาหละสำหรับวันนี้ก็ขอมาแชร์และแบ่งปันความรู้เล็กๆน้อยส่วนนี้ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกับความสำคัญของการทำคอนเทนต์แคนี้ก่อน หวังว่าคงจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ ไว้มีโอกาสจะมาแบ่งปันความรู้เรื่องการทำคอนเทนต์ให้เพิ่มเติมอีกใน Part 2 สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนได้ไปลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้งที่ทุกคนติดไม่รู้จะโพสยังไง ให้กลับมาอ่านบทความนี้ ทบทวนซ้ำๆ และเดี๋ยวจะมาเพิ่มเนื้อหาส่วนอื่นๆ ให้ใน Part ต่อไปนะคะ เช่นมาดูว่าการโพสท์คอนเทนต์แต่ละละรูปภาพ ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง การจัดเวลาทำคอนเทนต์ให้โพสท์ได้ตลอดทั้งเดือน และการดูผลลัพธ์ เพื่อดูว่าโพสหรือคอนเทนต์ไหนดีหรือไม่ดี หากโพสท์ไหนได้ผลลัพธ์ดีให้เราทำอีก ถ้าไม่ดี ให้เลี่ยง ไม่ต้องทำอีก แน่นอนหละสุดท้ายแล้วจุดประสงค์ใหญ่ของบริษัทเรากับจุดเริ่มต้นของการเริ่มสร้างคอนเทนต์นั้นก็คงหนีไม่พ้น อยากให้ทุกคนได้สร้างคุณค่าให้กับตัวเอง ให้ตัวเองได้ตะโกนกันได้แบบเสียงดังๆ ในวันที่ตัวเองต้องการอะไรสักอย่างจากบริษัท และก็จบกันที่ สามารถสร้างรายได้และการสร้างเงินให้กับบริษัทของเรา ให้มากขึ้น นั่นเอง Cr.หนังสือสรุปสูตรทำคอนเทนต์เป็นเห็นเงินล้าน Content Marketing For Beginner ครูติน่า เทย์เลอร์
Netway Combo - July 2024 ห้ามพลาด การอัพเดตข่าวสารจาก Google และ cPanel ข่าวสารเรื่องความปลอดภัยระบบเว็บไซต์ Google เข้มเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ กระทบ Entrust และ AffirmTrust SSL Certificate https://tinyurl.com/5932fkby Google Meet เพิ่มการแปลคำบรรยายเป็นภาษาต่างๆ มากขึ้นโดยอัตโนมัติ https://tinyurl.com/3dnau27j cPanel Update: การอัปเดตระบบปฏิบัติการ Extended Lifecycle Support OSes https://tinyurl.com/y8e6b9pv Why Continuous Monitoring is a Cybersecurity Must https://tinyurl.com/3aytn7tf สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือคำติชมใดๆ สามารถติดต่อ Netway Communication ได้ 24 ชม. Tel: 02 055 1095 Email: support@netway.co.th Web chat: [[URL]]/ Facebook Messenger: @netway.official หรือ https://www.facebook.com/netway.official Add Line ID: @netway, https://bit.ly/line-netway #GoogleWorkspace #cPanel #Hosting #SSL
Why Continuous Monitoring is a Cybersecurity Must ทำไม Continuous Monitoring จึงเป็นสิ่งจำเป็นด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Continuous monitoring เป็นกระบวนการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดและปัญหาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ เหมาะสำหรับองค์กรโดยเน้นใช้กับบระบบไอทีและเครือข่ายเพื่อตรวจจับภัยคุกคามความปลอดภัยในลักษณะอัตโนมัติ ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบเดิมๆ ยังไม่เพียงพอ การเฝ้าระวังที่ดีคือการตรวจสอบจุดอ่อนอยู่ตลอดเวลาแบบอัตโนมัติ มันจะส่งสัญญานเตือนก่อนที่ผู้โจมตีจะเข้ามาโจมตีระบบ เพราะเหตุใด Continuous Monitoring จึงมีความสำคัญ มีสาเหตุหลายประการที่ต้องคอยเฝ้าระวังเครือข่ายของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจทุกขนาด การละเมิดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การโจมตีทางไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่วินาที ผู้ที่โจมตีใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ก่อนที่คุณจะรู้ตัว Continuous Monitoring ให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณสามารถระบุและป้องกันต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ภัยคุกคามขั้นสูงจำเป็นต้องมีการป้องกันขั้นสูง แฮกเกอร์กำลังพัฒนาเทคนิคที่ซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง บางส่วนสามารถเลี่ยงการป้องกันแบบดั้งเดิมได้ การตรวจสอบก็ต้องเจาะลึกยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน โดยจะวิเคราะห์การรับส่งข้อมูลเครือข่าย พฤติกรรมผู้ใช้ และการบันทึกของระบบ ตรวจสอบซอสโค้ด (source code) ที่แอบฝังตัวหรือซ่อนอยู่ภายในเครือข่ายของคุณ ข้อกำหนด/กฎระเบียบที่ควรปฏิบัติ กฎระเบียบทางอุตสาหกรรมและกฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลหลายฉบับกำหนดให้องค์กรต้องมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง การไม่ปฏิบัติตามอาจส่งผลให้เกิดค่าปรับจำนวนมากและความเสียหายต่อชื่อเสียงองค์กร ความอุ่นใจและต้นทุนที่ลดลง Monitoring ใช้ในการเฝ้าระวังคอยตรวจสอบช่วยป้องกันการโจมตีจากช่องโหว่ที่มีความเสี่ยงสูง ลด Cost and Downtime นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระงานให้กับทีมรักษาความปลอดภัยอีกด้วย ทำให้งานในแต่ละวันผ่านไปได้อย่างราบรื่น ทำให้พวกเขามุ่งเน้นงานด้านอื่นๆได้อย่างสะดวกมีเวลาคิดงานในเชิงกลยุทธ์ได้มากขึ้น ลักษณะการทำงานอย่างไร Continuous Monitoring การตรวจสอบไม่ใช่เครื่องมือเพียงอย่างเดียวที่ต้องใช้ แต่ยังมีแนวทางและองค์ประกอบอื่นๆ คือ - Log Management บันทึกความปลอดภัยจะถูกรวบรวมและวิเคราะห์สำหรับกิจกรรมที่น่าสงสัย ที่เก็บบันทึกมาจากไฟร์วอลล์ (firewalls) อุปกรณ์ และแอปพลิเคชัน - Security Information and Event Management (SIEM) ระบบ SIEM รวบรวมข้อมูลความปลอดภัย สามารถเข้าถึงแหล่งต่างๆ รวบรวมข้อมูลให้เห็นมุมมองของการรักษาความปลอดภัยของคุณและระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น - Vulnerability Scanning การสแกนเป็นประจำจะระบุจุดอ่อนหรือจุดเสี่ยงในระบบและแอปพลิเคชันของคุณ วิธีนี้ช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาก่อนที่ผู้โจมตีจะเข้ามาโจมตีระบบ - User Activity Monitoring การตรวจสอบพฤติกรรมผู้ใช้สามารถระบุกิจกรรมที่น่าสงสัยได้ ตัวอย่างเช่น ความพยายามในการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการขโมยข้อมูล - Network Traffic Analysis การวิเคราะห์การรับส่งข้อมูลเครือข่าย การตรวจสอบการรับส่งข้อมูลเครือข่าย สามารถเปิดเผยความเสี่ยงหลายประการ เช่น มัลแวร์ (Malware) รูปแบบการสื่อสารที่น่าสงสัย พยายามที่จะโจมตีระบบการป้องกันเครือข่ายของคุณ ประโยชน์ที่เหนือกว่าการตรวจจับภัยคุกคาม Continuous Monitoring การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องมีข้อดีไม่ใช่แค่การแจ้งผลภัยคุกคาม ยังมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ปรับปรุงความแม่นยำในการตรวจจับภัยคุกคาม Continuous monitoring จะช่วยลดการประมวลผลลวงที่ไม่ถูกต้องโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยมุ่งเน้นไปที่ภัยคุกคามที่แท้จริงได้ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น การแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ ช่วยให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้เร็วขึ้น และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ช่วยในการระบุช่องโหว่ ช่วยให้คุณจัดอันดับความเสี่ยงในการแพตช์โปรแกรม (Patch) และการแก้ไข สิ่งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับมาตรการรักษาความปลอดภัยของคุณ การรายงานการปฏิบัติตามข้อกำหนด สามารถสร้างรายงานได้ สิ่งนี้ช่วยให้มีหลักฐานการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในระหว่างการตรวจสอบอีกด้วย เน็ตเวย์ คอมมูนิเคชั่น มีบริการสำหรับดูแลเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) โดยใช้เครื่องมือสแกนความปลอดภัยตามมาตรฐาน ITIL Service Management และ Report พร้อมกับระบบ Monitoring ที่มีคุณภาพด้วยบริการ Managed Server Services อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก Managed Server Services สามารถติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ของ Netway Communication ได้ตลอด 24 ชม. Email: support@netway.co.th Line ID: @netwayTel: 02 055 1095 อ้างอิง: thetechnologypress
Extended Lifecycle Support OSes Update ตามที่ cPanel เคยแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับ CentOS 7 และ CloudLinux 7 จะยุติการซัพพอร์ตระบบนี้ End-of-Life (EOL) วันที่ 30 มิถุนายน 2024 โดยผู้จําหน่ายที่เกี่ยวข้อง ระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะไม่ได้รับการอัปเดตความปลอดภัยอีกต่อไป A Safe Migration การโยกย้ายที่ปลอดภัย เนื่องจากการย้ายไปยังระบบปฏิบัติการใหม่อาจต้องใช้เวลา นั่นเป็นเหตุผลที่ cPanel เสนอทางเลือกสองสามทางเพื่อช่วยเหลือคุณตลอดการเปลี่ยนแปลงนี้ Migration Tools เครื่องมือการย้ายข้อมูล : cPanel นําเสนอเครื่องมือการย้ายข้อมูล ที่ใช้งานง่ายเพื่อช่วยย้ายระบบและการตั้งค่าไปยังระบบปฏิบัติการที่รองรับ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือ Transfer Tool In-place OS Upgrades การอัปเกรดระบบ : เครื่องมือ cPanel ELevate Tool ได้รับการออกแบบมาเพื่ออํานวยความสะดวกในการอัปเกรดระหว่างการติดตั้ง RHEL 7 ถึง RHEL 8 Extended Lifecycle Support (ELS) : เซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดที่ใช้ CentOS 7 หรือ CloudLinux 7 บน cPanel v110 ยังพอเบาใจได้ โดยในโปรแกรม Extended Lifecycle Support ในช่วงเวลานี้จะร่วมมือกับ TuxCare คอยสนับสนุนอัปเดตความปลอดภัยที่สําคัญๆให้กับผู้ใช้ CentOS 7 และ CloudLinux 7 อีกทั้ง cPanel ยังคงอัปเดตความปลอดภัยที่สําคัญและการสนับสนุนทางเทคนิคสําหรับ cPanel เวอร์ชั่น v110 Extended Lifecycle Support program ข้อมูลสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับ Extended Lifecycle Support: โปรแกรม ELS นี้จะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2024 ถึง 1 มกราคม 2026 จะมีค่าธรรมเนียม ELS รายเดือนเพิ่มเติมต่อใบอนุญาต (Licenses) ที่เข้าเงื่อนไขเพื่อครอบคลุมการอัปเดตความปลอดภัยเพิ่มเติมจะเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2024 ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะยังคงถูกเรียกเก็บต่อไปจนกว่าระบบปฏิบัติการพื้นฐานจะได้รับการอัปเกรดเป็นเวอร์ชั่นที่รองรับ โดยให้ความคุ้มครองฟรีหนึ่งเดือนตลอดเดือนกรกฎาคม 2024 และหลังจาก 6 เดือน ( 1 มกราคม 2025 ) ค่าธรรมเนียมนี้อาจเพิ่มขึ้น ส่วนใบอนุญาต (Licenses) ที่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการที่รองรับแล้ว จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ELS เพิ่มเติม ฉะนั้นการดูแลรักษาเว็บไซต์ของคุณให้ปลอดภัยและทํางานได้อย่างราบรื่น cPanel แนะนําให้คุณเริ่มวางแผนการย้ายข้อมูลไปยังระบบปฏิบัติการที่รองรับโดยเร็วที่สุดจากวิธีการดังกล่าวตามความความต้องการและเหมาะสม อ้างอิง: cpanel.net
Google เข้มเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ กระทบ Entrust และ AffirmTrust SSL Certificate ตามที่ Google ได้ประกาศมาตรการเข้มเรื่องความปลอดภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ทั่วโลกเมื่อ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาสรุปว่า สืบเนื่องจากการพิจารณาประวัติการละเมิดข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เกิดขึ้นซ้ำซ้อน และไม่สามารถปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน อีกทั้งไม่มีความคืบหน้าเรื่องการแก้ไขประเด็นปัญหาดังกล่าว ในที่สุด Google จึงขอประกาศว่าจะไม่รับรองความปลอดภัยของ SSL Certificate ที่ออกโดย Entrust และ AffirmTrust ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2024 เป็นต้นไป ส่วนสำหรับ SSL Certificate ที่ออกโดย Entrust และ AffirmTrust ที่รับรองภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2024 ยังถือว่าไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด SSL Certificate คืออะไร ทำไมต้องติดตั้งกับเว็บไซต์ของคุณ SSL Certificate คือ ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ได้มีการผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อยืนยันตัวตนและความถูกต้องในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน เพื่อรักษาความปลอดภัยให้เว็บไซต์ ผู้เข้าใช้งานสามารถมั่นใจในความปลอดภัยต่อการเข้าใช้งาน อีกทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กรหรือเว็บไซต์อีกด้วย จากวันนี้จะเกิดอะไรบ้าง Google Chrome จะถูกอัพเดท Version 127 ช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็น Version ที่ไม่รองรับ SSL certificate ที่ถูกออกโดย Entrust และ AffirmTrust ในครั้งนี้ Google Chrome จะแสดงข้อความไม่น่าเชื่อถือเว็บไซต์ที่ติดตั้ง SSL certificate ที่ออกโดย Entrust และ AffirmTrust ที่มีระยะสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2024 เป็นต้นไป (ตัวอย่างข้อความแจ้งเตือน NET::ERR_CERT_AUTHORITY_INVALID หรือลองเข้าผ่าน https://untrusted-root.badssl.com/) การบล็อคดังกล่าวบน Google Chrome Version 127 จะมีผลทั้งบน Windows, macOS, ChromeOS, Android, and Linux. และในฝั่งของ Chrome for IOS จะมีผลตามมาเมื่อมีการอัพเดทเช่นเดียวกัน วิธีเช็คว่าเว็บไซต์ได้รับผลกระทบหรือไม่ด้วย Chrome Certificate Viewer เข้าเว็บไซต์ ผ่าน Chrome คลิกที่ “Tune" icon คลิกที่ “Connection is Secure" คลิกที่ “Certificate is Valid" แล้ว Chrome Certificate Viewer จะปรากฎขึ้นมา - หากระบุว่า “Issued By" บริษัทอื่นที่ไม่ใช่ “Entrust" หรือ “AffirmTrust” แสดงว่าเว็บไซต์นั้นปลอดภัย - หากระบุว่า “Issued By" “Entrust" หรือ “AffirmTrust” แสดงว่า Google จะเริ่มนับว่าเว็บไซต์นั้นไม่ปลอดภัย โดยมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 31 ตุลาคม 2024 สำหรับในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณ ที่ติดตั้ง Entrust SSL Certificate ไปแล้ว ไม่ว่าคุณจะเคยซื้อ Entrust SSL Certificate กับทาง Netway Communication หรือผู้ให้บริการรายอื่น ขอให้มั่นใจได้ว่า Certificate ที่ออกภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2024 ยังถือว่าไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด แต่หลังจาก 1 พฤศจิกายน 2024 เป็นต้นไป ทาง Google จะทยอยบล๊อกเว็บไซต์ที่ติดตั้ง Entrust SSL Certificate ผลิตภัณฑ์อื่นของค่าย Entrust ได้รับผลกระทบดังกล่าวหรือไม่ Verified Mark Certificates, code-signing, digital signing หรือ private certificate อื่นๆ ที่ให้บริการโดย Entrust ไม่ได้รับผลกระทบจากประกาศครั้งนี้ของ Google หากคุณต้องการเสริมสร้างความปลอดภัยและลดความเสี่ยงให้เว็บไซต์ สามารถติดต่อขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของ Netway Communication ได้ตลอด 24 ชม. ผ่าน Email: support@netway.co.th Line ID: @netway โทร: 02 055 1095 เราพร้อมให้คำปรึกษาคุณค่ะ Netway Communication SSL V-Team อ้างอิง: ประกาศของ Google หัวข้อ Google Online Security Blog: Sustaining Digital Certificate Security - Entrust Certificate Distrust (googleblog.com)